Climate Candy ลูกอมรักษ์โลก มิชชั่นใหม่ร่วมแก้โลกรวน เปลี่ยนผักผลไม้ถูกทิ้งเป็นสินค้า

“หากขยะอาหารเป็นประเทศ มันจะเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่เป็นอันดับ 3” นี่คือคำกล่าวของสตาร์ทอัปที่ชื่อ PurePlus+ จากลอสแองเจลิส และเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนมิชชั่นของพวกเขา

เป้าหมายของพวกเขาคือการเป็นตัวเลือกใหม่ให้กับ “ลูกอม” ที่ไม่ได้ผลิตแบบอุตสาหกรรมทำลายโลก แต่ยังช่วยปกป้องโลกจากการกินทิ้งกินขว้างด้วยนำส่วนผสมจากพืชที่จะถูกทิ้งไปเปล่า ๆ กลับมาทำลูกอม

นี่คือที่มาของลูกอมที่ชื่อ Faves ในถุงหนึ่งมีถุงเล็ก 6 ถุงในแต่ละถึงมีลูกอม 12 ชิ้น ซึ่งช่วยกอบกู้แครอท 6 หัว หัวบีท 3 หัว มันเทศ 1 ลูก สควอช 1/2 ลูก ฟักทอง 1/4 ลูก จากการถูกทิ้งไปเปล่า ๆ 

นี่คือผลิตภัณฑ์แรกที่ออกแบบโดย PurePlus+  มันคือ “ลูกอมอัพไซเคิล” ที่ให้สารอาหารที่แท้จริงจากผลผลิต แต่ละเม็ดประกอบด้วย เส้นใยสารอาหารรองจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ผัก 

ประมาณการว่า 90% ของชาวอเมริกันไม่รับประทานผักและผลไม้ทุกวัน FAVES จึงหวังจะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผลไม้และผักโดยเฉพาะกับให้เด็ก ๆ มากขึ้น

นอกจากนี้ มันยังไม่เติมน้ำตาลแปรรูป ทำให้เป็นขนมที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เด็ก หรือใครก็ตามที่หวังจะกินลูกอมด้วยความรู้สึกไม่ต้องกังวลกับเรื่องสุขภาพ

FAVES ทำงานร่วมกับฟาร์มในท้องถิ่นทั่วสหรัฐอเมริกาเพื่อจัดหาผลิตผลเกษตรที่ไม่สมบูรณ์และจะถูกทิ้งไปสูญเปล่า  นี่เป็นกรช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากแล้ว แต่พวกเขายังมีบริการส่งสินค้าที่ไม่ปล่อยคาร์บอนด้วย

แต่พวกเขาจะไม่หยุดแค่นี้ “เป้าหมายของเราในปีหน้าคือการหมุนเวียนผักและผลไม้ที่ไม่สมบูรณ์จำนวน 2.2 ล้านชิ้นจากฟาร์มในท้องถิ่น และทุก ๆ ปีหลังจากนั้นเพื่อเพิ่มจำนวนพืชผลเกษตรที่จะถูกทิ้งได้เป็นสองเท่า”

พวกเขาประกาศว่า “FAVES มุ่งมั่นที่จะแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วยการป้องกันเศษอาหารและการหมุนเวียนผักผลไม้ที่ดีอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อสร้างขนมที่ดีสำหรับคุณและดีต่อโลก” พวกเขาเรียกมันว่า Climate Candy

การช่วยกอบกู้โลกบางทีอาจไม่ต้องมีมิชชั่นที่ยิ่งใหญ่อะไรเลย แค่มีไอเดียที่ผสมผสานกับแนวทางการช่วยโลกที่เรารู้ ๆ กันแล้ว และปรับใช้ด้วยศัยภาพที่ทุกคนมีเหมือนกับที่ FAVES พยายามแก้ปัญหาโลกร้อนด้วยลูกอม

ข้อมูลจาก

https://climatecandy.com/pages/our-story

ภาพ @myfavesweets/facebook

Related posts

‘เฉลิมชัย’ นำทีมไทยถก COP29 นำเสนอ 5 ประเด็นลดก๊าซ 222 ล้านตัน

ค่าฝุ่นปากีสถานทะลุ 1,900 รั้งอันดับโลก อ้างพัดข้ามพรมแดนจากอินเดีย

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน