เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาองค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาประกาศอย่างเป็นทางการว่าปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ของโลกกำลังเริ่มขึ้นแล้ว นับเป็นครั้งที่ 4 ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ปรากฎการณ์นนี้จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล รวมถึงผู้คนและเศรษฐกิจที่พึ่งพาแนวปะการัง ปัจจัยกระตุ้นปรากฎการณ์นี้หนีไม่พ้น ‘สภาวะโลกเดือด’
Editor’s Pick
อุณหภูมิโลกระอุต่อเนื่อง เตรียมรับมือผลกระทบคลื่นความร้อนสุดขั้ว ปี 67
ภายหลังโลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติภูมิอากาศอย่างหนักหนาสาหัสมาตลอดทั้งปี 2566 โดยเฉพาะภัยจากคลื่นความร้อนสุดขั้ว ที่ส่งผลให้ปี 2566 ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึก อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า สถิตินี้อาจมีอายุไม่ยืดนัก เพราะเราอาจจะต้องเจอกับปีที่ร้อนจัดยิ่งกว่าในปี 2567
ปี 2566 เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกกันมา โดยอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.4 องศาเซลเซียส จากค่าพื้นฐานในช่วงปี 2359-2443 ซึ่งเป็นช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยสูงกว่าปี 2559 และ 2563 ที่เคยทำสถิติสูงสุดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดภาวะแล้งที่ยาวนาน นอกจากนี้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% จากยุคก่อนอุตสาหกรรมปกคลุมชั้นบรรยากาศ ทำให้ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้ (1)
‘อาหารแห่งอนาคต’ คืออะไร ของแท้หรือแค่เทรนด์
แมลง สาหร่าย เนื้อจากพืช เนื้อจากห้องแล็บ วัตถุดิบเหล่านี้มีแนวโน้มจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเมนูสามัญที่พบได้ทั่วไปในจานอาหารในอนาคต เมื่อวิธีผลิตและการบริโภคอาหารถึงเวลาต้องเปลี่ยน ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภาวะทุพโภชนาการ การเข้าถึงอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ ทั้งหมดเป็นปัจจัยทำให้แต่ละฝ่ายจะต้องรีบเร่งปรับตัว ซึ่งหนึ่งในทางออกสำคัญก็คือ นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตหรือ Future Food
ในแต่ละปีคลื่นความร้อนคร่าชีวิตคนจำนวนมากแต่มักถูกมองข้าม จึงเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่ต้องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักพร้อมรับมืออย่างเท่าทัน
สังเกตกันไหมว่าตลอดช่วงปี 2566 เรามักเห็นข่าวภัยพิบัติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก นับตั้งแต่คลื่นความร้อนรุนแรง ภัยแล้งหนักสุดในประวัติศาสตร์ ไฟป่าลามเผาทั้งเมืองวอดวาย หรือแม้กระทั่งพายุฝนถล่มเมืองกลางทะเลทรายจนเมืองจมน้ำ จนนับได้ว่าปี 2566 ถือเป็นปีที่โลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติร้ายแรงเป็นประวัติการณ์ (1) ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2567 จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้มาทบทวนถึงสถานการณ์ภัยพิบัติที่ได้สร้างความเสียหายมหาศาลต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนทั่วโลกตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อที่จะทำความเข้าใจความร้ายแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เราทุกคนกำลังเผชิญ ปีแห่งความแห้งแล้ง ไฟป่า และคลื่นความร้อน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ อันโตนิโอ กุเตอเรส …
เจาะลึกน้ำท่วมใหญ่ในลิเบีย เหตุจากความขัดแย้งทางการเมือง
นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าเหตุการสูญเสียครั้งนี้ไม่ใช่แค่แค่ความล้มเหลวในการซ่อมแซมเขื่อนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระบบเตือนภัยที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ขัดแย้ง
ครั้งแรกของโลก นักวิทยาศาสตร์พบพยาธิมีชีวิตยาว 3 นิ้ว ในสมองสาวออสซี่วัย 64 ปี หลังเก็บหญ้าพื้นถิ่นที่ปนเปื้อนไปด้วยมูลงูและไข่พยาธิมาทำอาหาร
โปรตุเกสกลายเป็นประเทศล่าสุดที่ประกาศทดลองการทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน หลังจากก่อนหน้านั้น เบลเยียม สหราชอาณาจักร และประเทศอื่นๆ ได้นำร่องไปแล้ว โดยรวมถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับการตอบรับที่ดีต่อการสร้างสมดุลการใช้ชีวิตโดยยังคงประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเหมือนเดิม และสามารถกอบกู้โลกจากภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย
ไฟป่าแคนาดาเลวร้ายทุบสถิติ ผลาญพื้นที่ 1.4 แสนตาราง กม.
สถานการณ์ไฟป่าในแคนาดาเลวร้ายที่สุดเป็นประวัติการณ์และได้ทำลายสถิติสูงสุดของประเทศ ล่าสุดได้เผาผลาญพื้นที่ในประเทศไปแล้วราว 1.4 แสนตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดเทียบเท่ากับรัฐนิวยอร์กของสหรัฐ นอกจากมีประชาชนต้องอพยพกว่าแสนคนแล้ว ฝุ่นควันที่พัดปกคลุมไปทั่วประเทศทำให้มีการปล่อยคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากถึง 160 ล้านตัน