อาจจะดูแปลกไปหน่อยจนเหลือเชื่อ แต่มันเป็นของจริง Poimo คือจักรยานไฟฟ้าแบบสูบลมที่พกพาใส่ในกระเป๋าเป้ขนาดเล็กได้เมื่อคุณไม่ได้ขี่ สมกับชื่อของมันที่ย่อมาจาก (POrtable (พกพาได้) Inflatable (สูบลมได้) และ MObility (เคลื่อนที่ได้) ด้วยน้ำหนักรวม 5.5 กก. คำถามคือมันจะทนแค่ไหนกัน? Poimo ทำจากวัสดุที่เบา และแข็งแรงเย็บติดอย่างเหนียวแน่น ยืนยันแล้วว่า สามารถรองรับน้ำหนักของคนได้ ส่วนตัวถังที่สูบลมให้พองตัวขึ้นมาทำจากเทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทน …
Editor’s Pick
หายนะของท้องทะเลไทยเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 38 องศาเซลเซียส! การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 40,000 ล้านตันต่อปี เป็นปัจจัยทำให้อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงเกิน 1.5 องศาฯ ถ้าไม่หยุดทำร้ายโลกตั้งแต่วันนี้ ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยิ่งหนักหน่วงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต เช่น เกิดภัยพิบัติรุนแรงขึ้น บ่อยขึ้น สัตว์บกสัตว์น้ำตาย เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ผู้คนแย่งชิงทรัพยากร และเกิดความโกลาหลที่คาดเดาไม่ได้ไปทั่วโลก โดยที่คนรุ่นลูกรุ่นหลานจะต้องเป็นผู้แบกรับ
รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สังกัดหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบการจัดการแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวโน้มสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตว่า เนื่องจากประเทศไทยยังอยู่ในเขตมรสุม และเป็นที่ลุ่มโดยเฉพาะเมืองใหญ่ จึงมีแนวโน้มการเกิดน้ำท่วมที่รุนแรงมากขึ้น การแก้ไขปัญหาควรนำแนวคิดการบริหารความเสี่ยงเข้ามาประกอบการวางแผนและดำเนินการ โดยจัดทำผังความเสี่ยง ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 …
คอลัมน์ iGreen Talk ชวนคุยกับ ภาณุเดช เกิดมะลิ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร หลังกลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งมีความเห็นในกรณีนี้แตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีความยินดีที่ไทยได้ขึ้นมรดกโลกเพิ่มอีกแห่ง แต่อีกฝ่ายออกมาคัดค้านโดยระบุว่านี่คือ มรดกเลือด ในฐานะคนทำงานปกป้องผืนป่าและสัตว์ป่ามายาวนาน ภาณุเดช บอกว่า เห็นด้วยที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เนื่องจากคุณค่าโดดเด่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่สูงมาก และกลุ่มป่าที่ได้ขึ้นทะเบียนไม่ได้มีแค่ป่าแก่งกระจานหรืออุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน แต่รวมถึงอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน …
เปิดคำอุทธรณ์กระทรวงทรัพย์
ย้ำแก้ PM2.5 ภาคเหนือผ่านมาตรฐานตัวชี้วัด
ยึดวาระแห่งชาติลดฝุ่นควันไฟป่า
อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รับมอบอำนาจจากปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ ฉบับลงวันที่ 8 เมษายน 2564 ตามที่ศาลปกครองเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ) ใช้อำนาจตามมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ท้องที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน …
รายงานระบุว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนจำนวน 264 คนถูกสังหารทั่วทั้งภูมิภาคละตินอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว โดยมากกว่า 40% ของการฆาตกรรมเหล่านี้เชื่อมโยงกับข้อพิพาทเรื่องที่ดิน สิทธิของชนพื้นเมือง และสิ่งแวดล้อม
ไฟป่าเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่สำคัญในระบบนิเวศที่มีวงจรชีวิตขึ้นอยู่กับไฟ มันช่วยทำให้ป่าคืนชีพอีกครั้ง กระตุ้นการเติบโตของหน่อต้นไม้ และสร้างสารอาหารใหม่ๆ อย่างไรก็ตามไฟป่าที่ไม่ได้ควบคุมหรือเผาล่วงหน้าตามที่วางแผนไว้อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อชุมชนของมนุษย์ เพื่อช่วยจัดการกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับไฟป่าในอเมริกา สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ (USGS) เปิดตัวยุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์การดับไฟป่าใหม่ที่ระบุถึงความจำเป็นที่สำคัญสำหรับการวิจัยไฟป่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ยุทธศาสตร์นี้สามารถนำไปใช้เพื่อทำความเข้าใจความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของไฟและผลกระทบที่เป็นอันตรายได้ดีขึ้น
ปัจจุบันมีสถานที่กว่า 150 แห่งทั่วโลกเข้าร่วมเป็น “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดสากล” ซึ่งนอกจากจะเป็นการรณรงค์ให้เกิดการลดมลภาวะทางแสงที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สุขภาพของมนุษย์ และการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังมีส่วนช่วยอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดยามค่ำคืนให้คงความสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงดาราศาสตร์ สร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในสถานที่นั้นอีกด้วย
เผยภาพหาชมได้ยากผลงานจากกล้องที่ติดตั้งไว้ในอุทยานแห่งชาติแซร์รา โดส ออร์เกาส์ (Serra dos Órgãos) ในป่าแอตแลนติกทางตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิลสามารถจับภาพของเสือพูม่า หรือคูการ์ที่มีขนสีขาวทั้งตัว โดยภาพถ่ายดังกล่าวถ่ายในปี 2556 เป็นครั้งแรกที่ได้รับการยืนยันว่าพบสิงโตภูเขาที่มีอาการ Leucism (ลูซิซึ่ม) ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายส่วนใหญ่เป็นสีขาว หรือที่เรียกกันว่าสัตว์เผือกนั่นเอง ภาพนี้เพิ่งจะได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างเมื่อเร็วๆ นี้ผ่านทาง National Geographic
ดัชนีคุณภาพอากาศของเชียงใหม่ในปี 2562 มีความรุนแรงของมลพิษติดอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยหนึ่งในนั้นก็คือการเผาวัสดุทางการเกษตรจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยเฉพาะข้าวโพด ซึ่งจากการประเมินพบว่ามีปริมาณซังข้าวโพดเหลือทิ้ง จำนวน 1.2 ล้านตัน/ปี เปลือกข้าวโพด จำนวน 3.1 แสนตัน/ปี หรือคิดเป็น 25% ของผลผลิต (สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2560) การเผาป่าเพื่อหาของป่า และเกิดลุกลามไหม้เข้าไปยังพื้นที่ป่าจนไม่สามารถควบคุมไม่ได้