Editor’s Pick

10 เหตุผลน้ำมันรั่วเรื่องไม่เล็ก
ผลกระทบใหญ่หลวงมหาศาล

เหตุการณ์น้ำมันรั่วที่ระยองควรมีคุณค่า (ข่าว) มากกว่าดราม่า “ทิดไพรวัลย์กับน้าเน็ก” แม้มันจะเป็น Talk of the Town ในวงการบันเทิงก็ตาม ด้วยเหตุผล 10 ประการ คือ

Read more

มหากาพย์ขุด (เหมือง) ทอง 35 ปี
บทเรียนประวัติศาสตร์สัมปทาน

รัฐบาลประยุทธ์อนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่ให้กับบริษัทคิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำนวน 4 แปลง ให้สามารถกลับมาเปิด “เหมืองแร่ชาตรี” ได้อีกครั้ง หลังถูกคำสั่งตามมาตรา 44 ให้ยุติการขุดทองในประเทศไทยไปตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งอยู่ในช่วงที่คิงส์เกตได้ยื่นฟ้องอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศต่อรัฐบาลไทยเรียกค่าเสียหายถึง 25,000 ล้านบาท มหากาพย์เหมืองทองคำชาตรีมีที่มาที่ไปซับซ้อนและน่าสนใจ igreen ขอสรุปประเด็นสำคัญ ๆ มานำเสนอ…

Read more

การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 เริ่มต้นแล้ว
ภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมร้ายแรงที่สุด
สัตว์บกจะสูญพันธุ์มากกว่า 500 ชนิด

รู้หรือไม่ว่าโลกของเราผ่านการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ หรือ Mass extinction มาถึง 5 ครั้งแล้ว ซึ่ง “การสูญพันธ์ครั้งใหญ่” เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกหลากชนิดหลายสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ไปในเวลาพร้อม ๆ กันหรือไล่เลี่ยกัน และ ณ เวลานี้ก็มาถึง “การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ครั้งที่ 6” หรือ Earth’s sixth mass extinction…

Read more

นักธรณีวิทยาจับตาผลกระทบ
ภูเขาไฟปะทุบนเกาะตองกา
หลังสึนามิซัดเมืองหลวงเสียหาย

ตองกาได้รับความเสียหายหนักจากการปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทรบนเกาะ “ฮังกา ตองกา ฮังกา ฮายาปาย” (Hunga-Tonga-Hunga-Ha’apai) หรือภูเขาไฟตองกา หลังจากเถ้าถ่าน ไอน้ำ และก๊าซลอยขึ้นเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกจนเกิดคลื่นสึนามิซัดเข้าหาฝั่งอย่างรวดเร็ว แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บหรือผลที่ตามมาด้านอื่น ๆ

Read more

สร้างหอคอยน้ำไหลจากไม้ไผ่
ช่วยลดอุณหภูมิเมืองเย็นลง
สู้คลื่นความร้อน

การหนีตายจากคลื่นความร้อนที่กำลังวิกฤตในหลายพื้นที่ของโลกอาจไม่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมชั้นสูง ลงทุนมาก และจำเป็นต้องใช้เงินมหาศาลเสมอไป อย่างเช่น บริษัทสถาปนิก AREP ได้เสนอแนวคิดในธีม “การสร้างเมืองที่ยืดหยุ่น” ใช้อุปกรณ์ทำความเย็นทางเลือกจากไม้ไผ่ที่ไม่ใช้พลังงาน หรือก๊าซหล่อเย็นใด ๆ แต่แก้ปัญหาได้ยั่งยืน 100% แถมใช้เทคโนโลยีต่ำ และราคาไม่แพง เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศเสี่ยงเผชิญวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก เช่นจะเกิดปรากฏการณ์น้ำท่วม ไต้ฝุ่น คลื่นความร้อน และความแห้งแล้ง โดยคาดว่าจะความรุนแรงและความถี่มากขึ้นภายในไม่กี่ปีข้างหน้า ท่ามกลางปัญหาที่เวียดนามกำลังเผชิญอยู่…

Read more

ดินเยือกแข็งใกล้ขั้วโลกละลาย
ทำแผ่นดินรัสเซียทรุดไฟป่าพุ่ง

การละลายของชั้นน้ำแข็งถาวรในผืนดินใกล้ขั้วโลก (Permafrost) ไม่ใช่แค่ปัญหาของแถบใกล้ขั้วโลกอีกต่อไป การค้นพบล่าสุด เว็บไซต์ Nature เผยว่า มันส่งผลกระทบไปทั่วโลก Permafrost คือ พื้นดินที่เยือกแข็งตลอดเวลา โดยปกติแล้วหมายถึงมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสองปีขึ้นไป (ที่จริงแล้วมันจะแข็งยาวนานเป็นหมื่น ๆ ปีก็ได้) ประมาณ 15% ของซีกโลกเหนือหรือ 11%…

Read more

‘คอสตาริกา’ ขยายคุ้มครองทะเล เร่งปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

คอสตาริกาผู้นำด้านอนุรักษ์ได้ประกาศขยายพื้นที่คุ้มครองทางทะเลจาก 2.7% เป็นมากกว่า 30% ของน่านน้ำในอาณาเขต ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญที่ประเทศในอเมริกากลางที่ดำเนินการเร็วกว่าเส้นตายในการปกป้องดินแดนทางทะเลเกือบหนึ่งในสามของโลก การขยายพื้นที่คุ้มครองทางทะเลโดยรอบ (MPA) อุทยานแห่งชาติเกาะโคโคสนอกชายฝั่งแปซิฟิกของประเทศจะครอบคลุมพื้นที่กว่า 5 ล้านเฮกตาร์ หรือประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร (กม.) ซึ่งใหญ่กว่าขนาดก่อนหน้านี้ถึง 26 เท่า นอกจากนี้พื้นที่การจัดการทางทะเลสองร้อยปีที่อยู่ใกล้เคียงจะขยายเป็น 11 เท่าของขนาดก่อนหน้านี้ ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่มากกว่า…

Read more

หนูฮีโร่ ‘มากาวา’ ตรวจทุ่นระเบิด
ในกัมพูชาเสียชีวิตแล้ววัย 8 ขวบ

เจ้าหนูฮีโร่ “มากาวา” ที่เข้าไปปฏิบัติการดมกลิ่นทุ่นระเบิดในกัมพูชาและได้รับเหรียญกล้าหาญในการช่วยชีวิตมนุษย์ได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยในวัย 8 ขวบ APOPO องค์กรพัฒนาเอกชนในการกวาดล้างทุ่นระเบิดที่ฝึกฝนหนูยักษ์แอฟริการะบุว่า มากาวาสามารถดมทุ่นระเบิดและระเบิดอื่น ๆ ในกัมพูชาได้มากกว่า 100 รายการระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ผลงานของมันทำให้ได้รับรางวัลเหรียญทองจากองค์กรการกุศลด้านสัตวแพทย์ของอังกฤษ The People’s Dispensary for Sick Animal ในปี 2563 อย่างไรก็ตาม…

Read more

เติร์กเมนิสถานพยายามอีกครั้ง
สั่งปิด ‘ประตูสู่นรก’ หลังลุกโชนมานานกว่า 50 ปี

ปล่องก๊าซดาร์วาซา (Darvaza gas crater) หรือที่เรียกว่า “ประตูสู่นรก” หรือ “ประตูนรก” เป็นทุ่งก๊าซธรรมชาติกลางทะเลทรายคาราคุมที่ทรุดตัวลงจนกลายเป็นเหมือน “ถ้ำ” ใกล้เมืองดาร์วาซา เติร์กเมนิสถาน สภาพของมันคือหลุมที่ยุบลงไปท่ามกลางท้องทุ่งกว้าง ในหลุมมีเปลวไฟลุกโชนตลอดเวลา ยิ่งในเวลาโพล้เพล้ยิ่งทำให้ดูเหมือนปากทางเข้าของแดนนรกยังไงยังงั้น ตอนแรกมันก็ยงเป็นท้องทุ่งดี ๆ นี่เอง แต่ในปี 2514 วิศวกรคิดว่า ใต้ดินน่าจะมีแหล่งน้ำมันจึงทำการตั้งแท่นขุดเจาะ…

Read more

เซ็กส์รักษ์โลก กับถุงยางย่อยสลายได้

เซ็กส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (eco-friendly sex) คืออะไร? มันคือการมีเพศสัมพันธ์ที่ใช้ “ตัวช่วย” ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น ถุงยางอนามัยที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และถูกเก็บทิ้งแบบประเภทแยกขยะ หรือน้ำหล่อลื่นเวลามีเพศสัมพันธ์ที่ผลิตจากธรรมชาติ ผ้าปูเตียงที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ ไปจนถึง “ของเล่น” เพื่อความเพลิดเพลินทางเพศที่จะไม่กลายเป็นขยะย่อยสลายไม่ได้ไปอีกหลายพันปี ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ? ก็เพราะว่ากองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประมาณการว่า ในแต่ละปีมีการผลิตถุงยางอนามัยชายประมาณ 10,000 ล้านชิ้น และส่วนใหญ่จะถูกกำจัดในหลุมฝังกลบ ยิ่งไปกว่านั้น…

Read more