การละลายของชั้นน้ำแข็งถาวรในผืนดินใกล้ขั้วโลก (Permafrost) ไม่ใช่แค่ปัญหาของแถบใกล้ขั้วโลกอีกต่อไป การค้นพบล่าสุด เว็บไซต์ Nature เผยว่า มันส่งผลกระทบไปทั่วโลก Permafrost คือ พื้นดินที่เยือกแข็งตลอดเวลา โดยปกติแล้วหมายถึงมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสองปีขึ้นไป (ที่จริงแล้วมันจะแข็งยาวนานเป็นหมื่น ๆ ปีก็ได้) ประมาณ 15% ของซีกโลกเหนือหรือ 11% …
Climate
ยุโรปหันมาเลิกสนใจกับ “วันหมดอายุ” ที่ปิดไว้บนบรรจุภัณฑ์อาหารในซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะจริง ๆ แล้วมันไม่ได้ “หมดอายุ” วันนั้นทันที แต่ยังสามารรับประทานได้อีกนานหรือไม่ก็สามารถนำมาแปรรูปได้ด้วย iGreen เคยนำเสนอประเด็นอาหารหมดอายุที่ยังบริโภคได้มาอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะมันช่วยลดภาระของโลกในการแบกรับของเสียจากอาหารกินทิ้งกินขว้างที่มีมากถึง 900 ล้านตันต่อปี และคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากคาร์บอนไดออกไซด์จากการทิ้งอาหารเหลือกินอยู่ที่ประมาณ 3,300 ล้านตัน ล่าสุด Morrisons ซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีชื่อเสียงในอังกฤษเตรียมเลิกกำหนดวันหมดอายุกับผลิตภัณฑ์นมเกือบทั้งหมด …
ผู้คนทั่วโลกต่างพยายามลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงซึ่งสอดคล้องกระแสมังสวิรัติ (Veganuary) ที่กำลังเป็นที่นิยม รัฐมนตรีของสเปน อัลเบอร์โต การ์ซอน (Alberto Garzón) ก็เป็นหนึ่งที่สนับสนุนการลดบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อช่วยโลก โดยได้เปิดตัวแคมเปญ ‘Less meat, more life’ ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว หวังรณรงค์ให้ชาวสแปนิชหันมารับประทานอาหารที่มีพืชเป็นส่วนประกอบกันมากขึ้น การ์ซอน เรียกร้องให้ชาวสเปนพิจารณาการบริโภคเนื้อสัตว์เสียใหม่ เพราะการทำปศุสัตว์นั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตเนื้อวัวจากฟาร์มขนาดใหญ่ แต่เขากลับสร้างความไม่พอใจให้กับบรรดารัฐมนตรี และอุตสาหกรรมผู้ผลิตเนื้อสัตว์ในประเทศ …
บริษัทสตาร์ทอัพในออสเตรเลียกำลังสร้าง “กองทัพของโดรนยิงเมล็ดพันธุ์พืช” โดยการนำฝักเมล็ดพันธุ์พืชซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษนำขึ้นไปยิงจากท้องฟ้าลงสู่พื้นดินเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ป่า
โลกของเรามีห้องที่ติดแอร์มากถึง 1,000 ล้านห้อง หรือประมาณทุก ๆ 7 คนบนโลกจะมีแอร์ 1 ยูนิต และคาดว่าภายในปี 2593 มีแนวโน้มที่จะมากกว่า 4,500 ล้านยูนิตซึ่งจะทำให้ทุกคนบนโลกนี้แทบจะมีแอร์กันครบทุกคนเหมือนที่ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ ถ้าทั่วโลกใช้แอร์กันมากขนาดนั้นมันจะกินพลังงานไฟฟ้าประมาณ 13% ของทั้งหมดทั่วโลก และผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2,000 ล้านตันต่อปีในปริมาณเทียบเท่ากับอินเดียปล่อยออกมาทั้งประเทศ ซึ่งอินเดียเป็นผู้ปล่อยก๊าซที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเพอร์ดูได้พัฒนาสีขาวพิเศษสามารถสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ …
ยูนีซ นิวตัน ฟุท ได้นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมด้านวิทยาศาสตร์ American Association for the Advancement of Science (AAAS) ในปี พ.ศ. 2399 โดยได้ตั้งทฤษฎีว่า การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป เท่ากับเป็นการค้นพบภาวะเรือนกระจก และภาวะโลกร้อนครั้งแรกอย่างที่เรากำลังประสบอยู่ในตอนนี้นั่นเอง ยูนีซ นิวตัน ฟุท …
รู้หรือไม่ว่า การก่อสร้างเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของวิกฤตสภาพภูมิอากาศทั่วโลก โดยมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 23% ของโลก อีกทั้งวัสดุก่อสร้าง และภาคการก่อสร้างยังมีส่วนในการบริโภคอุปโภคทรัพยากรทั่วโลกมากกว่า 30% C40 Cities เป็นกลุ่มเมือง 97 แห่งทั่วโลกที่มุ่งเน้นการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และขับเคลื่อนการดำเนินการในเมืองเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และความเสี่ยงจากสภาพอากาศ เพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองของชาวเมือง โดยหนึ่งในนั้นมีกรุงเทพมหานครร่วมอยู่ด้วย เมืองในกลุ่ม C40 Cities …
สำหรับคนไทยทั่วไปอุณหภูมิ 19.4 องศาเซลเซียสถือว่าหนาวมากแล้ว แต่สำหรับดินแดนใกล้ขั้วโลกเหนืออย่างอะแลสกา อุณภูมิขนาดนี้ในฤดูหนาวแบบนี้ ต้องถือว่าเป็นสัญญาณของหายนะเลยทีเดียว สถิติที่น่าตกใจนี้เกิดขึ้นเมื่อเกิดภาวะอากาศอบอุ่นในฤดูหนาวที่ไม่ปกติในอะแลสกา ทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันพุ่งสูงกว่า 15.5 องศาเซลเซียส และมีฝนตกหนักซึ่งปกติแล้วมันควรจะมีอากาศหนาวเย็น และมีหิมะตกต่างหาก ที่ชุมชนเกาะโคไดแอก อุณหภูมิวัดได้ที่ 19.4 องศาเซลเซียสในวันอาทิตย์ ถือเป็นสถิติสูงสุดในเดือนธันวาคมที่เคยบันทึกไว้ในอะแลสกา นักวิทยาศาสตร์ถึงกับบอกว่า “นี่มันบ้าไปแล้ว” ตามปกติแล้วเดือนธันวาคมจะเป็นเดือนที่อากาศแห้ง และหนาวจัด อย่างที่เรารู้ …
เจ้าสิ่งที่ดูเหมือนหม้อไฟต้มยำนี้คือ The Cocoon ทำมาจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ แต่มันไม่ได้อ่อนแอเลย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ต้นกล้าไม้ที่นำไปปลูกในป่าเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายที่สุด The Cocoon เป็นของบริษัท Land Life Company ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องต้นกล้าตลอดปีแรก โดยให้น้ำและที่กำบังพร้อมทั้งกระตุ้นต้นกล้าให้โครงสร้างรากแข็งแรงและลึก ไม่ต้องพึ่งพาการให้น้ำจากภายนอก ตอนแรก The Cocoon ดูไม่เหมือนหม้อไฟต้มยำ หรือที่ผู้พัฒนาบอกว่ามันเหมือนโดนัท ตอนแรกมันจำลองแบบมาจากหม้อดินที่ใช้ในอารยธรรมเมโสโปเตเมียโบราณ ย้อนกลับไปในสมัยนั้น …
วาตนาเยอคูตล์ (Vatnajökull) เป็นครอบน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในไอซ์แลนด์ และใหญ่เป็นอันดับ 2 ในยุโรป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 8,100 ตร. กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของประเทศ ธารน้ำแข็งมีความหนาเฉลี่ย 400 ม. มีความหนาสุด 1,000 ม. ฟังดูแล้วมันเป็นแหล่งน้ำแข็งที่น่าจะมั่นคงดี แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว …