Climate Change

ถ้าบริหารจัดการน้ำเหมือนปี 54 วิกฤตอุทกภัยอาจเลวร้ายยิ่งกว่า

ไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยตั้งแต่ปี 2543 จนถึง 2562 ไทยได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติถึง 146 ครั้ง กระทบ GDP ถึงร้อยละ 0.82 โดยเฉพาะมหาอุทกภัยในปี 2554 เป็นอุทกภัยรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยธนาคารโลกประเมินว่า มหาอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดนี้มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท

Read more

ประเทศไทยเอาไงดี? ส่องความคืบหน้าแผนรับมือโลกร้อน

จากสถานการณ์โลกปัจจุบันที่ประเทศทั่วโลกต่างต้องประสบกับนานาวิกฤตรายล้อมที่ต้องจัดการ แต่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังถือเป็นความท้าทายใหญ่ที่สุดที่ประชาคมโลกต้องร่วมกันรับมือแก้ไข โดยมีภารกิจสำคัญร่วมกันในการเร่งดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้เป็นไปตามเป้าหมายหมายความตกลงปารีสไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

Read more

ผลกระทบอากาศสุดขั้ว ภัยคุกคาม ‘สุขภาพมนุษยชาติ’ ครั้งใหญ่ที่สุด

สภาวะโลกร้อนไม่เพียงทำให้ผู้คนทั่วทุกมุมโลกต้องเผชิญความเสียหายจากความแปรปรวนของภูมิอากาศและภัยธรรมชาติที่รุนแรงอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน แต่ยังส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากความเจ็บป่วย และโรคระบาดใหม่ ๆ ต่อมนุษยชาติด้วยเช่นกัน

Read more

‘เอลนีโญ’ ผลพวงสภาพอากาศสุดขั้ว สัญญาณวิกฤตภัยแล้งรุนแรง

‘เอลนีโญ’ ชื่อที่หลายคนได้ยินมานาน เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลให้ฝนตกน้อยและเกิดภาวะแห้งแล้ง จากการคาดกาณ์ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุว่าปรากฎการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นแล้วในครั้งนี้จะกระตุ้นให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นอีก ทำให้โลกต้องเผชิญวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งคลื่นความร้อน น้ำท่วม และไฟป่า

Read more

‘มหาสมุทร’ แหล่งกักเก็บคาร์บอน 1 ใน 4 ที่มนุษย์ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ

ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนหรือคาร์บอนซิงค์ ที่มีประสิทธิภาพในการกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าไม้ถึง 10 เท่า ดึงคาร์บอนลงไปกักเก็บไว้ในใต้ดินได้ถึงร้อยละ 50 – 99 โดยมหาสมุทรเป็นคาร์บอนซิงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 1 ใน 4 ที่มนุษย์ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ สามารถลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 141-146 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ปี 2565 นับเป็นก้าวย่างสำคัญของประเทศไทยในการเริ่มต้นลงมืออย่างเป็นรูปธรรมในการนำ “บลูคาร์บอน” (Blue…

Read more

ปะการังฟอกขาว สัมพันธภาพที่ถูก ‘ความร้อน’ พลัดพราก

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาองค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาประกาศอย่างเป็นทางการว่าปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ของโลกกำลังเริ่มขึ้นแล้ว นับเป็นครั้งที่ 4 ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ปรากฎการณ์นนี้จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล รวมถึงผู้คนและเศรษฐกิจที่พึ่งพาแนวปะการัง ปัจจัยกระตุ้นปรากฎการณ์นี้หนีไม่พ้น ‘สภาวะโลกเดือด’

Read more

อุณหภูมิโลกระอุต่อเนื่อง เตรียมรับมือผลกระทบคลื่นความร้อนสุดขั้ว ปี 67

ภายหลังโลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติภูมิอากาศอย่างหนักหนาสาหัสมาตลอดทั้งปี 2566 โดยเฉพาะภัยจากคลื่นความร้อนสุดขั้ว ที่ส่งผลให้ปี 2566 ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึก อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า สถิตินี้อาจมีอายุไม่ยืดนัก เพราะเราอาจจะต้องเจอกับปีที่ร้อนจัดยิ่งกว่าในปี 2567

Read more

อุณหภูมิโลกเสี่ยงสูงเกินต้าน ไทยเตรียมเผชิญ ‘ปิศาจคลื่นความร้อน’

ปี 2566 เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกกันมา โดยอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.4 องศาเซลเซียส จากค่าพื้นฐานในช่วงปี 2359-2443 ซึ่งเป็นช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยสูงกว่าปี 2559 และ 2563 ที่เคยทำสถิติสูงสุดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดภาวะแล้งที่ยาวนาน นอกจากนี้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% จากยุคก่อนอุตสาหกรรมปกคลุมชั้นบรรยากาศ ทำให้ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้ (1)

Read more

‘อาหารแห่งอนาคต’ คืออะไร ของแท้หรือแค่เทรนด์

แมลง สาหร่าย เนื้อจากพืช เนื้อจากห้องแล็บ วัตถุดิบเหล่านี้มีแนวโน้มจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเมนูสามัญที่พบได้ทั่วไปในจานอาหารในอนาคต เมื่อวิธีผลิตและการบริโภคอาหารถึงเวลาต้องเปลี่ยน ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภาวะทุพโภชนาการ การเข้าถึงอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ ทั้งหมดเป็นปัจจัยทำให้แต่ละฝ่ายจะต้องรีบเร่งปรับตัว ซึ่งหนึ่งในทางออกสำคัญก็คือ นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตหรือ Future Food

Read more

คลื่นความร้อนมันร้าย!

ในแต่ละปีคลื่นความร้อนคร่าชีวิตคนจำนวนมากแต่มักถูกมองข้าม จึงเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่ต้องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักพร้อมรับมืออย่างเท่าทัน

Read more