Climate Change

หิมะตกในทะเลทราย
ซาอุฯ-สะฮาราตั้งแต่ต้นปี
สัญญาณปัญหาโลกรวน?

ไม่ใช่เรื่องปกตินักที่เราจะเห็นหิมะตกในพื้นที่แห้งแล้งกลางทะเลทราย แม้ว่าบางครั้งมันจะเกิดขึ้นได้ในทะเลทรายบางพื้นที่ เช่น ทะเลทรายในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเขตอบอุ่น (หรือที่เรียกว่าเมืองหนาว) หรือทะเทรายที่อยู่ใกล้เทือกเขาสูงระดับโลก เช่น ในทวีปอเมริกาใต้ แต่เป็นปรากฎการณ์ม่ค่อยปกติแน่ถ้าหิมะจะไปตกกลางทะเลทรายของประเทศที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เช่น ที่ซาอุดีอาระเบียเมื่อต้นเดือนนี้ ช่างภาพชาวซาอุดีอาระเบีย ออสมา อัล-ฮาบรี (Osama Al-Habri) ได้ถ่ายภาพทางอากาศจากเขตปกครองบัดร์ (Badr Governorate) หรือบะดัร ซึ่งมองเห็นภาพเหมือนการปูพรมด้วยหิมะสีขาวละลานตา ในภาพจะเห็นชาวบ้านรวมตัวกันเพื่อชมภาพปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดา…

Read more

‘หยวกกล้วยเอธิโอเปีย’ ช่วยได้
พืชทางเลือกรับมือภูมิอากาศป่วน
สุดยอดอาหารเลี้ยงคนนับร้อยล้าน

ประเทศที่ร้อนตับแตกตลอดเวลาเหมือนเมืองไทยอาจจะรู้สึกแค่ว่ามันร้อนมากกว่าเดิม (นิดหน่อย) แต่ส่วนใหญ่คงไม่รู้ว่า เมื่อสภาพภูมิอากาศโลกปั่นป่วนมันไม่ได้ทำให้แค่ร้อนขึ้น แต่ยังทำให้อุณภูมิไม่เหมาะกับการเพาะปลูกพืช เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมทำลายพืชผล และผู้คนจะอดอยากหลายพันล้านคน จากตัวเลขล่าสุด หากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม จะมีผู้คนมากถึง 1,800 ล้านคนต้องอดอยากหิวโหย การวิจัยเมื่อหลายปีก่อนระบุว่ามีโอกาส 90% ที่ผู้คน 3,000 ล้านคนจะต้องเลือกระหว่างทนหิวโหยหรืออพยพครอบครัวไปยังดินแดนที่สภาพอากาศไม่รุนแรงภายใน 100 ปี ไม่ต้องอะไรมาก…

Read more

‘เพนกวิน แมวน้ำ วาฬ’ นับล้าน
รับความเสี่ยงน้ำแข็งยักษ์ A68
ปล่อยน้ำจืดลงทะเล 1.5 แสนล้านตัน

ภูเขาน้ำแข็ง A68 เคยถูกบันทึกให้เป็นภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงเวลาสั้น ๆ เพราะได้แตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ขณะนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีดส์หวั่นเกรงและจับตาว่า หากมันอาจเกยไหล่ทวีปหรือเข้าชนเกาะจอร์เจียใต้ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษและเป็นที่อยู่ของนกเพนกวิน ประชากรแมวน้ำ และวาฬ จำนวนนับล้านอาจจะได้รับผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร ที่มากกว่านั้นนักวิทยาศาสตร์จาก British Antarctic Society (BAS) ระบุว่า การปล่อยน้ำจืดที่ค่อย ๆ ละลายมาเรื่อยจะสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศของเกาะบริเวณนั้นเป็นเวลากว่าทศวรรษหรือมากกว่านั้น ซึ่งจนถึงเดือนมีนาคม 2021 ภูเขาน้ำแข็งได้ปล่อยน้ำจืดลงมหาสมุทรแล้วจำนวน…

Read more

รู้ไว้! นี่แหละโลกร้อน
21 เมืองเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว
เสี่ยงไม่มีหิมะจัดแข่งกีฬาได้

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่งเป็นเจ้าภาพกำลังจะเริ่มต้นขึ้น ซึ่งมีอยู่เรื่องหนึ่งที่คนทั่วไปไม่ทราบคือ ถึงแม้ปักกิ่งจะมีสภาพอากาศที่หนาวจัด แต่ก็แห้งจัดด้วยเช่นกัน ดังนั้นโอลิมปิกครั้งนี้จีนจึงต้องโปรยหิมะขึ้นมาเองโดยฉีดน้ำให้เป็นเกล็ดน้ำแข็งขึ้นมา ภาพที่จะออกมาคือลานสกีมีหิมปกคลุม แต่ภูเขาโดยรอบไร้หิมะโดยสิ้นเชิง ภาพที่เห็นนี้อาจจะดูแปลก ๆ แต่ในอนาคตอันใกล้มันจะไม่แปลกแน่นอน เมืองหลายเมืองที่เคยเป็นแหล่งกีฬาฤดูหนาวอาจจะต้องใช้วิธีเดียวกับปักกิ่ง หรืออาจจะต้องหมดสภาพการใช้งานไปเลย เพราะภาวะโลกร้อนที่รุนแรงทำให้ฤดูหนาวหดสั้น หิมะตกน้อย น้ำแข็งเปราะบาง ไม่สามารถใช้แข่งขันหรือเล่นกีฬาได้อีก นี่ไม่ใช่เรื่องเดาไปเอง แต่มีงานวิจัยล่าสุดรับรอง การศึกษานำโดย แดเนียล สก็อตต์ ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูในแคนาดาพบว่า…

Read more

หนุ่มดัตช์ซิ่งมอเตอร์ไซค์รักษ์โลก
เติมก๊าซจากหนองน้ำวิ่งได้ 20 กม.
ทางเลือกของนักเดินทางสีเขียว

Slootmotor เป็นพาหนะทางเลือกใหม่อย่างแท้จริง ไม่พึ่งพาเทคโนโลยีชั้นสูง ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ยุ่งยากและที่สำคัญสามารถเติมก๊าซจากหนองน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย Slootmotor มอเตอร์ไซค์ทางเลือกคันนี้เป็นไอเดียของ ไชส์ ชอล์กซ์ (Gijs Schalkx) นักประดิษฐ์หนุ่มชาวเนเธอร์แลนด์ เขานำรถ Honda PC50 มาโมดิฟายด์หลังจากได้ยินเรื่องราวจากชาวประมงคนหนึ่งที่เก็บก๊าซจากบึงขณะตกปลามาใช้ปรุงอาหาร ชอล์กซ์ เปลี่ยนเจ้า Honda PC50 ให้ขับเคลื่อนโดยการเติมก๊าซ “ก๊าซหนองน้ำ” (Marsh…

Read more

จีนสร้างป่ากลางทะเลทราย
ได้กำแพงต้นไม้ 100 ล้านต้น
ช่วยลดแรงลมน้ำฝนเพิ่ม 4 เท่า

“อูลานบูวา” (Ulaanbuwa Desert) หรือ “ทะเลทรายกระทิงแดง” อยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียของสาธารณรัฐประชาชนจีน กระจายอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบเหอเท่า ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเหลือง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 0.99 ถึง 10,300 ตารางกิโลเมตร ติดอันดับหนึ่งในแปดทะเลทรายในประเทศจีนในแง่ของพื้นที่ “ทะเลทรายกระทิงแดง” มีสภาพเป็นทะเลแห่งทรายจริง ๆ นั่นคือเต็มไปด้วยเนินทราย แทบจะไร้ต้นไม้ มีเพียงบางจุดที่มีความชื้นหรือแหล่งน้ำเท่านั้นที่พอจะมีต้นไม้ไม่กี่ต้นและพุ่มหญ้าเป็นหย่อม ๆ มันจึงเป็นดินแดนที่แทบจะใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย…

Read more

ดูการหายใจเข้าออกของโลก
จับตาวัฏจักรดูดและปล่อย
ปริมาณคาร์บอนมหาศาล

เมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมา มาร์คุส ไรช์ไตน์ (Markus Reichstein) ผู้อำนวยการแผนกชีวธรณีเคมีบูรณาการของสถาบันมักซ์-พลังค์ว่าด้วยชีวธรณีเคมี (Max-Planck-Institute for Biogeochemistry) ในเยอรมนี ได้โพสต์ภาพเคลื่อนไหวบน Twitter เป็นภาพที่แปลกตามากเพราะดูเหมือนโลกกำลังพองขึ้นและยุบตัวลงเป็นจังหวะ ภาพนี้ไรชไตน์สร้างขึ้นจากข้อมูลจากการสังเกตการณ์ด้วยดาวเทียมและสถานีตรวจสอบคาร์บอนหลายร้อยแห่งทั่วโลก จะเห็นว่าโลกจะยุบตัวในช่วงฤดูร้อน ซึ่งบ่งบอกถึงเวลาและสถานที่ที่พืชพรรณเติบโต และพืชดูดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ แต่เมื่อถึงฤดูหนาว ทวีปต่าง…

Read more

สร้างหอคอยน้ำไหลจากไม้ไผ่
ช่วยลดอุณหภูมิเมืองเย็นลง
สู้คลื่นความร้อน

การหนีตายจากคลื่นความร้อนที่กำลังวิกฤตในหลายพื้นที่ของโลกอาจไม่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมชั้นสูง ลงทุนมาก และจำเป็นต้องใช้เงินมหาศาลเสมอไป อย่างเช่น บริษัทสถาปนิก AREP ได้เสนอแนวคิดในธีม “การสร้างเมืองที่ยืดหยุ่น” ใช้อุปกรณ์ทำความเย็นทางเลือกจากไม้ไผ่ที่ไม่ใช้พลังงาน หรือก๊าซหล่อเย็นใด ๆ แต่แก้ปัญหาได้ยั่งยืน 100% แถมใช้เทคโนโลยีต่ำ และราคาไม่แพง เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศเสี่ยงเผชิญวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก เช่นจะเกิดปรากฏการณ์น้ำท่วม ไต้ฝุ่น คลื่นความร้อน และความแห้งแล้ง โดยคาดว่าจะความรุนแรงและความถี่มากขึ้นภายในไม่กี่ปีข้างหน้า ท่ามกลางปัญหาที่เวียดนามกำลังเผชิญอยู่…

Read more

ปี 64 อุณหภูมิโลกและมหาสมุทร
ร้อนที่สุดเท่าที่เคยถูกบันทึกไว้

ภาวะโลกร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เราเป็นเหมือน “กบถูกต้ม” ที่ความร้อนเดือดมากขึ้นทีละน้อยจนตายไม่รู้ตัว นี่คือข้อมูลล่าสุดที่เราได้มาจากปี 2564 ซึ่งเป็นอีกปีที่ร้อนที่สุดจากเป็นเวลา 7 ปีติดต่อกันที่โลกร้อนไม่หยุดเลย การประเมินประจำปีโดย Copernicus หน่วยงานด้านสภาพอากาศของยุโรปพบว่า 7 ปีที่ผ่านมาร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยที่อุณหภูมิโลกในปี 2564 อยู่ที่ 1.2 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม Copernicus ยังพบว่า…

Read more

ดินเยือกแข็งใกล้ขั้วโลกละลาย
ทำแผ่นดินรัสเซียทรุดไฟป่าพุ่ง

การละลายของชั้นน้ำแข็งถาวรในผืนดินใกล้ขั้วโลก (Permafrost) ไม่ใช่แค่ปัญหาของแถบใกล้ขั้วโลกอีกต่อไป การค้นพบล่าสุด เว็บไซต์ Nature เผยว่า มันส่งผลกระทบไปทั่วโลก Permafrost คือ พื้นดินที่เยือกแข็งตลอดเวลา โดยปกติแล้วหมายถึงมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสองปีขึ้นไป (ที่จริงแล้วมันจะแข็งยาวนานเป็นหมื่น ๆ ปีก็ได้) ประมาณ 15% ของซีกโลกเหนือหรือ 11%…

Read more