Climate Change

เขื่อนสเปนวิกฤตภัยแล้ง
หมู่บ้านร้างเมื่อ 30 ปีก่อนโผล่
พืชผลทางการเกษตรส่อเสียหาย

ช่วงหน้าแล้งเขื่อนอัลโต ลินโดโซ (Alto Lindoso) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสเปนติดพรมแดนโปรตุเกสได้เผยโฉมอาคารบ้านเรือนร้างของชุมชนอาเซเบโด (Aceredo) ในอดีตโผล่ขึ้นมาจากน้ำ ซึ่งได้จมหลังการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเมื่อ 30 ปีก่อน แต่ก็กลายเป็นโอกาสที่มีนักท่องเที่ยวได้เดินทางมาเยือนในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะการมารำลึกความหลังในอดีต

Read more

โลกร้อนเผาชีวิต ‘ไลเคน’ กระทบระบบนิเวศอย่างลึกซึ้ง

สาหร่ายเป็นมากกว่าแค่ฝ้าสีเขียวที่ปรากฏบนผนังตู้ปลา มันเป็นพืชขนาดเล็กเมื่อรวมกับเชื้อราสามารถก่อตัวเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า ไลเคน มันเติบโตได้ทุกที่ตั้งแต่ทุ่งทุนดราในแถบอาร์กติกไปจนถึงเปลือกไม้ในบ้านของเรา และพวกมันทำทุกอย่างตั้งแต่สร้างออกซิเจนไปจนถึงเป็นอาหารสำหรับกวางเรนเดียร์

Read more

วิธีหรี่แสงแดดให้โลกเย็นลง
อาจเลวร้ายยิ่งกว่าภาวะโลกร้อน
สะเทือนไปทั่วทั้งระบบนิเวศของโลก

เมื่อเดือนที่แล้วนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งจำนวน 60 คนส่งบันทึกช่วยจำเรียกร้องให้เลื่อนโครงการวิศวกรรมธรณีสุริยะ ซึ่งรวมถึงการเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การฉีดสเปรย์บนชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (โครงการ SAI) โดยใช้เครื่องบินปล่อยอนุภาคละอองเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศและทำให้โลกเย็นลง

Read more

อีกไม่นานทะเลกำลังจะตาย
ปลาที่มนุษย์บริโภคหดหาย

ผลการศึกษาพบว่าอีก 58 ปี มหาสมุทรประมาณ 70% บนโลกจะประสบกับภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการหากินของปลาจำนวนมากที่มนุษย์บริโภค เท่ากับจะเป็นลางร้ายการเผชิญภาวะขาดแคลนอาหารทะเล

Read more

ช่วง 20 ปีน้ำแข็งกรีนแลนด์
ละลายหนักกระทบคนนับ 100 ล้าน

ข้อมูลดาวเทียมที่รวบรวมโดย Polar Portal ซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันวิจัยของรัฐบาลเดนมาร์กพบว่า กรีนแลนด์ได้สูญเสียน้ำแข็งไปแล้วกว่า 4,700 พันล้านเมตริกตันในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หรือปริมาณมากพอที่จะทำให้น้ำท่วมทั้งสหรัฐอเมริกาในระดับ 0.5 เมตร

Read more

อัปเดตข้อมูลใหม่พันธุ์ไม้โลก
ยังไม่ถูกค้นพบอีก 9,200 สายพันธุ์
40% อยู่ในพื้นที่ป่าแอมะซอน

นักวิทยาศาสตร์มากกว่า 100 คนจากทั่วโลกได้สร้างฐานข้อมูลป่าไม้ที่ใหญ่ที่สุดของโลกขึ้นมาใหม่ โดยผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS) เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2022 พบว่ามีต้นไม้ยังไม่ถูกค้นพบอีกประมาณ 9,200 สายพันธุ์โดยส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกาใต้ นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่า มีต้นไม้ที่ถูกค้นพบแล้วในปัจจุบันประมาณ 73,300…

Read more

น้ำแข็งขั้วโลกเหนือลดลง
หมียึดอาคารร้างเกาะอาร์กติก
แหล่งที่อยู่ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

มิทรี โคห์ (Dmitry Kokh) ช่างภาพชาวรัสเซียเดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกลของรัสเซียทางตอนเหนือ เมื่อในช่วงปลายฤดูร้อนปี 2021 โดยตั้งใจจะไปถ่ายภาพหมีขั้วโลกบนเกาะ Wrangel ซึ่งตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล และเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติและมรดกโลกที่ได้รับการคุ้มครองโดยองค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) สิ่งที่เขาพบกลับกลายเป็นภาพที่แปลกตาและคาดไม่ถึงบนเกาะ Kolyuchin ทางตอนใต้ของเกาะ Wrangel นั่นเพราะหมีขั้วโลกมากกว่า 20 ตัวเข้ามาอาศัยในอาคารที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของสถานีตรวจอากาศของสหภาพโซเวียต ซึ่งภาพที่เห็นหมีขั้วโลกเดินป้วนเปี้ยนอยู่ในอาคารที่ทรุดโทรม โดยต่อมาเขาปล่อยภาพเหล่านี้ลงโซเชียล และก็กลายเป็นภาพไวรัลอย่างรวดเร็ว…

Read more

แฟนกาแฟมีผวา
โลกร้อนป่วนแหล่งปลูก
ในปี 2050 ผลผลิตลด 50%

จากผลการศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่ใน Plos One เตือนว่า ภูมิภาคกาแฟที่สำคัญของโลกในบราซิล อินโดนีเซีย เวียดนาม และโคลอมเบีย ปริมาณการผลิตดจะ “ลดลงอย่างมาก” ประมาณ 50% ภายในปี 2050 รายงานระบุว่า กาแฟเป็นพืชที่ไวต่ออุณหภูมิสูงที่สุด ดังนั้นในประเทศที่เป็นแหล่งปลูกหลักจะมีสัดส่วนการผลิตลดลงประมาณครึ่งหนึ่งของโลกโดยเฉพาะสายพันธุ์ยอดนิยมอย่างอาราบิก้าที่พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกจะลดลงประมาณครึ่งหนึ่งภายในปี 2050 บางพื้นที่สำคัญจะได้รับผลกระทบหนักกว่า แม้แต่ในสถานการณ์จำลองที่อุณหภูมิสูงขึ้นน้อยที่สุดยังทำให้การปลูกกาแฟลดลงถึง 76% ในพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดของบราซิล…

Read more

รู้หรือไม่กระแสฮิต NFT
ซื้อขายภาพ-คลิปแสนแพง
ทำลายสิ่งแวดล้อมมหาศาล?

ตอนนี้ NFT กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป มันมาจากคำว่า Non-Fungible Token ซึ่งแปลว่า “โทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้” เป็นหน่วยที่จัดเก็บข้อมูลในบัญชีแยกประเภทดิจิทัล หรือบล็อกเชนที่รับรองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกัน มันเป็นหลักการเดียวกับเหรียญคริปโท เพียงแต่ NFT จะอยู่รูปแบบของภาพถ่าย วิดีโอ เสียง และไฟล์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ จึงนำมาซื้อขายกัน โดยมีหนังสือรับรองความถูกต้องหรือหลักฐานการเป็นเจ้าของ จึงนิยมซื้อขายภาพหรือคลิป NFT…

Read more