หนึ่งในตัวอย่างคนออกแบบการใช้ชีวิตให้ “สมดุล” อย่าง พสุธ รัตนบรรณางกูร หรือ “พี่โพ” ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างลงตัว เขากับคู่ชีวิต “หนูดี” วนิษา เรซ มีไลฟ์สไตล์ที่คล้ายคลึงกันเพราะกินแพลนต์ เบส เหมือนกัน แต่ทั้งคู่ก็บอกกับตัวเองว่า จะไม่ตึง ไม่หย่อนเกินไป และไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตเป๊ะกับทุกเรื่อง
Article
โรงเรียนวนิษาตั้งอยู่สุขุมวิท 26 ใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนในเมือง แต่มีพื้นที่สีเขียวค่อนข้างเยอะ ทั้งที่ปากซอยคือห้างเอ็มโพเรียมและเอมควอเทียร์ เด็กนักเรียนที่นี่มีอาหารแพลนต์ เบส กิน แต่ไม่ได้บังคับรับประทานทั้งโรงเรียน เพราะเสิร์ฟอาหารหลากหลาย แค่ให้กินแพลนต์ เบส สัปดาห์ละ 1 วัน และเป็นการเสิร์ฟโดยไม่ได้บอกว่าคืออะไร
‘เกษตรฟื้นฟู’ ตัวจริง Carbon Neutral กักเก็บคาร์บอนมากกว่าป่าปลูก
เกษตรกรรมฟื้นฟูมีมานานมากแล้วเพราะเป็นเกษตรตามธรรมชาติซึ่งตรงกันข้ามกับระบบเกษตรในปัจจุบันที่พึ่งพาสารเคมี หรือเป็นเกษตรอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นปริมาณมากกว่าความปลอดภัยของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
“เปลี่ยนขยะอาหารให้เป็นทุน มันช่วยลดค่าใช้จ่าย..ถ้าเราทำ แต่ถ้าไม่ทำมันจะเป็นทุนทางสิ่งแวดล้อม” เชฟโบ-ดวงพร ทรงวิศวะ เจ้าของร้านอาหารโบ.ลานกล่าว ขณะเล่าถึงแนวคิดและวิธีการเปลี่ยนปลายทางขยะเศษอาหารจากหลุมฝังกลบที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกไปเป็นทุน
ภาพกำเเพงกันคลื่นตามแนวชายฝั่งของประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา สะท้อนเป็นที่ประจักษ์ถึงปรากฎการณ์แพร่ระบาดของกำเเพงกันคลื่นอย่างรุนเเรง จนกลายเป็นที่มาของคำถามว่า การใช้โครงสร้างดังกล่าวสามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนได้จริงหรือไม่ หรือแท้จริงแล้วปัญหานี้สามารถหาแนวทางอื่นรับมือสถานการณ์พังทลายของชายหาดที่กำลังเกิดขึ้นได้ดีกว่า โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพา “กำเเพงกันคลื่น”
ใคร ๆ คงรู้จัก ก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และหลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า เราทุกคนต้องช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจก แต่จะช่วยอย่างไรเล่า หรือจะให้เราเริ่มต้นจากตรงไหนดี
ในวันที่โลกกำลังต่อสู้กับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้ชัดเจนจากการเกิดภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำ ไฟป่ารุนแรง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำท่วม น้ำแข็งขั้วโลกละลาย วาตภัยขนาดใหญ่ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และอื่น ๆ
ความหิวล้อมเราไว้หมดแล้ว! ในวันที่โลกกำลังตกอยู่ท่ามกลาง “วิกฤตอาหาร” ซึ่งร้ายแรงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เนื่องจากประชากรบางกลุ่มไม่มีอาหารสำหรับบริโภคอย่างเพียงพอ ทั้งยังขาดแคลนอาหารปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ
ไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยตั้งแต่ปี 2543 จนถึง 2562 ไทยได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติถึง 146 ครั้ง กระทบ GDP ถึงร้อยละ 0.82 โดยเฉพาะมหาอุทกภัยในปี 2554 เป็นอุทกภัยรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยธนาคารโลกประเมินว่า มหาอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดนี้มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท
จากสถานการณ์โลกปัจจุบันที่ประเทศทั่วโลกต่างต้องประสบกับนานาวิกฤตรายล้อมที่ต้องจัดการ แต่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังถือเป็นความท้าทายใหญ่ที่สุดที่ประชาคมโลกต้องร่วมกันรับมือแก้ไข โดยมีภารกิจสำคัญร่วมกันในการเร่งดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้เป็นไปตามเป้าหมายหมายความตกลงปารีสไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส