นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรี (High-level Segment) ของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 (COP25), การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 15 (CMP 15) และการประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 2 (CMA 2) เมื่อวันที่ …
Article
คนรุ่นใหม่คือความหวังของอนาคต แต่ในอนาคต ความหวังของพวกเขาริบหรี่ยิ่งนัก เพราะความล่าช้าในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลก ทำให้เราเข้าใกล้เส้นตายของการสกัดกั้นไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส มากขึ้นทุกที โดยที่แทบไม่มีความหวังว่าเราจะแก้ไขอะไรได้ทันการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดก๊าซเรือนกระจก เกรต้า ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) ซึ่งเป็นเสมือนผู้ถือธงนำขบวนการเยาวชนกดดันให้ “ผู้ใหญ่” ลงมือแก้ปัญหาจริง ๆ จัง ๆ ปรากฎตัวในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ …
โลกของเรายังร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะในปี พ.ศ. 2562 มีการทำลายสถิติที่เกี่ยวกับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นอย่างผิดปกติครั้งแล้วครั้งเล่า เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวของปีได้ไม่กี่วันก็มีข่าวร้ายจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า ทศวรรษนี้ (พ.ศ. 2553 – 2562) จะเป็นทศวรรษที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมหาศาลและกำลังจะทำให้สภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงจนใกล้จะถึงจุดที่แก้ไขไม่ได้
เป็นที่แน่ชัดว่า “มนุษย์” คือต้นตอหลักของปัญหาโลกร้อน จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อยุติสาเหตุและหาทางรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น สภาวะโลกร้อนที่ประเทศไทยกำลังเผชิญมี 2 รูปแบบ
เวลาที่กำลังจะผ่านไปในช่วงแรกของการดำเนินงาน “ลดก๊าซเรือนกระจก” ตามคำมั่นสัญญาที่ประเทศไทยให้ไว้ต่อประชาคมโลกนั้น พิสูจน์แล้วว่าการเดินหน้าในเรื่องนี้ไม่ได้มีเพียงคำพูดเลื่อนลอย จากการที่ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงไว้ผ่าน การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMAs) ระบุว่า ภายในปี พ.ศ. 2563 จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ 7-20% เมื่อเทียบเคียงกับกรณีปกติ (BAU)
ระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน พ.ศ. 2561 เกิดอุทกภัยยืดเยื้อใน สปป. ลาว จากฤทธิ์ของพายุไต้ฝุ่นเซินติญและเบบินกา ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ใน 55 เมือง 13 แขวง (จากทั้งหมด 18 แขวง) ในช่วงที่เกิดอุทกภัยไปทั่วประเทศยังมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น โดยในคืนวันที่ 23-24 กรกฎาคม เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยที่แขวางจำปาสักไม่สามารถรับน้ำได้ …
การประชุมภาคีสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 25 หรือ COP 25 จะจัดขึ้นที่กรุงมาดริด เมืองหลวงของสเปน ระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยมีชิลีทำหน้าที่ประเทศเจ้าภาพและประธานการประชุมในฐานะตัวแทนภูมิภาคลาตินอเมริกาตามธรรมเนียมของการประชุม COP ที่จะหมุนเวียนเจ้าภาพไปตามภูมิภาคต่าง ๆ แม้อาจจะฉุกละหุกไปบ้างสำหรับสเปนที่ต้องมาเตรียมสถานที่และระบบโลจิสติกส์ในการประชุมอย่างกะทันหันภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ หลังจากชิลีไม่สามารถจัดประชุมขึ้นที่กรุงซานดิอาโกเมืองของตนเองได้จากเหตุการณ์ประท้วงภายในประเทศ (1)
หนึ่งในวิธีแก้ปัญหาโลกร้อนที่มีต้นทุนต่ำที่สุดและง่ายที่สุดคือการปลูกป่า และแน่นอนว่ามันเป็นวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วย เพราะกลไกลธรรมชาติสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ชาวโลกปล่อยออกมาได้ถึง 37%
จากห้องแล็บสู่การใช้งานจริง สวทช.ร่วมมือเอกชนผลิตถุงพลาสติกย่อยสายได้แจกในงาน ‘กาชาดสีเขียว 2562’ ที่สวนลุมพินี ระหว่างวันที่ 15-24 พ.ย.นี้ เป็นถุงพลาสติกสลายตัวได้สำหรับขยะอินทรีย์ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ผลิตขึ้นโดยนักวิจัยไทยและภาคเอกชน
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา สื่อมวลชนทั่วโลกรายงานข่าวนักวิทยาศาสตร์กว่า 11,000 คน ร่วมกันลงชื่อในแถลงการณ์เตือนให้ตระหนักถึงภาวะฉุกเฉินของปัญหาโลกร้อน โดยบรรดาสื่อชื่อดังระดับโลกต่างรายงานข่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นตระหนกและดูน่ากลัว เช่น สำนักข่าว The Guardian ของอังกฤษพาดหัวข่าวว่า “วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ: นักวิทยาศาสตร์ 11,000 คน เตือนให้เตรียมตัวกับความทุกข์ยากที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน” และสำนักข่าว …