ความรุนแรงของมลพิษทางอากาศโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 เป็นภัยคุกคามสุขภาพของคนไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และไม่ควรเป็นเรื่องที่ “ปีหนึ่งพูดกันครั้งหนึ่ง” เหมือนเช่นที่ผ่าน ๆ มา แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการจัดการปัญหาให้เกิดการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนอย่างจริงจัง และมีการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาให้มีความต่อเนื่อง
Article
โจทย์ใหญ่ของฝุ่นควันภาคเหนือก็คือ “มายาคติ” กล่าวคือรัฐชูนโยบาย Zero Burning พร้อม ๆ กับการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงตกเป็นจำเลยของสังคมว่าเป็นคนเผาและไม่ยอมเลิกเผา โดยเฉพาะการใช้ไฟสำหรับการหาของป่าและล่าสัตว์ จึงเป็นที่มาของการชูประเด็นให้ชาวบ้านเลิกใช้ไฟเด็ดขาด
ในรายงานคุณภาพอากาศโลกประจำปี 2562 ของ IQAir AirVisual ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันยอดนิยมในการตรวจสอบคุณภาพอากาศพบว่า เมืองที่มีมลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก 30 อันดับแรก อยู่ในประเทศอินเดียถึง 20 เมือง และในจำนวน 20 เมืองนี้มี 6 เมืองที่ติดท็อป 10 มลภาวะทางอากาศที่แย่ที่สุดในโลก
ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดหากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นถึง 5 องศาเซลเซียสจากภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้พันธุ์ปลาชนิดต่างๆ ทั่วโลกถึง 60% ไม่ว่าจะเป็นระยะฟักตัวหรือโตเต็มที่จะไม่สามารถรับมือกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่มันอยู่อาศัยได้ภายในปี 2643 (ค.ศ. 2100)
อากาศช่วงฤดูหนาวของเมืองใหญ่และหมอกควันจากฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือฝุ่น PM2.5 กลายเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่คู่กันราวกับเป็นมลพิษประจำฤดูกาล ซึ่งปกติฤดูหนาวของไทยจะเวียนมาถึงในกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เพราะเป็นช่วงที่มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าปกคลุมประเทศไทย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาวิธีสกัดอาร์เอ็นเอ (RNA) ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) จากตัวอย่างแบบง่าย และชุดตรวจโรค COVID-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว เพื่อประหยัดงบประมาณและลดการนำเข้าชุดสกัดอาร์เอ็นเอ และชุดตรวจจากต่างประเทศ
ชาวญี่ปุ่นคิดค้นวิธีปลูกป่าขึ้นในเมืองเล็กๆ เมื่อปี 2513 หรือรู้จักกันในชื่อ ‘ป่ามิยาวากิ’ (Miyawaki’ forests) ซึ่งในตอนนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะวิธีการปลูกป่าลักษณะนี้ช่วยสร้างป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ขนาดเท่าสนามเทนนิสเท่านั้น แต่ต้นไม้กลับเติบโตเร็วกว่าป่าทั่วไป
ไก่ฟ้าหน้าเขียว ออกมาอวดโฉมในรอบ 50 ปี ณ จุดสกัดทับอินทนิล เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยาน เสด็จในกรม กรมหลวงชุมพร ด้านทิศเหนือ (ตอนล่าง) ไก่ฟ้าชนิดนี้มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี 2535 ที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้
ในบทความเรื่อง “เสี้ยวหนึ่งของภาพชีวิตและความเคลื่อนไหวในชุมชนหาดทรายขาว” ในวารสารรูสมิแล ได้เล่าถึงวิถีชีวิตของชาวปัตตานีกับลิง (ลิงแสม) ที่ช่วยพวกเขาเก็บผลผลิตทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นมะพร้าวหรือสะตอ ผู้เขียนบรรยายไว้ว่าลิงคือ “สัตว์เลี้ยงที่เป็นเหมือนเพื่อนสนิทของชาวสวน” เป็นความจริงที่คนปักษ์ใต้เลี้ยงลิงเหมือนคนในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน แม้จะไม่ใช่ทุกครัวเรือนที่จะเมตตากับลิงแบบนี้และมีบางกรณีที่ทารุณกับมันเหมือนเป็นทาส แต่มีน้อยมากที่เราจะได้ยินเรื่องทารุณลิง และการทุบตีหรือล่ามพวกมัน เว้นแต่เกิดจากความดุของลิงเป็นเหตุ
โดย – ปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อเช้าดูข่าวว่า กทม. เรากำลังสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่จะใช้ในการระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ของ กทม. ค่าก่อสร้างก็สูงมากโขอยู่ ดูไปก็คิดไปว่าเรากำลังพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนหรือเปล่า?