แม้การก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจะไม่เห็นผลในระยะสั้น แต่ก็ส่งผลกระทบในระยะยาวโดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ ดังนั้นถึงวเลาที่จะต้องนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle: PPP) มาใช้บังคับซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับการนำต้นทุนที่เกิดจากการก่อมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมาเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตสินค้าหรือการบริการ โดยนำกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (Food Traceability) มาประกอบการดำเนินการเพื่อจะได้ทราบแหล่งที่มาการก่อมลพิษ
Article
เผยภาพหาชมได้ยากผลงานจากกล้องที่ติดตั้งไว้ในอุทยานแห่งชาติแซร์รา โดส ออร์เกาส์ (Serra dos Órgãos) ในป่าแอตแลนติกทางตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิลสามารถจับภาพของเสือพูม่า หรือคูการ์ที่มีขนสีขาวทั้งตัว โดยภาพถ่ายดังกล่าวถ่ายในปี 2556 เป็นครั้งแรกที่ได้รับการยืนยันว่าพบสิงโตภูเขาที่มีอาการ Leucism (ลูซิซึ่ม) ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายส่วนใหญ่เป็นสีขาว หรือที่เรียกกันว่าสัตว์เผือกนั่นเอง ภาพนี้เพิ่งจะได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างเมื่อเร็วๆ นี้ผ่านทาง National Geographic
เป็นที่รับทราบกันดีว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำลายสุขภาพร่างกาย ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ยิ่งช่วงปลายปีต่อเนื่องเข้าสู่ต้นปีใหม่ ถือเป็นช่วงเข้าสู่สถานการณ์ฝุ่นควันที่จะค่อย ๆ ทวีความรุนแรง ดังนั้นทุกภาคส่วนของสังคมไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างความเข้าใจถึงรากเหง้าของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้สังคมเกิดความตระหนักและช่วยกันหามาตรการในการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง
ทุกๆ ปีจะมีโทรศัพท์มือถือใหม่จำหน่ายออกสู่ตลาดปีละประมาณ 14 ล้านเครื่อง ในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้มือถือครั้งแรกราว 100,000 เครื่องต่อปี และอีกประมาณ 14 ล้านเครื่องต่อปีเป็นการเปลี่ยนอุปกรณ์ของผู้ใช้เดิม คำถามก็คือประเทศไทยมีสัดส่วนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมากถึง 93.7 ล้านเบอร์ แล้วเครื่องเก่าที่ถูกแทนที่ด้วยเครื่องใหม่ 14 ล้านเครื่องต่อปีนั้นไปอยู่ที่ไหน?
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทยจำกัด (เอสซีจี) จัดงานสัมมนาออนไลน์ระดับโลก “SD Symposium 2020” (Sustainable Development Symposium 2020) ภายใต้แนวคิด “Actions for Sustainable Future” ให้ผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการ SMEs นักวิชาการ และคนรุ่นใหม่ที่สนใจ ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนมุมมองกับองค์กรชั้นนำระดับโลก หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมของไทย ตลอดจนชุมชนในท้องถิ่น ผ่านระบบออนไลน์
ในทางปฏิบัติถึงแม้จะไม่สามารถกำจัดเชื้อเพลิงออกไปจากป่าได้ทั้งหมด เพื่อป้องกันไฟป่า แต่ก็สามารถลดปริมาณเชื้อเพลิงลงได้บางส่วน หรือเปลี่ยนแปลงสภาพของเชื้อเพลิง หรือตัดตอนความต่อเนื่องของเชื้อเพลิงออกจากกัน เพื่อให้สามารถควบคุมไฟป่าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดัชนีคุณภาพอากาศของเชียงใหม่ในปี 2562 มีความรุนแรงของมลพิษติดอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยหนึ่งในนั้นก็คือการเผาวัสดุทางการเกษตรจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยเฉพาะข้าวโพด ซึ่งจากการประเมินพบว่ามีปริมาณซังข้าวโพดเหลือทิ้ง จำนวน 1.2 ล้านตัน/ปี เปลือกข้าวโพด จำนวน 3.1 แสนตัน/ปี หรือคิดเป็น 25% ของผลผลิต (สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2560) การเผาป่าเพื่อหาของป่า และเกิดลุกลามไหม้เข้าไปยังพื้นที่ป่าจนไม่สามารถควบคุมไม่ได้
ปลูก ‘ต้นไม้ในใจ’ ไม่เน้นปริมาณ
โยงใยการอนุรักษ์-วิถีชีวิตเข้าด้วยกัน
ส่งต่ออากาศอันบริสุทธิ์ให้ลูกหลาน
เมื่อพูดถึง “องค์การนอกภาครัฐ” หลายคนอาจจะไม่คุ้นหู้หรือไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่ามันคือชื่อเต็มของ “เอ็นจีโอ” (Non Governmental Organizations: NGO) น้อยคนนักที่จะบอกว่าไม่รู้จัก
อุปสรรคใหญ่ที่ทำให้เด็กหลุดนอกระบบการศึกษา นอกเหนือจากปัญหาความยากจนแล้ว ยังมีอีกขวากหนามคือ “บาดแผลทางใจ” หรือ “Trauma” ที่เด็กเคยประสบเหตุการณ์ร้ายในอดีตตามหลอกหลอนรบกวนจิตใจจนไม่อาจใช้ชีวิตได้ตามปกติ จากการถูกกระทำจนกลายเป็น “ความเครียดที่เป็นพิษ” บ่อนทำลายร่างกายจนระบบรวน
ช่วงเดือนสิงหาคม- ตุลาคม 2563 ภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา หรือ West Coast เกิดวิกฤตการณ์ไฟป่าที่ลุกลามตั้งแต่รัฐแคลิฟอร์เนียไปจนถึงรัฐวอชิงตันทำให้พื้นที่เหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยควันไฟหนาทึบและบางพื้นที่ยังถูกล้อมด้วยไฟป่าที่ดับได้ยากเพราะมีพื้นที่กว้างใหญ่และลุกลามรวดเร็ว