สายการบินแห่งชาติมาเลเซียประเดิมเที่ยวบินแรกตรงกับวันสิ่งแวดล้อมโลกเพื่อ โดยประกาศให้โลกรู้ว่าพวกเขาจะใช้พลังงานหมุนเวียนในเที่ยวบินมาเลย์-สิงคโปร์ ที่ทำจากน้ำมันประกอบอาหารและวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถช่วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 80%
Article
ผู้นำเมืองรณรงค์ลดโลกร้อน บิน 9 ชม.
เพื่อขึ้นเวที TED แค่ 14 นาที
นี่มันย้อนแย้ง ‘ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง’
มาร์วิน รีส (Marvin Rees) นายกเทศมนตรีเมืองบริสตอล ในสหราชอาณาจักร เป็นผู้นำรณรงค์ต่อต้านการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพื่อลดโลกร้อน แต่ “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” ด้วยการเดินทางด้วยเครื่องบินนานถึง 9 ชั่วโมงเพื่อไปพูดเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในงานสัมมนา TED ที่แคนาดา และเขาก็ใช้เวลาพูดเรื่องใหญ่ ๆ นี้ แค่ 14 นาที
น้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลาย
เสี่ยงปล่อยเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
ส่อเกิดโรคระบาดร้ายแรงซ้ำ
นักวิจัยชาวชิลีได้ค้นพบระหว่างการวิจัยว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลต่อการแพร่กระจายของแบคทีเรียที่ถูกแช่แข็งในน้ำแข็งเป็นเวลาหลายพันปี ณ ทวีปแอนตาร์กติก หรือขั้วโลกใต้ และขนาดที่ว่าสื่อบางแห่งใช้คำว่า สายพันธุ์แบคทีเรียระดับ “มหาอำนาจ” ที่อาจก่อให้เกิดโรคระบาดร้ายแรงครั้งต่อไปในโลก
ขบวน #ทวงคืนน้ำพริกปลาทู
รณรงค์หยุดซื้อหยุดขายสัตว์น้ำวัยอ่อน
ร้องรัฐรับมือวิกฤตอาหารทะเลไทย
ขบวน #ทวงคืนน้ำพริกปลาทู จัดกิจกรรมรณรงค์ “ล่องคน ล่องเรือ สามน้ำ จากปัตตานีสู่เจ้าพระยา” โดยออกเดินทางจากปัตตานีสู่รัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือร้องรัฐบาลรับมือวิกฤตอาหารทะเลไทย จะใช้เวลา 11 วันในการเดินทางถึงกรุงเทพฯ เพื่อสื่อสารกับสาธารณะถึงปัญหาการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนและหยุดซื้อหยุดกินปลาตัวเล็กที่นำมาจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้การจับสัตว์น้ำมีปริมาณน้อยลงและกระทบต่อการประกอบอาชีพของประมงพื้นบ้าน ตลอดจนทำให้คนไทยบริโภคอาหารทะเลที่มีราคาแพง
สถิติโลกใหม่ พบต้นไม้ที่มีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลกอยู่ในอุทยานแห่งชาติ Alerce Costero ประเทศชิลี ต้นไม้ที่ว่าหรือรู้จักกันในชื่อ Alerce Milenario หรือ Gran Abuelo (คุณทวด) โดยนักวิทยาศาสตร์บอกว่าน่าจะมีอายุถึง 5,484 ปี หรือในยุคเริ่มต้นอารยธรรมต่าง ๆ ของโลก
เมื่อหลายปีก่อนมีข่าวที่น่าสนใจข่าวหนึ่งในบราซิล มันเป็นเรื่องราวของครอบครัวอัลไมดา ในนครริโอเดอจาเนโร ซึ่งเลี้ยงเต่าตัวเมียเอาไว้ตัวหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 มันชื่อ “มานูเอลา” วัน ๆ มันก็ใช้ชีวิตแบบเต่าทั่ว ๆ ไป ตื่น กิน นอน เดินไปเดินมา
โลกร้อนทำให้การนอนหลับลดลง
เฉลี่ยประมาณ 15 นาทีต่อคืน
คนจะซื้อเครื่องปรับอากาศมากขึ้น
ล่าสุดมีงานวิจัยเรื่อง “อุณหภูมิที่สูงขึ้นบ่อนทำลายการนอนหลับของมนุษย์ทั่วโลก” ที่ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิแวดล้อมเพิ่มขึ้นทั่วโลกมีการเพิ่มขึ้นสูงสุดในเวลากลางคืน ทำให้ความถี่ของการนอนหลับไม่เพียงพอเพิ่มขึ้นในประชากรหลายกลุ่ม
ภาวะโลกร้อนป่วนมหาสมุทร
ท้องทะเลลึกสูญเสียความทรงจำ
ทำนายผลกระทบต่อระบบนิเวศยากขึ้น
วิทยาศาสตร์สภาพภูมิอากาศ หมายถึง “การคงอยู่ชั่วขณะของสภาวะมหาสมุทรผิดปกติ” โดยวัดจากความผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่คงอยู่ทุกปี และเป็นแหล่งสำคัญของการคาดการณ์ในระบบภูมิอากาศ
ครูตี๋ – นิวัฒน์ ร้อยแก้ว
นักสู้แห่งลุ่มน้ำโขงจากเชียงราย
ตัวแทนเอเชียรับรางวัลสิ่งแวดล้อมโลก
“ครูตี๋” – นิวัฒน์ ร้อยแก้ว นักสู้แห่งลุ่มน้ำโขงจากเชียงของ ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 6 เข้ารับรางวัลสิ่งแวดล้อมโลก “Goldman Environmental Prize 2565” ในฐานะตัวแทนจากทวีปเอเชีย
หลังการเลือกตั้งสิ่งที่หลงเหลืออยู่มากมายมหาศาลคือป้ายหาเสียงรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่ย่อยสลายได้ (แต่หลายปี) เช่น ไม้ และที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น ผ้าใบไปจนถึงพลาสติกลูกฟูก บางป้ายอาจค้างอยู่ในบางพื้นที่นานหลายปีด้วยซ้ำ เพราะมันเอาไปทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้