การผลิตปูนซีเมนต์มีส่วนปล่อยคาร์บอนจำนวนมาก เนื่องจากต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการทำความร้อนมหาศาล การใช้หินแกรนิตทดแทนหินปูนจึงเป็นทางเลือก
Article
ชาวปทุมธานีลุ้น 20 ต.ค. น้ำทะเลหนุนสูงสุด ถ้าฝนตกหนักท่วมแน่
ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศแนะให้เตรียมรับมือน้ำทะเลหนุนสูงสุด 20 ต.ค.นี้ ถ้าฝนตกซ้ำปทุมธานีมีโอกาสน้ำท่วม แต่จะไม่หนักเท่าปี 2554 รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยว่า วันที่ 20 ต.ค.นี้ซึ่งน้ำทะเลหนุนสูงสุดจะทำให้มีความเสี่ยงที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะชุมชนหลักหกและเมืองเอก จ.ปทุมธานี ซึ่งหากฝนตกหนักจะเติมน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น อาจทำให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 40 …
อุณหภูมิเพิ่ม ปัจจัยเร่งพายุรุนแรงขึ้น 2 เท่า น้ำท่วมไทยอ่วม 46,500 ล้าน
โลกร้อนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พายุเฮอริเคนรุนแรงขึ้น และจะเกิดถี่ขึ้นเป็นสองเท่า เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่อุ่นมากขึ้นจะเป็นปัจจัยเร่ง
รู้จักกฎหมายโลกร้อนฉบับละเอียด ธุรกิจซื้อคาร์บอนเครดิตได้ไม่เกิน 15%
อธิบดีกรมลดโลกร้อนอธิบายกฎหมายโลกร้อนละเอียด คาดได้ใช้ปี 59 อปท.จะได้เงินอุดหนุน 10% ธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเกินจะซื้อคาร์บอนเครดิตได้ไม่เกิน 15% ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม บรรยายหัวข้อ “พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กลไกสู่ภูมิคุ้มกัน Climate Change” ในเวทีประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 3 หรือ Thailand Climate …
การขยายตัวของเมือง การทำลายป่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะวิกฤตโลกร้อนที่รุนแรงล้วนเป็นสาเหตุให้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น
ฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลากภาคเหนือ ป่าไม้ลดลงหรือ Climate Change?
เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือครั้งรุนแรงมีสาเหตุจากการตัดไม้ทำลายป่าใช่หรือไม่…หรือนี่คือการเขย่าขวัญจากภาวะโลกเดือด
น้ำท่วมเหนือ-อีสานแรงแซงปี 54 ต้น ต.ค.น้ำทะเลหนุนสูง กรุงเทพเสี่ยง
เหตุการณ์น้ำท่วมเชียงราย และอีกหลายจังหวัดรุนแรงกว่าปี 2554 กรุงเทพฯ เสี่ยงสูงหากพายุซ้ำอีกลูก เตรียมตัวหนึ่งต้น ต.ค.น้ำทะเลหนุนสูงมากกว่านี้
30 ปี กรุงเทพจมทะเล ไม่อยู่บนแผนที่โลก ไม่ย้ายเมืองหลวงจะรอดไหม?
นักวิทยาศาสตร์ตอกย้ำหลายครั้งว่าวิกฤตโลกร้อนจะทำให้ประเทศหมู่เกาะและเมืองชายฝั่งเสี่ยงจมทะเล แต่ดูเหมือนประเทศไทยจะยังไม่ตื่นตัวรับมือมากพอ เมืองหลวงของหลายประเทศในอาเซียนมีโอกาสสูงมากที่จะจมทะเล ด้วยภาวะโลกร้อนเข้าสู่วิกฤตหนักหน่วงมากยิ่งขึ้น โดยไม่มีทีท่าจะหยุดยั้งกิจกรรมการพัฒนาของมนุษย์ในทุกมิติลงได้ ก๊าซเรือนกระจกจึงถูกปล่อยในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มหาสมุทรซึ่งมีศักยภาพในการดูดซับความร้อนและคาร์บอนไดออกไซด์ไปกักเก็บใต้ทะเลก็ไม่อาจรับไหว น้ำทะเลอุ่นจึงมากขึ้น ซึ่งแน่นอนอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นได้เร่งอัตราการละลายธารน้ำแข็งขั้วโลก ระดับน้ำทะเลก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี ข้อมูลรายงานฉบับหนึ่งที่ชื่อ State of Climate in the South-West Pacific 2023 ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) …
เมืองทั่วโลกเร่งปรับตัว รับมือคลื่นความร้อนดันอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น
เมืองต่างๆ ทั่วโลกเร่งปรับตัวจากคลื่นความร้อนจะที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงถึง 35 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและอื่น เมืองต่างๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความร้อนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้หลายแห่งต้องหาวิธีแก้ไขและปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากคลื่นความร้อนและอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรุนแรง หลายเมืองได้พยายามเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อช่วยลดอุณหภูมิ เช่น การปลูกต้นไม้ สร้างสวนสาธารณะ หรือการจัดสวนบนหลังคา (green roofs) ให้ช่วยดูดซับความร้อนและสร้างร่มเงา ตัวอย่างเช่น เมืองมิลานในอิตาลีได้เริ่มโครงการ “Bosco Verticale” หรือ …
เหตุการณ์น้ำท่วมเมืองเชียงรายถือเป็นวิกฤตการบริหารจัดการน้ำระดับชาติ เพราะรู้สถานการณ์ล่วงหน้า แต่ไม่มีแผนรองรับ งบประมาณมากแต่รับมือไม่ได้