แมลง สาหร่าย เนื้อจากพืช เนื้อจากห้องแล็บ วัตถุดิบเหล่านี้มีแนวโน้มจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเมนูสามัญที่พบได้ทั่วไปในจานอาหารในอนาคต เมื่อวิธีผลิตและการบริโภคอาหารถึงเวลาต้องเปลี่ยน ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภาวะทุพโภชนาการ การเข้าถึงอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ ทั้งหมดเป็นปัจจัยทำให้แต่ละฝ่ายจะต้องรีบเร่งปรับตัว ซึ่งหนึ่งในทางออกสำคัญก็คือ นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตหรือ Future Food
Article
ในแต่ละปีคลื่นความร้อนคร่าชีวิตคนจำนวนมากแต่มักถูกมองข้าม จึงเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่ต้องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักพร้อมรับมืออย่างเท่าทัน
สังเกตกันไหมว่าตลอดช่วงปี 2566 เรามักเห็นข่าวภัยพิบัติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก นับตั้งแต่คลื่นความร้อนรุนแรง ภัยแล้งหนักสุดในประวัติศาสตร์ ไฟป่าลามเผาทั้งเมืองวอดวาย หรือแม้กระทั่งพายุฝนถล่มเมืองกลางทะเลทรายจนเมืองจมน้ำ จนนับได้ว่าปี 2566 ถือเป็นปีที่โลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติร้ายแรงเป็นประวัติการณ์ (1) ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2567 จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้มาทบทวนถึงสถานการณ์ภัยพิบัติที่ได้สร้างความเสียหายมหาศาลต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนทั่วโลกตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อที่จะทำความเข้าใจความร้ายแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เราทุกคนกำลังเผชิญ ปีแห่งความแห้งแล้ง ไฟป่า และคลื่นความร้อน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ อันโตนิโอ กุเตอเรส …
โดยปกติตาข่ายการเกษตรที่เราเห็นทั่วไปถ้าไม่เป็นสีดำก็จะเป็นสีขาวหรือสีเขียว แต่จากการศึกษาของนักวิจัยชาวญี่ปุ่นพบว่าหากเลือกใช้ตาข่ายสีแดง จะสามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ดีกว่าโดยเฉพาะแมลงกลุ่มเพลี้ยไฟ
ปูเสฉวน 2 ใน 3 สายพันธุ์ทั่วโลกกำลังนำขยะพลาสติกมาใช้เป็น ‘บ้าน’ หรือเกราะห่อหุ้มร่างกาย การศึกษานิเวศวิทยาทางอินเทอร์เน็ต (iEcology) นักวิจัยพบว่า 85% ของ ภาพปูเสฉวน 386 ภาพที่เผยแพร่สาธารณะผ่านโซเชียลมีเดีย ใช้ขยะพลาสติกเป็นเกราะหุ้มร่างกาย โดยขยะที่พบส่วนมากเป็นฝาขวดพลาสติก
เพื่อความเข้าใจสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน แม้ผลการประชุม COP28 จะได้ฉันทานุมัติว่าจะ “เปลี่ยนผ่าน” เชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั่วโลกจะหยุดขุดเจาะเชื้อเพลิงโบราณนี้มาใช้ ในปีนี้จึงสามารถสรุปสถานการณ์ความคืบหน้าปัญหาโลกร้อนออกมาได้ 5 ประเด็น ดังนี้
การพัฒนาเครื่องต้นกำลังพลังชีวมวล คือการนำเครื่องยนต์ดีเซลเก่ามาดัดแปลงเป็นเครื่องต้นกำลังพลังชีวมวล เพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการลดฝุ่น PM2.5 และ ลดแหล่งกำเนิดฝุ่นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
ค่าฝุ่น PM 2.5 กทม. เช้านี้เกินมาตรฐาน เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้ 21-42.1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร พบว่า 7 พื้นที่ของ กทม.มีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่ 1) …