นักวิจัยในสหราชอาณาจักรพบฟอสซิลกิ้งกือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งมีความยาวเท่ากับรถยนต์และคาดว่าน่าจะมีชีวิตในช่วงยุคคาร์บอนิเฟอรัส ระหว่าง 359 ล้านถึง 299 ล้านปีก่อน ฟอสซิลกิ้งกือยักษ์ที่ค้นพบคือ Arthropleura เป็นสกุลกิ้งกือที่อาศัยอยู่ในอเมริกาเหนือและยุโรป ซึ่งมีอายุประมาณ 326 ล้านปี ในกลุ่มหินทรายที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ บนชายหาดในนอร์ธัมเบอร์แลนด์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษในเดือนพฤษภาคม 2018 ชิ้นส่วนโครงกระดูกภายนอกยาว 75 ซม.และกว้าง 55 …
Animal
ทีมนักวิจัยเยอรมนีค้นพบอาณาจักรพันธุ์ปลาขนาดใหญ่ที่สุดในโลกใกล้กับหิ้งน้ำแข็ง Filchner ในทะเลเวดเดลล์ทางตอนใต้ของแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นปลา notothenioid ที่คาดว่าน่าจะน้ำหนักรวมกันในพื้นที่มากถึง 60,000 ตัน จากจำนวนรังที่พบทั้งหมดประมาณ 60 ล้านรัง นักวิจัยพบมันอาศัยอยู่บนพื้นที่ประมาณ 240 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เท่าขนาดประมาณเกาะมอลตาหรือประมาณหนึ่งในสามของขนาดลอนดอน โดยปลาน้ำแข็งที่พบเป็นปลามีกระดูกสันหลังชนิดเดียวที่ไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงทำให้ตัวโปร่งใสจนสามารถมองทะลุเห็นโครงกระดูกภายใน งานวิจัยของทีมวิจัยชุดนี้ซึ่งตีพิมพ์ใน Current Biology มื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมาระบุว่า …
ฮ่องกงปิดตลาดค้างาช้างสิ้นปี 64
‘นักเตะเคนยา’ ทูตสัตว์ป่าคนใหม่
ร่วมรณรงค์ยุติการค้าสัตว์ป่า
วิกเตอร์ วานยามา (Victor Wanyama) ได้ร่วมลงนามเป็นทูตสัตว์ป่าคนใหม่กับไวล์ดเอด (WildAid*) โดยเขาร่วมกับดาราชาวเคนยา Lupita Nyong’o และ Eliud Kipchoge เพื่อกระตุ้นให้ชาวเคนยา รวมทั้งชาวแอฟริกัน และทั่วโลกปกป้องสัตว์ป่าและยุติการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย โดยวิกเตอร์เชื่อว่าสัตว์ป่ามีค่ามากกว่าเมื่อมีชีวิตอยู่จึงได้เข้าร่วมกับไวล์ดเอด เขาเป็นนักฟุตบอลอาชีพกับ CF Montreal และอดีตกัปตันทีมชาติเคนยา เขาเป็นชาวเคนยาคนแรกที่ยิงประตูในแชมเปี้ยนส์ลีกและเคยเล่นให้กับท็อตแนมฮ็อทสเปอร์และเซาแธมป์ตันในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ Living …
วัวเป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญโดยมาจากการ “เรอ” ของพวกมันที่มีก๊าซมีเทนจำนวนมหาศาล การศึกษาใหม่โดยละเอียดพบหลักฐานเพิ่มเติมว่าการให้อาหารเสริมประเภทสาหร่ายทะเลจะช่วยให้วัวลดการปล่อยก๊าซมีเทนลงได้อย่างมากโดยไม่ส่งผลต่อสุขภาพหรือรสชาติของเนื้อสัตว์ ภาคเกษตรกรรมมีส่วนสร้างมลพิษรายใหญ่ที่สุดโดยเฉพาะจากภาคปศุสัตว์ที่ปลอ่ยก๊าซมีเทนมากถึง 37% ด้วยเหตุนี้จึงมีการเรียกร้องให้ผู้คนลดการบริโภคปริมาณเนื้อแดง แต่อาจไม่ใช่ทางออกเดียว เพราะการเปลี่ยนอาหารให้วัวก็ช่วยได้เช่นกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานักวิจัยจาก CSIRO และ University of California Davis (UCD) ได้แสดงให้เห็นว่าการใส่สาหร่ายลงไปในอาหารปกติของวัวสามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนลงได้อย่างมาก สำหรับการศึกษาใหม่ทีมงานได้ปรับขนาดการทดลองจากสองสัปดาห์เป็นห้าเดือน โดยให้อาหารวัวเนื้อที่ผสมสาหร่ายทะเล Asparagopsis taxiformis …
ผมอยากใช้เหตุการณ์สลด ผู้พิทักษ์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี ถูกพรานยิงตายขณะเข้าจับกุม เขียน “จดหมายถึงพราน” เพื่อบอกกล่าวบางสิ่งบางอย่างในใจผม ต่อพวกพรานใจฉกาจ ถึงพรานใหญ่น้อยทั่วประเทศ
ตั้งแต่สมัยเป็นคอลัมนิสต์ ผมเขียนลงในหนังสือพิมพ์หลายครั้งหลายหน ในระดับ “เพ้อ” เลยทีเดียว พร่ำพูดถึงความดีความงามของ “บ่อนกแก่งกระจาน” อันเป็น “โมเดลการอนุรักษ์” ที่สุดยอดอันหนึ่ง เท่าที่เมืองไทยเคยมีมา
ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นยะเยือกแห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุณหภูมิลดฮวบต่ำสิบตั้งแต่สิ้นแสงตะวัน เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าขนท่อนฟืนมาก่อไฟไล่หนาวจนเปลวโชติช่วง ทันใดนั้น เจ้าหน้าที่ที่ส่องไฟฉายเล่นๆ ไปตามพุ่มไม้ ก็ร้องขานออกมาว่า “แมว!” ผมเด้งตัวจากเก้าอี้พลาสติก จนเก้าอี้หักกร๊อบ (เก้าอี้ของเจ้าหน้าที่ กรรม!) พอมองตามแสงไฟฉายไป ไม่อยากเชื่อสายตา ที่เห็นนั่นคือ แมวดาว (Leopard Cat)
ฤดูหนาวของไทยในทุกปี เรามักได้เห็นคำพาดหัวของหนังสือพิมพ์หัวสีประมาณว่า “ตะลึงนกยักษ์ตกทุ่งนา” เห็นคำนี้ก็หลับตาเดาได้เลย อีแร้งแน่นอน และแทบจะเจาะจงชื่อมันได้อีกต่างหากว่า อีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย (Himalayan Griffon) เพราะเป็นอีแร้งหนึ่งเดียวที่ยังมาเที่ยวเมืองไทยอย่างสม่ำเสมอ สำหรับฤดูหนาวปีนี้ ที่ส่อเค้าจะหนาวจัดและหนาวนาน โอกาสที่จะมี “นกยักษ์” จะมาเยือนเมืองไทยอีกครั้ง ดูจะมีโอกาสเป็นไปได้มากทีเดียว
ข้อเขียนนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการไว้อาลัยให้กับ “ช้าง 11 ตัว” ที่สังเวยให้น้ำตกเหวนรก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่ง ณ เวลานี้ ทางกรมอุทยานฯ ตอบรับข้อเสนอจากคนรักช้างที่เดิมพันชีวิตตัวเอง ด้วยการอดข้าวประท้วง นัดประชุมหามาตรการป้องกันเหตุซ้ำรอยอย่างยั่งยืนแล้ว
หลังจากฟังการแถลงยาวเหยียดนานกว่า 1 ชั่วโมง ของคณาจารย์วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นทีมศึกษาโครงการ “ซาฟารีห้วยขาแข้ง” ผมพอจะมีข้อสรุป (ตามความเข้าใจ) ณ เวลานี้ 1. หลักการและเหตุผลในการผลักดัน “ซาฟารีห้วยขาแข้ง” นับว่าถูกต้อง เหลือแค่ว่าในทางปฏิบัติจะถูกต้องหรือไม่ และสุดท้ายจะประสบความสำเร็จตาม “ภาพฝัน” หรือไม่