ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นยะเยือกแห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุณหภูมิลดฮวบต่ำสิบตั้งแต่สิ้นแสงตะวัน เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าขนท่อนฟืนมาก่อไฟไล่หนาวจนเปลวโชติช่วง ทันใดนั้น เจ้าหน้าที่ที่ส่องไฟฉายเล่นๆ ไปตามพุ่มไม้ ก็ร้องขานออกมาว่า “แมว!” ผมเด้งตัวจากเก้าอี้พลาสติก จนเก้าอี้หักกร๊อบ (เก้าอี้ของเจ้าหน้าที่ กรรม!) พอมองตามแสงไฟฉายไป ไม่อยากเชื่อสายตา ที่เห็นนั่นคือ แมวดาว (Leopard Cat)
สิงสาราสัตว์
ฤดูหนาวของไทยในทุกปี เรามักได้เห็นคำพาดหัวของหนังสือพิมพ์หัวสีประมาณว่า “ตะลึงนกยักษ์ตกทุ่งนา” เห็นคำนี้ก็หลับตาเดาได้เลย อีแร้งแน่นอน และแทบจะเจาะจงชื่อมันได้อีกต่างหากว่า อีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย (Himalayan Griffon) เพราะเป็นอีแร้งหนึ่งเดียวที่ยังมาเที่ยวเมืองไทยอย่างสม่ำเสมอ สำหรับฤดูหนาวปีนี้ ที่ส่อเค้าจะหนาวจัดและหนาวนาน โอกาสที่จะมี “นกยักษ์” จะมาเยือนเมืองไทยอีกครั้ง ดูจะมีโอกาสเป็นไปได้มากทีเดียว
ข้อเขียนนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการไว้อาลัยให้กับ “ช้าง 11 ตัว” ที่สังเวยให้น้ำตกเหวนรก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่ง ณ เวลานี้ ทางกรมอุทยานฯ ตอบรับข้อเสนอจากคนรักช้างที่เดิมพันชีวิตตัวเอง ด้วยการอดข้าวประท้วง นัดประชุมหามาตรการป้องกันเหตุซ้ำรอยอย่างยั่งยืนแล้ว
หลังจากฟังการแถลงยาวเหยียดนานกว่า 1 ชั่วโมง ของคณาจารย์วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นทีมศึกษาโครงการ “ซาฟารีห้วยขาแข้ง” ผมพอจะมีข้อสรุป (ตามความเข้าใจ) ณ เวลานี้ 1. หลักการและเหตุผลในการผลักดัน “ซาฟารีห้วยขาแข้ง” นับว่าถูกต้อง เหลือแค่ว่าในทางปฏิบัติจะถูกต้องหรือไม่ และสุดท้ายจะประสบความสำเร็จตาม “ภาพฝัน” หรือไม่
ในบรรดาสัตว์ป่าของไทย มีสัตว์ที่มีลักษณะเป็น “คู่เหมือน” จากรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกันมาก แบบว่าคนทั่วไปที่ไม่มีประสบการณ์กับเหล่าสิงสาราสัตว์ อาจงงเอาได้เหมือนกันว่าไผเป็นไผ แต่สถานภาพของสัตว์คู่เหมือนนี้ กลับต่างกันราวฟ้ากับเหว ตัวหนึ่งหาง่ายทั้งในไทยและระดับโลก ส่วนอีกตัวหนึ่ง ในไทยหายาก และระดับโลกถึงขั้น Endangered หรือใกล้สูญพันธุ์เข้าไปแล้ว
1.ขณะที่สัตว์ใหญ่ชนิดอื่นในเอเชียอาคเนย์ อย่างเสือ ช้าง กระซู่ เป็นเป้าสนใจของงานอนุรักษ์มาโดยตลอด วัวแดงกลับถูกมองข้ามไป ทั้งที่ปัจจุบันสถานภาพระดับโลกของวัวแดง (Banteng) คือ “ใกล้สูญพันธุ์” หรือ Endangered โดยก่อนหน้านี้เคยเกือบจะถึงขั้น Critically Endangered มาแล้วด้วย แต่ประชากรวัวแดงในประเทศกัมพูชา ซึ่งฟื้นตัวดีมาก ช่วย #savebanteng ไว้ทัน
ผมเพิ่งได้โอกาสเดินทางไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกเป็นครั้งแรก นับจากเกิดเหตุการณ์ยิงเสือดำ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561
เดือนเมษายน 2559 เป็นครั้งสุดท้ายที่มีการพบนกแต้วแล้วท้องดำ (Gurney’s Pitta) ตัวเป็นๆ ในป่าเมืองไทย ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม (เขานอจู้จี้) จ.กระบี่
คอลัมน์สิงสาราสัตว์ โดย – ปริญญา ผดุงถิ่น สัตว์ป่าที่กำลังเข้าโครงการฟื้นฟูประชากร ซึ่งน่าลุ้นน่าเชียร์อย่างยิ่ง ก็คือ พญาแร้ง (Red-headed Vulture, Asian King Vulture) กรมอุทยานแห่งชาติฯ องค์การสวนสัตว์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันผลักดันความฝันของหลายๆ คนให้เป็นจริง ความฝันที่อยากเห็นพญาแร้งกลับมาร่อนลมอีกครั้ง เหนือฟากฟ้าเมืองไทยมีการนำหนุ่มสาวพญาแร้งมาจับคู่กันในกรง เพื่อให้พวกมันฟักไข่หวังให้มีแร้งในกรงมากพอจะปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ …