มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ นักวิจัยไทย ค้นพบ “จิ้งจกหินศิวะ” และ “ตุ๊กแกศิวะ” สัตว์เลื้อยคลายชนิดใหม่ของโลก กลางผืนป่าเขาหินปูน จ.สระแก้ว เป็นเครื่องยืนยันว่า พื้นที่หินปูนแห่งนี้ คือขุมทรัพย์ของความหลากหลายทางชีวภาพ กลางผืนป่าเขาหินปูนที่เงียบสงบใน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว ภายใต้ม่านแห่งความลี้ลับของธรรมชาติ กลุ่มนักวิจัยนำโดย ผศ.ดร.วรวิทู …
Animal
ทุกวันที่ 3 เมษายน เป็น “วันสัตว์น้ำโลก” ชวนมองลึกถึงความงามและความเปราะบางของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องน้ำ พร้อมกระตุ้นให้ลงมือปกป้องระบบนิเวศ ที่เป็นหัวใจของโลกใบนี้ วันสัตว์น้ำโลก (World Aquatic Animal Day) ซึ่งจัดขึ้นทุกวันที่ 3 เมษายนของทุกปี เป็นโอกาสพิเศษที่มนุษยชาติทั่วโลกได้หันมามองความสำคัญของสัตว์น้ำและระบบนิเวศทางน้ำที่เป็นรากฐานของชีวิตบนโลกใบนี้ สัตว์น้ำและแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมัน ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อความสมดุลของธรรมชาติและการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความสำคัญของสัตว์น้ำในระบบนิเวศและชีวิตมนุษย์ สัตว์น้ำครอบคลุมสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ตั้งแต่ปลานานาพันธุ์ …
ทีมวิจัย ค้นพบเส้นทางชีวภาพจากลำไส้ “คาปิบารา” หลังกินอ้อย เผยศักยภาพในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ด้วยเอนไซม์ใหม่ที่ย่อยชีวมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยโลกพ้นวิกฤตพลังงาน ใครจะไปรู้ว่าเจ้า “คาปิบารา” สัตว์ฟันแทะขนาดใหญ่ หน้าตาสุดมึน น่ารัก และมีพฤติกรรมที่เป็นมิตร จนกลายเป็นสัตว์ที่ครองใจชาวโซเชียล จะมีส่วนช่วยโลกจากวิกฤตพลังงาน เมื่อการค้นพบเส้นทางชีวภาพจากลำไส้คาปิบารา กลายเป็นอนาคตของเชื้อเพลิงชีวภาพจากอ้อย ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตพลังงาน และการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่กำลังหมดลงอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความหวังใหม่จากแหล่งที่ไม่คาดคิด นั่นคือ ลำไส้ของคาปิบารา …
“วันช้างไทย” 13 มีนาคม วันแห่งความภาคภูมิใจในสัตว์ประจำชาติที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต แต่ปัจจุบันช้างป่าและช้างเลี้ยง เหลือเพียงไม่กี่พันตัว ท่ามกลางวิกฤตต่างๆ มาร่วมเรียนรู้และหาทางรักษาช้างไทยให้คงอยู่กับเราตลอดไป วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันช้างไทย” ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของช้าง สัตว์ประจำชาติที่มีบทบาทสำคัญ ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และระบบนิเวศของประเทศไทย …
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ห่วงประชากร “พะยูน” หลังพบถูกเลาะเขี้ยว 2 ข้าง สร้างความสะเทือนใจ มอบหมายกรมทรัพย์ฯ-กรมอุทยานฯ ผนึกกำลังเครือข่าย สืบสวนหาผู้กระทำผิด จากเหตุการณ์ที่พบ “พะยูน” เกยตื้นบริเวณอ่าวโล๊ะใหญ่ จังหวัดกระบี่ และถูกตัดเขี้ยวทั้งสองข้างหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนั้น ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว และไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้สั่งการให้ศูนย์ปฏิบัติการร่วมพิทักษ์พะยูน …
จุดประกายความหวังใหม่ เมื่อนักวิจัยค้นพบ บทบาทสำคัญในการฟื้นตัวของสาหร่ายทะเล มาจาก “นากทะเล” วีรบุรุษแห่งการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนในท้องทะเล สาหร่ายทะเลมีบทบาทสำคัญทั้งในระบบนิเวศและชีวิตมนุษย์ และยังช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ลดภาวะโลกร้อน และบางชนิดใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน แต่สาหร่ายทะเล กำลังเผชิญภัยคุกคามจากมลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการขยายตัวของสัตว์กินพืช เช่น เม่นทะเล ที่เพิ่มขึ้น นากทะเล: ผู้ฟื้นฟูป่าสาหร่ายทะเล และความซับซ้อนของระบบนิเวศ แต่เมื่อนากทะเลกลับคืนสู่เกาะต่างๆ …
สำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนา “ปีที่หายไป” ของ “ลูกเต่าทะเล” หลังฟักไข่แล้วหายไปไหน ด้วยการติด GPS บนกระดอง “ไม่ใช่ว่าเต่าหายไป แต่เราแค่ไม่เคยตามมันทัน” เป็นเวลาหลายทศวรรษ ที่นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นในช่วงหลายปีที่หายไป ระหว่างที่ลูกเต่าทะเลตัวเล็กออกจากชายหาด จนกลับมายังพื้นที่ชายฝั่งเมื่อใกล้โตเต็มวัย ซึ่งก็คือช่วงเวลาประมาณ 1 ถึง …
ค้นพบครั้งใหญ่ เชื้อราสายพันธุ์ใหม่ เปลี่ยน ‘แมงมุม’ ให้เป็น ‘ซอมบี้’
เปิดม่านความลับใหม่ของระบบนิเวศถ้ำในไอร์แลนด์ นักวิจัย ค้นพบ เชื้อราสายพันธุ์ใหม่ เปลี่ยนแมงมุมถ้ำให้กลายเป็นซอมบี้ อพยพสู่ที่โล่งเพื่อแพร่สปอร์ สร้างคำถามใหม่ให้วงการวิทยาศาสตร์ กับผลกระทบระบบนิเวศ ในโลกแห่งธรรมชาติที่เต็มไปด้วยความลึกลับ และความมหัศจรรย์ การค้นพบครั้งล่าสุด จากทีมนักวิทยาศาสตร์ ที่นำโดย ดร. แฮร์รี่ อีแวนส์ อดีตนักวิจัยจาก CAB International ได้เปิดเผยเรื่องราวที่น่าทึ่งเกี่ยวกับเชื้อราสายพันธุ์ใหม่ ที่พบในแมงมุมถ้ำ การวิจัยนี้ …
ฉลาม กับการกักเก็บคาร์บอน กุญแจสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จาก 500 สายพันธุ์ และในจำนวนนี้ 25% ที่กำลังเผชิญหน้ากับการสูญพันธุ์ “ฉลาม” เป็นหนึ่งในสัตว์ทะเลที่มีชื่อเสียง และน่าเกรงขามมากที่สุดในโลก และที่สำคัญ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลและการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมทางทะเล พวกมันไม่เพียงแต่เป็นนักล่าชั้นยอดในห่วงโซ่อาหารทะเล แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และความยั่งยืนของระบบนิเวศใต้ทะเล แต่ปัจจุบัน ฉลามกำลังตกอยู่ในอันตรายจากการสูญพันธุ์ จากการโจมตีของมนุษย์ ในโลกนี้มีฉลามประมาณ 500 …
ผลพวงของภาวะโลกร้อน ไม่เพียงทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนไป แต่ยังส่งผลต่อสรรพชีวิตบนโลก โดยเฉพาะ “ยุง” มีงานวิจัยหลายชิ้นบอกตรงกันว่า เมื่อโลกร้อนขึ้น ยุงลายจะเติบโตเร็วขึ้นขยายพันธุ์ไว และกัดบ่อยขึ้น ทำไข้เลือดออกระบาด ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ “โลกร้อน” อาจดูเหมือนเป็นแค่เรื่องของอุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่จริงๆ แล้วมันมีผลกระทบมากมายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ และหนึ่งในผลกระทบที่อาจไม่คาดคิดคือ การเพิ่มขึ้นของจำนวน “ยุง” ซึ่งถือเป็นปัญหาที่หลายคนอาจมองข้ามไป การศึกษาวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่า …