เมื่อปีที่แล้ว Aeon ช้อปปิ้งมอลชื่อดังของญี่ปุ่นได้ร่วมมือกับ Loop ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพบรรจุภัณฑ์แบบหมุนเวียน เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และกำจัดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมหาศาลที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นในแต่ละปี (ซึ่งญี่ปุ่นผลิตขยะพลาสติกมากเป็นอันสองของโลก) แต่ก่อน Aeon ก็เหมือนห้างอื่น ๆ ที่ใช้ภาชนะและบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งกับสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน เช่น อาหาร ผงซักฟอก และแชมพู ซึ่งสร้างขยะมหาศาล แต่ด้วยความร่วมมือกับ Loop พวกเขาจะหันมาใช้ภาชนะหมุนเวียนที่สามารถใช้งานได้หลายครั้ง เช่น …
พ-Plastic
การปนเปื้อนของขยะพลาสติกกระจายไปทั่วโลก ล่าสุดตรวจพบมลพิษนาโนพลาสติกบริเวณขั้วโลกเหนือในมหาสมุทรอาร์กติก และขั้วโลกใต้ที่มหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งถือเป็นการพบครั้งแรก นั่นเท่ากับว่าขณะนี้อนุภาคขนาดเล็กของพลาสติกได้แพร่กระจายไปทั่วโลกแล้ว ที่น่าประหลาดใจก็คือไม่ใช่การพบบนพื้นน้ำแข็งธรรมดาอย่างที่เคยพบมาก่อนในอาร์กติก แต่ทีมนักวิจัยได้พัฒนาวิธีการตรวจหาแบบใหม่เพื่อวิเคราะห์อนุภาคนาโนที่มีขนาดเล็กกว่าด้วยการการเจาะแกนน้ำแข็งของกรีนแลนด์ลงไปที่ความลึก 14 เมตร ซึ่งเป็นชั้นหิมะตั้งแต่ปี 1965 หรือเมื่อ 57 ปีที่แล้ว โดยหนึ่งในสี่ของอนุภาคที่พบมาจากยางรถยนต์ ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์พบมลพิษพลาสติกตั้งแต่ยอดเขาเอเวอเรสต์ไปและผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ก็พบว่าอนุภาคเหล่านี้สร้างความเสียหายให้กับเซลล์ของมนุษย์ Dušan Materić แห่งมหาวิทยาลัย Utrecht ในเนเธอร์แลนด์ …
งานวิจัยที่นำโดย Jan Zrimec แห่งสถาบันชีววิทยาแห่งชาติ ในกรุงลูบลิยานา ประเทศสโลวีเนียพบว่า จุลินทรีย์ในมหาสมุทรและดินทั่วโลกกำลังวิวัฒนาการตัวเองเพื่อกินพลาสติก การวิจัยได้สแกนยีนมากกว่า 200 ล้านยีนที่พบในตัวอย่างดีเอ็นเอที่นำมาจากสิ่งแวดล้อม และพบว่ามีเอ็นไซม์ต่าง ๆ 30,000 ชนิด ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ 10 ชนิด นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เกือบ 60% ของเอ็นไซม์ใหม่ไม่เข้ากับอันดับของเอ็นไซม์ที่รู้จักกันมาก่อน บ่งชี้ว่าโมเลกุลเหล่านี้ทำการย่อยสลายพลาสติกในลักษณะที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน …
ไทยแลนด์น่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหารหลากหลาย (หรือใช้เปลือง) มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะถุงใส่น้ำจิ้มต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับอาหารหลัก เพราะอาหารไทยมักพ่วงมาด้วยน้ำจิ้ม และน้ำยำ ผลก็คือเรามีขยะจากถุงน้ำจิ้มเต็มไปหมด ในขณะที่เรายังแก้ปัญหาถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ๆ ยังไม่สำเร็จ เราควรแก้ปัญหาถุงพลาสติกขนาดเล็กไปพลางก่อน อย่างเช่นบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำจิ้มหรือถุงเครื่องปรุงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ หนึ่งในผู้ริเริ่มผลิตภัณฑ์ตัวนี้อยู่ที่ลอนดอน คือ บริษัท Notpla เป็นสตาร์ทอัพที่สร้างบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนจากสาหร่ายและพืช ผลิตภัณฑ์เด่นของพวกเขาคือ Ooho เป็นซองบรรจุภัณฑ์แบบยืดหยุ่นที่เหมาะสำหรับเครื่องดื่ม …
ขึ้นปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ฝรั่งเศสเริ่มสิ่งใหม่ ๆ เพื่อโลกทันที เมื่อกฎหมายฉบับใหม่ห้ามใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในผักและผลไม้หรือการใช้พลาสติกแรปห่อมีผลบังคับใช้แล้ว คำสั่งแบนนี้มีผลครอบคลุมผัก และผลไม้ 30 ชนิดที่ห้ามไม่ให้ห่อด้วยพลาสติก รวมถึงแตงกวา กีวี มะนาว และส้ม ซึ่งมักใช้พลาสติกบางห่อหรือแรปเอาไว้เป็นลูก ๆ เวลานำไปวางจำหน่าย (plastic wrap เป็นฟิล์มพลาสติกบางใสใช้ห่อหุ้มอาหารช่วยคงความสดให้นานขึ้น) …
จากการศึกษาใหม่จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งหนานจิง ได้ตรวจสอบตัวอย่างอุจจาระจากผู้ป่วยโรคลำไส้ประเภทหนึ่ง 52 คน และคนที่ไม่มีอาการ 50 คน จากภูมิภาคต่าง ๆ ของจีน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคลำไส้มีอนุภาคไมโครพลาสติกต่อกรัมมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการใด ๆ ถึง 1 เท่าครึ่ง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งหนานจิง (Nanjing University in Science) ของจีนได้ค้นพบสิ่งที่น่าตกใจโดยพบว่า …
วันนี้ การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไปพร้อม ๆ กับการปรับตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมของเราทุกคนให้สอดคล้องวิถีความปกติใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะด้านสุขอนามัย และความปลอดภัยในการใช้ชีวิตที่จะต้องให้ความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งได้ส่งผลให้มีการใช้พลาสติกมากขึ้น และกลายเป็นการเพิ่มเติมปัญหาสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วงอยู่แล้วให้มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วย ปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกนับเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ต่อสิ่งแวดล้อมของโลกมาตั้งแต่ก่อนมีการระบาดของโคโรนาไวรัส และยิ่งเติบโตขึ้นอย่างน่าตกใจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้จำเป็นต้องได้รับแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยการลดละเลิกการใช้พลาสติกโดยเฉพาะแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง รวมทั้งมีการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง การรวบรวมพลาสติกนำกลับไปใช้ประโยชน์ หรือรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อลดการใช้ทรัพยากร …
ขยะพลาสติกที่เป็นส่วนหนึ่งของมลพิษที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เพราะพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายนาน 450-500 ปี ฉะนั้นทางเลือกก็คือต้องเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเพื่อให้มันสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพเหมือนขยะอินทรีย์ทั่วไป จะได้ช่วยกันลดสาเหตุ ‘ภาวะโลกร้อน’ ที่กำลังเป็นภัยคุกคามมวลมนุษยชาติอยู่ในเวลานี้ “ราคาของพลาสติกชีวภาพในไทยมีราคาสูงกว่าพลาสติกทั่วไป 2-3 เท่าหรือมากกว่า ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงได้ จึงใช้วิธีการผสมสาร OXO กับพลาสติกธรรมดาทั่วไปซึ่งย่อยสลายไม่ได้กลายเป็น Oxo-degradable หรือ Oxo-biodegradable (อาจใช้คำเรียกที่แตกต่างไปจากนี้ อาทิ Environmentally Degradable …
รัฐเซาท์ออสเตรเลียเป็นรัฐแรกในออสเตรเลียที่เริ่มบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) หลังจากร่างกฎหมาย The Single-use and Other Plastic Products (Waste Avoidance) Bill 2020 เข้าสภาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 และผ่านออกมาเป็นกฎหมายในเดือนกันยายนปีเดียวกัน จากนั้นก็มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม …
จากห้องแล็บสู่การใช้งานจริง สวทช.ร่วมมือเอกชนผลิตถุงพลาสติกย่อยสายได้แจกในงาน ‘กาชาดสีเขียว 2562’ ที่สวนลุมพินี ระหว่างวันที่ 15-24 พ.ย.นี้ เป็นถุงพลาสติกสลายตัวได้สำหรับขยะอินทรีย์ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ผลิตขึ้นโดยนักวิจัยไทยและภาคเอกชน