‘ศึกชิงนาง’ ผึ้ง Diadasia ภาพประกวดรางวัลชนะเลิศ The Wildlife Photographer 2022

ประกาศผู้ชนะ The Wildlife Photographer ประจำปี 2022 โดยภาพชนะเลิศในปีนี้เป็นของ Karine Aigner นักถ่ายภาพชาวอเมริกัน ที่ได้บันทึกภาพกลุ่มผึ้งตัวผู้สายพันธุ์ Diadasia ที่แข่งขันกันเพื่อผสมพันธุ์กับตัวเมีย ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอมเริกา

ผึ้งสายพันธุ์ Diadasia นั้นจะแตกต่างจากผึ้งทั่วไปที่พบเจอ พวกมันแยกกันอยู่และทำรังบนพื้นดิน เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ก็จะบินออกมาหาตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์

Image © Karine Aigner

Dr. Joseph Monks ภัณฑารักษ์แมลงกลุ่ม Hymenoptera ประจำ Natural History Museum ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร อธิบายเพิ่มเติมว่าผึ้งสายพันธุ์จะมีอคติด้วยกันเองในตัวผู้ เนื่องจากตัวผู้มีมากกว่าตัวเมียหลายเท่าตัว การแข่งขันเพื่อผสมพันธุ์จึงค่อนข้างรุนแรง

“นี่คือเหตุผลที่พวกมันสร้างลูกบอลสืบพันธุ์ เพราะพวกมันกำลังต่อสู้เพื่อเข้าถึงตัวเมียที่เพิ่งโผล่ใหม่” Dr. Joseph กล่าว

Dr. Doug Gurr ผู้อำนวยการ Natural History Museum กล่าวว่า “ช่างภาพสัตว์ป่าทำให้เราได้เห็นชีวิตสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ที่ยากจะลืมเลือน แบ่งปันสิ่งที่เรามองไม่เห็น และพฤติกรรมน่าสนใจ เปรียบเหมือนรายงานด่านหน้าของวิกฤตสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ที่แสดงให้เห็นถึงความน่าเกรงขาม และคุณค่าที่ไม่สามารถประเมินได้ของธรรมชาติ รวมถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการเพื่อปกป้องโลก”

Winners of Wildlife Photographer of the Year 2022

The Wildlife Photographer ก่อตั้งขึ้นในปี 2508 เป็นการประกวดภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดีที่สุดประจำปีระดับนานาชาติ ปีนี้ถือเป็นการประกวดประจำปีครั้งที่ 58 มีผู้เข้าประกวดมากกว่า 38,500 ราย จากทั้งหมด 93 ประเทศ ซึ่งการประกวดนี้เปรียบเสมือนรายงานด่านหน้าของรายงานวิกฤติสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวีภาพ โดยภาพที่เข้าประกวดจะได้รับคัดเลือกไปจัดแสดงใน Natural History Museum ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม เป็นต้นไป

อ้างอิง:
“Wildlife Photographer of the Year: The small world of bees wins big.” National History Museum
“Wildlife Photographer of the Year:2022 The wining images.” Positive News

Related posts

ผืนป่าแก่งกระจาน ไม่ควรสัมปทานเหมืองแร่ เสี่ยงกระทบแหล่งมรดกโลก

‘ไม่ได้รับใบสั่ง ไม่เอื้อประโยชน์’ ใครอยากให้เอกชนเช่าอุทยาน?

สวีเดนล่า ‘หมีสีน้ำตาล’ ออกใบอนุญาตฆ่า 486 ใบ NGO ค้านหวั่นสูญพันธุ์