วิกฤตไฟป่าออสเตรเลีย
ทำลายชั้นโอโซนรุนแรง
ใช้เวลาฟื้นตัวร่วมทศวรรษ

by IGreen Editor

ผลพวงจากวิกฤตไฟป่าในออสเตรเลียที่รุนแรงและเกิดถี่ขึ้นส่งผลให้ชั้นโอโซนฟื้นตัวช้าลง มีส่วนทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตช่วงคลื่นความถี่ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตส่องผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้โดยตรง ซึ่งกระทบต่อต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชและอันตรายต่อสัตว์และมนุษย์

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Proceedings of the National Academy Of Sciences ชี้ว่า ความถี่ของไฟป่าที่เพิ่มสูงขึ้นจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศอาจทำให้การฟื้นตัวของชั้นโอโซนช้าลง

งานวิจัยใหม่พบว่า ควันที่พุ่งสู่ชั้นบรรยากาศจากไฟป่าในออสเตรเลียปี 2019-2020 ส่งผลให้สูญเสียชั้นโอโซนประมาณ 1% ซึ่งเป็นปริมาณที่โดยทั่วไปจะใช้เวลาหนึ่งทศวรรษในการฟื้นตัว โดยนักวิจัยระบุว่าการลดลงเกิดขึ้นระหว่างเดือน มี.ค.ถึง ส.ค. 2020

โอโซนอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกที่ระดับความสูงราว 20-40 กิโลเมตรเหนือพื้นดินขึ้นไปหรือชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ซึ่งจะทำหน้าที่กรองรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์มากถึงร้อยละ 99 โดยเฉพาะอย่างยิ่งรังสียูวีบี (UV-B) ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง โรคต้อกระจก และโรคทางภูมิคุ้มกันต่าง ๆ

รวมทั้งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น แพลงก์ตอนและสาหร่ายเกิดการกลายพันธุ์ ส่งผลกระทบต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชชนิดอื่น ๆ เช่นเดียวกับภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับระบบการทำงานและร่างกายของสัตว์และมนุษย์

สำหรับควันจากไฟป่าปี 2019–2020 พุ่งขึ้นไปในชั้นสตราโตสเฟียร์เป็นระยะทางหลายกิโลเมตรและได้เคลื่อนที่ไปรอบโลกซึ่งส่งผลให้การฟื้นตัวของชั้นโอโซนช้าลง

SYDNEY, AUSTRALIA. DECEMBER 10 2019. Yellow toxic bushfire smoke and Sydney harbour bridge.

สภาพชั้นโอโซนค่อย ๆ ฟื้นตัว ตั้งแต่เมื่อปี 1996 ที่มีการสั่งห้ามใช้สารเคมีจำพวกคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFC) ซึ่งมักใช้เป็นสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศและใช้ในการผลิตสเปรย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวการทำลายชั้นโอโซนให้บางลง

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่า ช่องโหว่โอโซนเหนือทวีปแอนตาร์ติกแคบลงราว 1-3% ต่อทศวรรษตั้งแต่ปี 2000 มีการพบช่องโห่วชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์ติกที่เล็กที่สุดเมื่อปี 2019 แต่ WMO บอกว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยถึงปี 2050 กว่ามันจะปิดตัวลงอย่างสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม รายงานของ World Wide Fund for Nature-Australia และนักวิจัยจาก University of Sydney ประมาณการว่าไฟป่าในปี 2019-2020 นั้นสร้างความเสียหายให้กับภาคเกษตรของออสเตรเลีย 4,000-5,000 ล้านดอลลาร์ กระทบต่อเกษตรกรและภาคอาหารครั้งใหญ่

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ฉบับใหม่เปิดตัวรายงานฉบับใหม่ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินคาดว่าจะทำให้เกิดไฟป่าบ่อยและรุนแรงขึ้น โดยไฟที่รุนแรงทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 14% ภายในปี 2030 และ 30% ภายในสิ้นปี 2050 และ 50% ภายในสิ้นศตวรรษนี้

ล่าสุดไฟป่าในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียที่เกิดขึ้นเดือน ก.พ. ได้ทำลายพื้นที่ไป 60,000 เฮกตาร์ หรือเทียบเท่ากับสนามรักบี้นานาชาติ 60,000 แห่ง ซึ่งเป็นผลพวงของลานีญา แน่นอว่านอกจากระทบต่อมนุษย์แล้วยังกระทบต่อที่อยู่อาศัยของสัตวืป่าอีกด้วย เช่น โคอาล่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในหลายรัฐ

อ้างอิง :
Donna Lu (Feb 28, 2022) “Smoke from Black Summer bushfires depleted ozone layer, study finds” . Guardian
https://ngthai.com/science/27823/ozone-depletion/ . ngthai
(Feb 23, 2022) “Wildfires projected to grow by 50 percent, but governments are ill-prepared” . The University of Sydney
(Dec 13, 2021) “Black Summer bushfire season cost farmers up to $5 billion” . The University of Sydney
(Apr 30, 2020) https://www.bbc.com/thai/international-52480755

Copyright @2021 – All Right Reserved.