นักวิจัยบราซิลพบ ‘หินพลาสติก’ ที่เกาะ Trindade แหล่งวางไข่เต่าตนุ สัญญาณเตือนผลกระทบขยะพลาสติกธรณีวิทยาโลก
หินพลาสติกที่พบมีชื่อทางธรณีวิทยาว่า “พลาสติกโลเมอเรต” คือหินที่เกิดจากการผสมกันของตะกอนและเศษซาก ธรรมชาติอื่นๆ เช่น เปลือกหอย ไม้ ซึ่งจับตัวกันด้วยพลาสติก พบครั้งแรกในปี 2018 ที่ชายหาดของเปรู
เฟอร์นันดา ซานโตส นักธรณีวิทยาจาก Federal University of Parana ระบุ “มลพิษ ขยะในทะเล และพลาสติกที่ถูกทิ้งอย่างไม่ถูกต้องในมหาสมุทรกำลังกลายเป็นวัสดุทางธรณีวิทยา…ที่เก็บบันทึกทางธรณีวิทยาของโลก”
เกาะ Trindade เป็นหนึ่งในจุดอนุรักษ์เต่าตนุ ที่สำคัญที่สุดในโลก โดยมีเต่าตนุหลายพันตัวว่ายมาวางไข่ทุกปี เกาะนี้ไม่มีผู้คนอาศัยมีเพียงทหราเรือบราซิลเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในเกาะดังกล่าวเพื่อปกป้องและดูแลเต่าที่ทำรัง แต่กลับมีปริมาณขยะพลาสติกมาก
“ระบุได้ว่า (มลพิษ) ส่วนใหญ่มาจากอวนจับปลา ซึ่งเป็นเศษขยะทั่วไปบนชายหาดของเกาะ Trinidade” เฟอร์นันดา กล่าว “อวนถูกกระแสน้ำพัดมาเกยตื้นบนชายหาด และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น พลาสติกนี้จะละลายและฝังตัวอยู่กับวัสดุธรรมชาติของชายหาด”
จากการศึกษาประเมินล่าสุดโดยสถาบัน 5 Gyres ระบุว่าพลาสติกมากกว่า 170 ล้านล้านชิ้นล่องลอยอยู่ในมหาสมุทรโลก และมีพลาสติกเฉลี่ย 8 ล้านชิ้นถูกพัดลงมหาสมุทรโลกในแต่ละวัน
อ้างอิง
March 16, 2023. Brazilian researchers find ‘terrifying’ plastic rocks on remote island. CNN
March 19, 2023. Scientists sound the alarm as plastic waste forms rocks off coast of Brazil: ‘New and terrifying’. Independent