ตัวอ่อนแมลงวันลายที่อุดมด้วยโปรตีนจะถูกนำไปตากแห้งและแปรรูปเป็นอาหาร ปลา ไก่ และหมู และขายในราคากิโลกรัมละ 70 รูปีเนปาล หรือประมาณ 18 บาท
ฟาร์มแมลงวันลายแห่งนี้ตั้งอยู่ในบาร์เดฟ หมู่บ้านเล็กๆ ที่มีประชากรเพียง 2,500 คน ห่างจากกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาลประมาณ 30 กิโลเมตร โดยเงินทุนสนับสนุนจากธนาคารสตรี ประเทศฟินแลนด์ที่ต้องการสร้างอาชีพให้กับผู้หญิงในเนปาล
แมลงวันลาย (Black Solider Fly) พบได้ทั่วไปในสภาพภูมิอากาศเขตร้อน มีลักษณะคล้ายตัวต่อ มีการศึกษาพบว่าในระยะดักแด้ของแมลงวันลายมีโปรตีนสูงถึง 42% ไขมัน 35% และกรดอะมิโน
ไข่แมลงวันลายที่อุดมด้วยโปรตีนจะถูกนำไปตากแห้งและแปรรูปเป็นอาหาร ปลา ไก่ และหมู และขายในราคากิโลกรัมละ 70 รูปีเนปาล หรือประมาณ 18 บาท
เนปาลเป็นหนึ่งในสิบประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก โดยกลุ่มว่างงานและขาดแหล่งได้มากที่สุดคือกลุ่มผู้หญิง ดังนั้นเงินที่ได้จากการแปรรูปตัวอ่อนของแมลงวันจึงถือเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่งของผู้หญิงในหมู่บ้าน
อาหารสัตว์จากตัวอ่อนแมลงวันถือเป็นตัวเลือกใหม่ที่ไม่ก่อมลพิษ เนื่องจากในกลุ่มอาหารสัตว์เดิมนิยมใช้ข้าวโพด ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในต้นเหตุมลพิษอากาศของหลายประเทศ
ในขณะเดียวกันแอฟริกาตะวันตกมีการเพาะเลี้ยงแมลงวันลายเพื่อช่วยจัดการขยะเศษอาหาร โดยเฉพาะในตลาดผักและผลไม้
ที่มา
Aug 23, 2023. Fly larvae breeds success for women in Nepal village. Reuters
Feb, 2022. Black Soldier Fly addresses biowaste and mitigates climate change. Norad