ปักกิ่งยกระดับเตือนภัยอากาศร้อน หลังอุณหภูมิวันที่ 22 มิ.ย. 2566 สูงถึง 41.1องศาเซลเซียส ทำลายสถิติวันที่ร้อนที่สุดของเดือนมิถุนายน
ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าสถิติอุณหภูมิสูงสุดประจำเดือนมิถุนายนที่ 40.6 องศา ตามที่ได้บันทึกไว้เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2504 และเป็นรองเพียงสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดของกรุงปักกิ่งที่ตรววัดได้ 41.9 องศาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2542
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของจีนระบุเพิ่มเติมว่าในอีก 8-10 วันข้างหน้า พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีก
Malavika Bambawale กรรมการผู้จัดการบริษัทพลังงานหมุนเวียน Engie Impact ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวกับ Reuters ถึงความกังวลว่าคลื่นความร้อนอาจเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรอุบาทว์ มนุษย์ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยน และเมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยน ความต้องการใช้พลังงานก็จะมากขึ้น สุดท้ายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น
จริงอยู่ที่คลื่นความร้อนไม่ได้เกิดขึ้นที่จีนประเทศเดียว แต่ในปี 2021 จีนมีสัดส่วนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลและอุตสาหกรรมมากสุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกที่ 11.47 พันล้านตัน เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 8.05 ตัน
ถึงแม้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนจะพยายามแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเกินครึ่งหนึ่งของพลังงานผสม โดยเก็บโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติไว้เพื่อรองรับความต้องการและการบริโภคที่พุ่งสูงขึ้นอย่างฉับพลัน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังเพิ่มบททดสอบใหญ่ให้กับจีนและเอเชียในการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซค่าร์บอนไดออกไซด์ที่ตั้งไว้
ที่มา
- Jun 23, 2023. Beijing steps up hot weather alert to highest level. Reuters
- Jun 23, 2023. Analysis: Asia heatwaves put its renewable power fleet to the test. Reuters
- Jun 23, 2023. Beijing records hottest June day in 60 years as heatwaves continue across China. ABC News
- Apr 14, 2023. Carbon dioxide emissions continue to rise worldwide. Graphics show which countries release the most. USA Today
- Energy mix. ourworldindata