ข้อตกลงประวัติศาสตร์ COP29 เดินหน้าซื้อขายคาร์บอนเครดิตระดับโลก

cr.ภาพ: cop29 azerbaijan

COP29 เปิดตัวตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลก การบรรลุข้อตกลงประวัติศาสตร์เพราะเป็นการเปิดตลาดคาร์บอนอย่างเป็นทางการของโลก ซึ่งตลาด 2 ประเภท

การเจรจาในเวที COP29 ที่เพิ่งผ่านไปได้บรรลุข้อตกลงระบบการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระดับโลก เพื่อเป็นอีกเครื่องมือในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการเปิดทางให้ประเทศต่างๆ หรือบริษัทที่ปล่อยคาร์บอนปริมาณสูงสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ขายได้

 

จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ซ้าย) ร่วมประชุม COP29

 

ทั้งนี้ คาร์บอนเครดิตเป็นส่วนหนึ่งในมาตรา 6 ของข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในปี 2015 ที่มุ่งหวังให้มีการซื้อขายคาร์บอนข้ามพรมแดนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งตามข้อตกลงปารีสกำหนดการขายไว้ 2 ประเภท

นั่นคือ ตลาดตามมาตรา 6.2 ที่กำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศ (Cooperative approaches) ให้มีการซื้อขายทวิภาคีที่สามารถทำข้อตกลงตรงระหว่างสองประเทศได้ และมีระบบการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ (ITMOs)

และตลาดตามมาตรา 6.4 กลไกพหุภาคี (Multilateral mechanism) จะมีการจัดตั้งตลาดคาร์บอนระดับโลกที่มีการสนับสนุนจาก UN ในการขายและการลดการปล่อยคาร์บอนซึ่งมี UNFCCC ทำหน้าที่กำกับดูแล

การซื้อขายคาร์บอนเครดิตตามข้อตกลงปารีสเอื้อให้การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดหรือ Nationally Determined Contributions (NDCs) ของประเทศนั้นๆ เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ โดยกฎใหม่จะเปิดทางให้ประเทศที่ปล่อยก๊าซมากสามารถซื้อเครดิตชดเชยคาร์บอนจากประเทศกำลังพัฒนาได้นั่นเอง ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินการตาม NDCs ได้ 250 พันล้านดอลลาร์ต่อปี

ข้อมูลจาก Statista ระบุสถิติการปล่อย CO2 หนึ่งในจำนวนก๊าซเรือนกระจก ฃในช่วงปี 2023 (หน่วยล้านเมตริกตัน) ดังนี้
จีน 11.9 ล้านเมตริกตัน, สหรัฐฯ 4.9 ล้านเมตริกตัน, อินเดีย 3 ล้านเมตริกตัน, รัสเซีย 1.8 ล้านเมตริกตัน, ญี่ปุ่น 0.98 ล้านเมตริกตัน, อิหร่าน 0.8 ล้านเมตริกตัน
ซาอุดีอาระเบีย 0.73 ล้านเมตริกตัน, อินโดนีเซีย 0.73 ล้านเมตริกตัน, เยอรมนี 0.59 ล้านเมตริกตัน, เกาหลีใต้ 0.57 ล้านเมตริกตัน

อย่างไรก็ตาม รายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตของผู้ขายโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาสามารถนำไปลงทุนในโครงการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น พลังงานทดแทน การปลูกป่า และการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงาน

อ้างอิง :
Article 6 – Cooperative Implementation, UNFCCC

The Guardian, CZR, Business Standard, Statista.

Related posts

ถ้าเจรจา ‘สนธิสัญญาพลาสติก’ สะดุด ขยะพลาสติกจะทะลักภายใน 10 ปี

ปิดฉาก COP29 ไม่ราบรื่น ประเทศร่ำรวยช่วยโลกร้อนแค่ 3 แสนล้าน

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%