ด้วยยุคแห่งเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่ช่วยให้เราใช้ชีวิตได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสร้างประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม ประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมจำนวนมากและหลากหลาย มีปริมาณชีวมวลที่สามารถนำกลับสร้างคุณค่าด้วยการทำพลังงานได้อีกมาก โดยไม่จำเป็นต้องเผาเพื่อสร้างมลพิษอีกต่อไป สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย จึงได้นำเสนอแพลตฟอร์มในการคำนวณปริมาณชีวมวลของแต่ละพื้นที่ โดยใช้แพลตฟอร์มของ Eco-farmdd ที่คำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ ง่ายต่อการใช้งานเหมาะสมกับประชาชนทั่วไป ข้อมูลที่ได้นั้นจะสามารถช่วยให้ทราบปริมาณชีวมวลทั้งพื้นที่พืชเชิงเดี่ยว เช่น นาข้าว อ้อย ตลอดจนชีวมวลของไม้ยืนต้นได้อีกด้วย …
Admin
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังกับกรุงเทพมหานคร มูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมเครื่องยนต์ต้นกำลังพลังชีวมวลเพื่อนำมาใช้เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
เทคโนโลยีจะเป็นหนึ่งในเครื่องที่จะช่วยให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ได้ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Internet of Things (IoT) และบล็อกเชน ซึ่งจะเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับบริษัทต่างๆ นำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ ระบบ และแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนได้มากขึ้น โซลูชันที่จะขับเคลื่อน Green Transition …
“ลานีญา” มาแน่ วันแม่เดือน ส.ค. นี้ โดยจะลากยาวไป 6 เดือน โดยช่วง ก.ย.-ต.ค. จะเกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมภาคกลาง อีสาน ตะวันออก คล้ายกับเหตุการณ์นำท่วมในปี 2565 ที่พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 3 ล้านไร่ เกษตรกรเดือดร้อนประมาณ 10 ล้านคน มูลค่าความเสียหายรวม …
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนกำลังตกเป็นเป้าการโจมตีของคลื่นความร้อนอย่างรุนแรง บางพื้นที่กำลังสำลักมลพิษอากาศจากฝุ่น PM2.5 อยู่แล้ว ทำให้สถานการณ์ที่เลวร้ายอยู่เดิมยิ่งมีอันตรายมากขึ้นถึงชีวิต
องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ของโลกกำลังเริ่มขึ้นแล้ว นับเป็นครั้งที่ 4 ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ปรากฎการณ์นี้จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล รวมถึงผู้คนและเศรษฐกิจที่พึ่งพาแนวปะการัง ปัจจัยกระตุ้นปรากฎการณ์นี้หนีไม่พ้น ‘สภาวะโลกเดือด’
ไข่เต่ามะเฟือง จำนวน 120 ฟอง หลังจากแม่เต่าขึ้นมาวางไข่ไว้ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์ ณ บริเวณหาดไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ไม่ได้รับการผสมทำให้ไม่มีลูกเต่าเกิดแม้แต่ตัวเดียว อาจารย์บอกว่า สาเหตุมาจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น
คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนพบว่าพฤติกรรม ‘การกะพริบตา’ ซึ่งมีสมมติฐานว่าเป็นการส่งสัญญาณประเภทหนึ่งที่มักพบได้ในสัตว์กลุ่มไพรเมต (primate) เช่นมนุษย์และลิง ยังสามารถพบได้ในกบตัวเมียซึ่งเป็นสัตว์นอกตระกูลไพรเมต