แนวโน้มเศรษฐกิจและพลังงานในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2019 อย่างน้อยจะสูงเท่ากับปี 2018 คาดว่า GDP โลกจะเติบโต 3.2% ในปี 2019 และแม้ว่าเศรษฐกิจโลกลดการปล่อยก๊าซลงในอัตราเดียวกับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการปล่อยก๊าซทั่วโลกก็ยังจะเพิ่มขึ้นอยู่ดี
IGreen Editor
การจัดการที่ดินที่ดีขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ แต่ไม่ใช่ทางออกเดียว เพราะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทุกภาคส่วนมีความสำคัญ หากต้องการรักษาภาวะโลกร้อนไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส
ที่ประชุม Climate Action Summit ล่าสุดได้มีการรวบรวมข้อมูลจากรายงานหลาย ๆ ชิ้น โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานะของสภาพภูมิอากาศ และการแสดงแนวโน้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกหลัก ๆ ในชั้นบรรยากาศ แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น และยังชี้แนวทางในการบรรเทาสถานการณ์ด้วย
ข้อมูลใหม่จากนักวิจัยระดับโลกเผยให้เห็นว่ากลุ่มบริษัทของรัฐและบรรษัทข้ามชาติเป็นตัวการสร้างสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คุกคามอนาคตของมนุษยชาติ เดอะ การ์เดียน สื่อของอังกฤษ เปิดเผย 20 บริษัทผลิตเชื้อเพลิงที่มีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดของโลก โดยพวกเขายังมีการขยายการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง แม้จะตระหนักดีถึงผลกระทบที่ร้ายแรงต่อโลกอย่างไร
ร้อยละ 80 ของขยะทะเลมีต้นทางมาจากบนบก หากเปรียบเส้นทางขยะบกสู่ทะเล คงเทียบได้กับการจัดการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ที่ต้นทางมาจากครัวเรือนและคนไทยทุกคน ระหว่างทางคือการบริหารจัดการขยะทั้งกระบวนการจัดเก็บ และการทำลายโดยองค์กรท้องถิ่น ส่วนปลายทางคือแม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งเป็นเสมือนสายพานลำเลียงขยะที่เล็ดลอดออกมาจากระหว่างทางลงสู่ทะเลและมหาสมุทร
กลุ่มนักอนุรักษ์วางแผนระดมทุนซื้อสวนป่าซีคัวยา (Sequoia) ซึ่งเป็นต้นไม่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท บนที่ดินเอกชนเพื่อปกป้องระบบนิเวศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซีคัวยาพืชตระกูลสนสายพันธุ์เรดวู้ด (Redwood) ซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคจูราสสิคจากการค้นพบฟอสซิลที่มีอายุมากกว่า 200 ล้านปี
นับเป็นปรากฎการณ์ครั้งสำคัญในระดับภูมิภาคด้านการศึกษาวิจัยผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลจาก “ไมโครพลาสติก” ที่มีต้นกำเนิดจากขยะพลาสติกบนบกที่ไหลลงสู่ทะเล กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม นั่นเป็นที่มาของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่น – ไทย โดยมีองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ ไจก้า ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำอีก 7 แห่งของญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมให้การสนับสนุนการทำวิจัย
หน้าที่ของนักวิจัยนกบนเทือกเขาบูโดคือขึ้นภูเขาไปเก็บข้อมูล ซ่อมแซมโพรงรัง สร้างโพรงเทียม ถ่ายภาพ ซึ่งมีโครงการที่ดำเนินการอยู่ อาทิ โครงการปรับปรุงรังนก โครงการสร้างโพรงเทียมสำหรับนกเงือก ฯลฯ เป็นการทำงานร่วมกับชาวบ้านในฐานะผู้ช่วยวิจัย นี่คืองานประจำของ ปรีดา เทียนส่งรัศมี นักวิจัยโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือที่นักอนุรักษ์และผู้สนใจเรื่องการอนุรักษ์นกมักเรียกเขาในนาม “ปรีดา บูโด”
ขยะพลาสติกกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจนทำให้ทั่วโลกต่างหาแนวทางแก้ไข รวมถึงประเทศไทยที่สร้างขยะพลาสติกกว่าถึงปีละ 2 ล้านตัน ส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องหันมาร่วมมือ เพื่อบูรณาการมาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดการลด และเลิกการใช้พลาสติกในระยะยาว
“ร้านเราตั้งใจลดการใช้พลาสกติกให้มากที่สุด” คำบอกว่าเล่าของ เกสรี วัฒนา เจ้าของร้านบ้านสวนสอยดาว ณ ตลาดน้ำ อ.ต.ก. (Ortorkor Floating Market) หนึ่งใน 200 ร้านที่หมุนเวียนกันมาเปิด ณ แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ตลาดน้ำ อ.ต.ก.สินค้าเกษตรกรไทย ใจกลางกรุง”