แน่นอนว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กลายเป็นวิกฤตโลกจนสร้างผลกระทบกับให้กับทุกระบบ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสุขอนามัย แต่นัยหนึ่งยังมีสิ่งดีๆ ให้กับโลก คือการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ในด้านของการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา การเดินทางทั้งในประเทศและต่างประเทศหยุดลง ทำให้เกิดการฟื้นตัวของสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศกลับคืนมาในหลายๆ พื้นที่
IGreen Editor
อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักวิชาการด้านชายฝั่งทะเลที่เกาะติดเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนานและอยู่ในคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ยืนยันว่าเขาไม่เห็นด้วยกับกำแพงกันคลื่น โดยมี “เหตุผล 10 ประการของคนไม่เอากำแพงกันคลื่น” สนับสนุน ดังนี้
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดต่างๆ มีปัญหาต่อเนื่องมาเป็นระยะๆ ล่าสุดพบว่าการก่อสร้างเขื่อนกันตลิ่งที่หาดมหาราช อ.สทิงพระ จ.สงขลา เฟสที่ 1 ความยาว 92 เมตร วงเงิน 18.6 ล้านบาท เริ่มโครงการวันที่ 29 มี.ค. 2559 ถึงวันที่ 22 พ.ค. 2560 …
ผมได้ยินถึงความงามของแม่น้ำโขงครั้งแรกเมื่อนานมาแล้วก่อนที่จะย้ายมาอยู่เอเชีย ชาวอเมริกันและชาวไทยต่างให้ความเคารพแม่น้ำในประเทศของเราเหมือนกัน ผมเติบโตขึ้นใกล้กับแม่น้ำมิสซิสซิปปี ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในขนบประเพณีของอเมริกา และเป็นเส้นชีวิตทางเศรษฐกิจตลอดประวัติศาสตร์ของเรา ในภาษาของชนพื้นเมืองอเมริกันที่ตั้งชื่อแม่น้ำสายนี้ “มิสซิสซิปปี” หมายถึง “บิดาแห่งสายน้ำ” ส่วนคำว่า “แม่น้ำ” ในภาษาไทย หมายถึง “มารดาแห่งสายน้ำ” อันสะท้อนถึงสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเราทั้งสอง
หนึ่งในสามของโลกอยู่ภายใต้การล็อคดาวน์ การจราจรทางอากาศลดลง โรงงานต้องหยุดเดินเครื่องจักร และชีวิตของมนุษย์จำนวนหนึ่งก็ต้องกักตัวอยู่บ้านชั่วคราว เหตุผลเหล่านี้เองทำให้คุณภาพอากาศเมืองใหญ่ของโลกดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่ามลพิษทางอากาศในแต่ละเมืองลดลงอย่างมาก ไนโตรเจนไดออกไซด์ในกรุงปารีสลดลง 54% รวมไปถึงในมาดริด มิลาน และโรมที่ลดลงเกือบ 50%
ประเด็นการเข้าตรวจสอบพื้นที่ของชุดพยัคฆ์ไพร กรมป่าไม้ และมีการแจ้งความดำเนินคดี แกอวย จามรจารุเดช ชาวบ้าน ม.7 ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2563 ทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นในมุมมองที่แตกต่างกันและเข้าใจว่า “ชุดพยัคฆ์ไพร” จากกรมป่าไม้จงใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อรังแกชาวกะเหรี่ยงที่ทำกินอยู่บนดอย
การดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการช่วยกันแก้ไขปัญหามลภาวะเป็นพิษและลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาขยะพลาสติกที่หลายคนทราบดีว่า ปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุมาจากวิธีการจัดการคัดแยกพลาสติกหลังการใช้ที่ไม่ถูกต้อง จึงทำให้ขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหาระดับโลก โดยในวันนี้ของทุกๆ ปี ถือเป็นวันสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือที่รู้กันว่า “วันคุ้มครองโลก” หรือ Earth Day ซึ่งประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (United Nations Environment Program หรือ “UNEP”) เมื่อวันที่ 22 …
ข้อมูลที่ชุดพยัคฆ์ไพร กรมป่าไม้ แจ้งดำเนินคดีกับ แกอวย จามรจารุเดช บ้านเลขที่ 65 ชาวบ้านแม่สอ ม.7 ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์จากการเผาไร่หมุนเวียนมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
• เป็นเวลากว่า 13,000 ปีแล้วที่ชนพื้นเมืองอเมริกันเผ่าต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาเรียนรู้และตกผลึกการเผาป่าแบบตั้งใจ เผาในพื้นที่ที่ควบคุมในขนาดย่อมๆ เพื่อฟื้นฟูผืนป่าให้กลับมามีชีวิตหลังฤดูกาลแห้งแล้ง สำหรับชนเผ่าในป่าและภูเขา ป่าคือคลังอาหาร คลังยา เป็นวิถีชีวิตของพวกเขาที่สืบทอดมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย
จีนกักน้ำโขงตอนบนไว้ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ตลอดทั้งปี และเลือกปล่อยน้ำจากเขื่อนตามอารมณ์ ทำให้ประเทศอาเซียนด้านล่างเผชิญภาวะแล้งจัด งานวิจัยล่าสุดจากกลุ่มนักอุตุนิยมวิทยาชาวอเมริกันยืนยันหลักฐานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกว่าจีนควบคุมระดับน้ำของแม่น้ำโขงให้ระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐวิสาหกิจของจีนได้สร้างเขื่อนหลายแห่งเพื่อกั้นแม่น้ำโขง ทีมวิจัยจึงเทียบระดับน้ำกับภาพถ่ายดาวเทียม รวมถึงระยะเวลาปฏิบัติการของเขื่อนเหนือแม่น้ำโขง ซึ่งตามปกติแล้วถ้าจีนแล้ง ประเทศใต้น้ำก็ต้องแล้ง ถ้าจีนมีน้ำมากประเทศใต้น้ำก็จะมีน้ำมาก แต่หลังจากจีนสร้างเขื่อนเรื่องแบบนี้ก็เริ่มไม่ปกติ ทีมวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างระดับน้ำที่ลดลงที่วัดได้ที่เชียงแสนและสภาพของแม่น้ำโขงจากภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงปีแรกๆ ที่จีนเริ่มสร้างเขื่อน สถานการณ์ชัดเจนอย่างมากช่วงที่จีนเริ่มเติมน้ำโขงเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ Manwan และ Dachaoshan ระดับน้ำที่วัดได้และการไหลตามธรรมชาติของแม่น้ำโขงลดลงหลังอย่างชัดเจน หลังจากปี 2555 เมื่อมีการสร้างเขื่อนใหญ่และอ่างเก็บน้ำสองแห่งซึ่งจำกัดปริมาณและเวลาของน้ำที่ปล่อยออกมาอย่างมาก รัฐบาลจีนตั้งใจใช้เขื่อนเหล่านี้เพื่อควบคุมการไหลของกระแสน้ำ …