ไฟป่าเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่สำคัญในระบบนิเวศที่มีวงจรชีวิตขึ้นอยู่กับไฟ มันช่วยทำให้ป่าคืนชีพอีกครั้ง กระตุ้นการเติบโตของหน่อต้นไม้ และสร้างสารอาหารใหม่ๆ อย่างไรก็ตามไฟป่าที่ไม่ได้ควบคุมหรือเผาล่วงหน้าตามที่วางแผนไว้อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อชุมชนของมนุษย์ เพื่อช่วยจัดการกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับไฟป่าในอเมริกา สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ (USGS) เปิดตัวยุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์การดับไฟป่าใหม่ที่ระบุถึงความจำเป็นที่สำคัญสำหรับการวิจัยไฟป่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ยุทธศาสตร์นี้สามารถนำไปใช้เพื่อทำความเข้าใจความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของไฟและผลกระทบที่เป็นอันตรายได้ดีขึ้น
IGreen Editor
รัฐเซาท์ออสเตรเลียเป็นรัฐแรกในออสเตรเลียที่เริ่มบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) หลังจากร่างกฎหมาย The Single-use and Other Plastic Products (Waste Avoidance) Bill 2020 เข้าสภาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 และผ่านออกมาเป็นกฎหมายในเดือนกันยายนปีเดียวกัน จากนั้นก็มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม …
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีการปรับเปลี่ยนแนวทางในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศหรือฝุ่น PM2.5 ที่ค่อนมีรูปธรรมมากกว่าปีก่อนๆ และจังหวัดอื่น ๆ ในจังหวัดภาคเหนือด้วยกัน โดยเกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนมากขึ้น ซึ่งแนวทางส่วนหนึ่งสอดคล้องผลจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการเคาท์ดาวน์ PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้ออกแบบภาพอันพึงประสงค์นั่นคือ “สมดุลราษฎร์-รัฐ” ที่กำหนดให้รัฐและประชาชนมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาในระดับเท่าเทียมกัน
คำอธิบายหลักการ “ชิงเผา” ที่ถูกต้องหรือเป็นไปตามหลักวิชาการ โดย ผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยสร้างความกระจ่างสำหรับวิธีการบริหารจัดการไฟที่เป็นไปตามหลักสากล เพียงแต่บ้านเราไม่ยอมรับความจริงและเฉไฉกระทั่งมองการชิงเผาในแง่ร้าย อาจจะด้วยเพราะขาดความรู้ความเข้าใจ หรือมีความเชื่อแบบผิด ๆ ตลอดจนมีปัจจัยแทรกซ้อนจากปัญหาเชิงโครงสร้างในการจัดการปัญหาไฟป่าที่เรื้อรังมายาวนาน
สถานการณ์น้ำโขงยังวิกฤตเนื่องจากระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ล่าสุดระดับน้ำเฉลี่ยต่ำสุดประมาณ 1 เมตร ซึ่งต่ำสุดในรอบ 10 ปี ทำให้พื้นที่แม่น้ำบางจุดเกิดหาดทรายเป็นพื้นที่กว้างเป็นระยะทางยาวนับกิโลเมตร อีกทั้งเมื่อน้ำไหลไม่เชี่ยวจึงเกิดการตกตะกอนกลายเป็นสีฟ้าครามคล้ายน้ำทะเล
กระแสรักษ์โลกในปัจจุบันยังคงมาแรงแซงโค้ง เพราะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้นปัญหาโลกร้อน ที่ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณขยะที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งขยะทั่วไป และขยะพลาสติกและนำไปสู่การกำจัดที่ผิดวิธี เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมีการเปลี่ยแปลงอย่างรวดเร็วและหากปล่อยไว้อาจกลายเป็นหายนะใหญ่ของการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้
ปีนี้จังหวัดภาคเหนือต้องเผชิญสถานการณ์มลพิษทางอากาศหรือปัญหาฝุ่น PM2.5 เข้าสู่ปีที่ 15 โดยเฉพาะ 9 จังหวัดภาคเหนือซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า ปี 2563 มีพื้นที่เผาไหม้สะสมทั้งสิ้น 8,615,470 ไร่ ปี 2562 มีพื้นที่เผาไหม้สะสม 7,211,517 ไร่ นั่นคือมีพื้นที่เผาไหม้สะสมเพิ่มขึ้นถึง 1,403,953 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 2.13 …
ปัจจุบัน มีขยะพลาสติกเล็ดลอดลงสู่ทะเลและมหาสมุทรแล้วกว่า 150 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นอีกประมาณปีละ 8 ล้านตัน ขณะเดียวกันหลากหลายประเทศก็ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นเดินหน้าจัดการปัญหาขยะพลาสติกนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastics) ตลอดจนนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมารีไซเคิลให้ได้มากที่สุด รวมทั้งนำพลาสติกรีไซเคิลมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม (food-contact packaging and bottle-to-bottle recycling)
คอลัมน์ IGreen Talk คุยกับ อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะหนึ่งในกลไกรับผิดชอบการแก้ไขปัญหา PM2.5 เขาบอกว่า รัฐบาลได้กำหนดให้การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นวาระแห่งชาติมาตั้งแต่ปี 2562 และปีนี้ได้เพิ่มเติมมาตรการเข้าไปให้สอดคล้องกับการถอดบทเรียนในช่วงที่ผ่านมา
ปัจจุบันมีสถานที่กว่า 150 แห่งทั่วโลกเข้าร่วมเป็น “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดสากล” ซึ่งนอกจากจะเป็นการรณรงค์ให้เกิดการลดมลภาวะทางแสงที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สุขภาพของมนุษย์ และการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังมีส่วนช่วยอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดยามค่ำคืนให้คงความสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงดาราศาสตร์ สร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในสถานที่นั้นอีกด้วย