“ถ้าชาวประมงทำประมงถูกกฎหมาย ทะเลก็จะอุดมสมบูรณ์ได้ ไม่ว่าประมงพาณิชย์หรือประมงพื้นบ้านใช้ทะเลหากินเหมือนกัน ชาวประมงสามารถเลือกขนาดของปลาได้ ยิ่งมีเครื่องมือระบบโซน่า จะรู้ว่าเป็นปลาชนิดอะไรมีกี่หมื่นกิโล ขนาดเล็กขนาดใหญ่รู้หมด เพียงแต่ออกเรือไปแล้วจะรอได้ไหม ซึ่งถ้ามีมาตรา 57 บังคับใช้ก็จะทำให้ทะเลกลับมาอุดมสมบูรณ์” ส่วนหนึ่งจากการเสวนาหัวข้อ “ปัญหาปลาเด็ก เรื่องไม่เล็กของทะเลไทย”
IGreen Editor
แถลงการณ์สภาหายใจภาคเหนือ เรื่อง ให้รัฐบาลเร่งดําเนินมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาที่ถูกละเลยก่อนฤดูฝุ่นควันรอบใหม่ พ.ศ. 2565 สภาลมหายใจภาคเหนือและเครือข่ายพันธมิตร ประกอบจากกลุ่มประชาชน ชมรม องค์กรภาคเอกชน และประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหามลพิษอากาศฝุ่นควันไฟ PM 2.5 ที่เกิดขึ้นเป็นประจําทุกปี โดยมองว่าภูมิศาสตร์แอ่งกระทะภูเขาและระบบนิเวศที่มีสัดส่วนพื้นที่ป่าไม้มากกว่า 65% เป็นลักษณะเฉพาะที่มีผลต่อสภาพปัญหา ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องดําเนินการให้เกิดมีแผนและมาตรการเฉพาะ เพื่อจะเอาชนะปัญหานี้
ขยะพลาสติกที่เป็นส่วนหนึ่งของมลพิษที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เพราะพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายนาน 450-500 ปี ฉะนั้นทางเลือกก็คือต้องเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเพื่อให้มันสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพเหมือนขยะอินทรีย์ทั่วไป จะได้ช่วยกันลดสาเหตุ ‘ภาวะโลกร้อน’ ที่กำลังเป็นภัยคุกคามมวลมนุษยชาติอยู่ในเวลานี้ “ราคาของพลาสติกชีวภาพในไทยมีราคาสูงกว่าพลาสติกทั่วไป 2-3 เท่าหรือมากกว่า ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงได้ จึงใช้วิธีการผสมสาร OXO กับพลาสติกธรรมดาทั่วไปซึ่งย่อยสลายไม่ได้กลายเป็น Oxo-degradable หรือ Oxo-biodegradable (อาจใช้คำเรียกที่แตกต่างไปจากนี้ อาทิ Environmentally Degradable …
สภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอให้คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชะลอการเข้าร่วมความตกลง CPTPP เพราะประเทศไทยเสียเปรียบหลายด้าน เช่น ต่างชาติจะนำพันธุ์พืชสมุนไพรของไทยไปปรับปรุงพันธุ์ ทำให้สูญเสียรายได้จากการทรัพยากรชีวภาพ กระทบต่อการคัดเลือกปรับปรุงสายพันธุ์พืชยาบางชนิด เช่น สายพันธุ์กัญชา อีกทั้งเกษตรกรจะต้องจ่ายค่าเมล็ดพันธุ์ในราคาสูงขึ้น 2-6 เท่า คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนล้านบาท/ปี
โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐมีปัญหาขัดแย้งกับชุมชนชายฝั่งในหลายพื้นที่ และส่วนใหญ่การใช้งบประมาณหลายพันล้านได้กลายเป็นสาเหตุให้เกิดการกัดเกาะชายหาดเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นภาพอุจาดตา ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านได้รวมตัวกันยื่นฟ้องศาลปกครอง เพื่อให้รัฐระงับการดำเนินโครงการและรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออก
การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) ไม่ได้เป็นแค่แนวความคิดหรือหลักการสำหรับการทำแคมเปญ CSR ขององค์กรต่าง ๆ อีกต่อไป ทว่าองค์กรธุรกิจทั่วโลกได้ตื่นตัวมากขึ้นในการนำธุรกิจ สินค้าและบริการเชื่อมต่อกับคุณค่าการพัฒนาในทิศทางนี้
เช้าวันหนึ่งในเดือนมีนาคม รถขับเคลื่อนสี่ล้อไต่ระดับความสูงไปตามเส้นทางสายเล็ก ๆ มุ่งหน้าขึ้นสู่ใจกลางดอยอินทรีย์ ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สองข้างทางที่รถเคลื่อนผ่าน ในอดีตเคยเป็นป่าเสื่อมโทรมจากการบุกรุกและแผ้วถางที่เพื่อทำการเกษตร แต่เวลาผ่านไปกว่า 10 ปี เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมไปถึงวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ และประชาชนในพื้นที่ก็ได้ช่วยทำให้ป่าบริเวณนี้ค่อย ๆ กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
วัวเป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญโดยมาจากการ “เรอ” ของพวกมันที่มีก๊าซมีเทนจำนวนมหาศาล การศึกษาใหม่โดยละเอียดพบหลักฐานเพิ่มเติมว่าการให้อาหารเสริมประเภทสาหร่ายทะเลจะช่วยให้วัวลดการปล่อยก๊าซมีเทนลงได้อย่างมากโดยไม่ส่งผลต่อสุขภาพหรือรสชาติของเนื้อสัตว์ ภาคเกษตรกรรมมีส่วนสร้างมลพิษรายใหญ่ที่สุดโดยเฉพาะจากภาคปศุสัตว์ที่ปลอ่ยก๊าซมีเทนมากถึง 37% ด้วยเหตุนี้จึงมีการเรียกร้องให้ผู้คนลดการบริโภคปริมาณเนื้อแดง แต่อาจไม่ใช่ทางออกเดียว เพราะการเปลี่ยนอาหารให้วัวก็ช่วยได้เช่นกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานักวิจัยจาก CSIRO และ University of California Davis (UCD) ได้แสดงให้เห็นว่าการใส่สาหร่ายลงไปในอาหารปกติของวัวสามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนลงได้อย่างมาก สำหรับการศึกษาใหม่ทีมงานได้ปรับขนาดการทดลองจากสองสัปดาห์เป็นห้าเดือน โดยให้อาหารวัวเนื้อที่ผสมสาหร่ายทะเล Asparagopsis taxiformis …
วันป่าไม้โลก (World Forestry Day) ตรงกับวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี สหประชาชาติกำหนดธีมประจำปี 2021 คือ “การฟื้นฟูป่า : หนทางสู่การฟื้นตัวและความเป็นอยู่ที่ดี” เพราะการฟื้นฟูและการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนช่วยแก้ไขวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ หัวข้อในปีนี้สอดคล้องกับทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ (พ.ศ. 2564-2573) ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้มีการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก ย้อนมาดูสถานการณ์ป่าโดยรวมในบ้านเรา ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศในปี 2561 – …
อีก 9 ปีข้างหน้า หรือในปี 2573 ความต้องการใช้น้ำจืดของคนทั่วโลกจะมีมากกว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ร้อยละ 40 โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัยประกอบกัน คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พฤติกรรมของมนุษย์ และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก