ยูนีซ นิวตัน ฟุท ได้นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมด้านวิทยาศาสตร์ American Association for the Advancement of Science (AAAS) ในปี พ.ศ. 2399 โดยได้ตั้งทฤษฎีว่า การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป เท่ากับเป็นการค้นพบภาวะเรือนกระจก และภาวะโลกร้อนครั้งแรกอย่างที่เรากำลังประสบอยู่ในตอนนี้นั่นเอง ยูนีซ นิวตัน ฟุท …
IGreen Editor
ไทยแลนด์น่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหารหลากหลาย (หรือใช้เปลือง) มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะถุงใส่น้ำจิ้มต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับอาหารหลัก เพราะอาหารไทยมักพ่วงมาด้วยน้ำจิ้ม และน้ำยำ ผลก็คือเรามีขยะจากถุงน้ำจิ้มเต็มไปหมด ในขณะที่เรายังแก้ปัญหาถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ๆ ยังไม่สำเร็จ เราควรแก้ปัญหาถุงพลาสติกขนาดเล็กไปพลางก่อน อย่างเช่นบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำจิ้มหรือถุงเครื่องปรุงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ หนึ่งในผู้ริเริ่มผลิตภัณฑ์ตัวนี้อยู่ที่ลอนดอน คือ บริษัท Notpla เป็นสตาร์ทอัพที่สร้างบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนจากสาหร่ายและพืช ผลิตภัณฑ์เด่นของพวกเขาคือ Ooho เป็นซองบรรจุภัณฑ์แบบยืดหยุ่นที่เหมาะสำหรับเครื่องดื่ม …
ขึ้นปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ฝรั่งเศสเริ่มสิ่งใหม่ ๆ เพื่อโลกทันที เมื่อกฎหมายฉบับใหม่ห้ามใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในผักและผลไม้หรือการใช้พลาสติกแรปห่อมีผลบังคับใช้แล้ว คำสั่งแบนนี้มีผลครอบคลุมผัก และผลไม้ 30 ชนิดที่ห้ามไม่ให้ห่อด้วยพลาสติก รวมถึงแตงกวา กีวี มะนาว และส้ม ซึ่งมักใช้พลาสติกบางห่อหรือแรปเอาไว้เป็นลูก ๆ เวลานำไปวางจำหน่าย (plastic wrap เป็นฟิล์มพลาสติกบางใสใช้ห่อหุ้มอาหารช่วยคงความสดให้นานขึ้น) …
จากการศึกษาใหม่จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งหนานจิง ได้ตรวจสอบตัวอย่างอุจจาระจากผู้ป่วยโรคลำไส้ประเภทหนึ่ง 52 คน และคนที่ไม่มีอาการ 50 คน จากภูมิภาคต่าง ๆ ของจีน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคลำไส้มีอนุภาคไมโครพลาสติกต่อกรัมมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการใด ๆ ถึง 1 เท่าครึ่ง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งหนานจิง (Nanjing University in Science) ของจีนได้ค้นพบสิ่งที่น่าตกใจโดยพบว่า …
ผักตบชวาเป็นพืชรุกรานท้องถิ่นที่ร้ายที่สุดพันธุ์หนึ่งของโลก เพราะมันเติบโตเร็วจนแน่นทางน้ำ ในเวลาแค่ 1 เดือน ถ้ามีแค่ 10 ต้นมันจะขยายพันธุ์ได้มากถึง 40,000 ต้น และถือเป็นพืชน้ำที่สร้างความรำคาญใจให้กับคนไทยมาหลายสิบปี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีข้อเสียมากมายแต่ผักตบชวาก็ยังมีประโยชน์ที่คาดไม่ถึง เพราะสามารดูดซับน้ำมันได้มากถึง 10 เท่าของน้ำหนักตัวมัน Green Keeper Africa บริษัทนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสตาร์ทอัพในประเทศเบนินเห็นประโยชน์นี้จึงนำผักตบมาทำเป็นเส้นใยดูดซับมลพิษที่เรียกว่า Gksorb เส้นใย …
รู้หรือไม่ว่า การก่อสร้างเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของวิกฤตสภาพภูมิอากาศทั่วโลก โดยมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 23% ของโลก อีกทั้งวัสดุก่อสร้าง และภาคการก่อสร้างยังมีส่วนในการบริโภคอุปโภคทรัพยากรทั่วโลกมากกว่า 30% C40 Cities เป็นกลุ่มเมือง 97 แห่งทั่วโลกที่มุ่งเน้นการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และขับเคลื่อนการดำเนินการในเมืองเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และความเสี่ยงจากสภาพอากาศ เพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองของชาวเมือง โดยหนึ่งในนั้นมีกรุงเทพมหานครร่วมอยู่ด้วย เมืองในกลุ่ม C40 Cities …
สำหรับคนไทยทั่วไปอุณหภูมิ 19.4 องศาเซลเซียสถือว่าหนาวมากแล้ว แต่สำหรับดินแดนใกล้ขั้วโลกเหนืออย่างอะแลสกา อุณภูมิขนาดนี้ในฤดูหนาวแบบนี้ ต้องถือว่าเป็นสัญญาณของหายนะเลยทีเดียว สถิติที่น่าตกใจนี้เกิดขึ้นเมื่อเกิดภาวะอากาศอบอุ่นในฤดูหนาวที่ไม่ปกติในอะแลสกา ทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันพุ่งสูงกว่า 15.5 องศาเซลเซียส และมีฝนตกหนักซึ่งปกติแล้วมันควรจะมีอากาศหนาวเย็น และมีหิมะตกต่างหาก ที่ชุมชนเกาะโคไดแอก อุณหภูมิวัดได้ที่ 19.4 องศาเซลเซียสในวันอาทิตย์ ถือเป็นสถิติสูงสุดในเดือนธันวาคมที่เคยบันทึกไว้ในอะแลสกา นักวิทยาศาสตร์ถึงกับบอกว่า “นี่มันบ้าไปแล้ว” ตามปกติแล้วเดือนธันวาคมจะเป็นเดือนที่อากาศแห้ง และหนาวจัด อย่างที่เรารู้ …
The Cocoon หม้อไฟปลูกป่า
ตัวกระตุ้นรากกล้าไม้ให้แข็งแรง
ใส่น้ำ 25 ลิตรอัตรารอด 75-95%
เจ้าสิ่งที่ดูเหมือนหม้อไฟต้มยำนี้คือ The Cocoon ทำมาจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ แต่มันไม่ได้อ่อนแอเลย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ต้นกล้าไม้ที่นำไปปลูกในป่าเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายที่สุด The Cocoon เป็นของบริษัท Land Life Company ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องต้นกล้าตลอดปีแรก โดยให้น้ำและที่กำบังพร้อมทั้งกระตุ้นต้นกล้าให้โครงสร้างรากแข็งแรงและลึก ไม่ต้องพึ่งพาการให้น้ำจากภายนอก ตอนแรก The Cocoon ดูไม่เหมือนหม้อไฟต้มยำ หรือที่ผู้พัฒนาบอกว่ามันเหมือนโดนัท ตอนแรกมันจำลองแบบมาจากหม้อดินที่ใช้ในอารยธรรมเมโสโปเตเมียโบราณ ย้อนกลับไปในสมัยนั้น …
เอธิโอเปียแห้งแล้งถึงขนาดเคยเกิดวิกฤตการณ์ภัยอดอยากที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของโลก แม้ว่าทุกวันนี้แผ่นดินของเอธิโอเปียจะเริ่มเป็นสีเขียวขึ้นมาอีกครั้ง แต่สิ่งที่ อาร์ตูโร วิตตอรี สถาปนิกและนักออกแบบอุตสาหกรรมชาวอิตาลีได้พบกับตาตัวองที่นั่นอาจทำให้เราต้องเปลี่ยนความคิด เขาบอกว่า “การไปเยี่ยมชุมชนเล็ก ๆ ที่ห่างไกลจากที่ราบสูงในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเอธิโอเปียในปี 2556 ผมได้เห็นความจริงอันน่าทึ่งนี้ นั่นคือ การขาดแคลนน้ำดื่ม ชาวบ้านอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงามแต่มักไม่มีน้ำประปา ไฟฟ้า และห้องสุขา” เขาจึงเกิดความคิดที่จะช่วยคนท้องถิ่นขึ้นมา ในฐานะสถาปนิกและนักออกแบบเขาจึงเริ่มคิดหาวิธีที่จะสร้างแหล่งน้ำเพื่อช่วยคนเหล่านี้ หลังจากการออกแบบและทดลองนานหลายปีและหลายต่อหลายครั้ง เขาก็ได้ดีไซน์สุดท้ายที่เขาตั้งชื่อว่า Warka …
วาตนาเยอคูตล์ (Vatnajökull) เป็นครอบน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในไอซ์แลนด์ และใหญ่เป็นอันดับ 2 ในยุโรป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 8,100 ตร. กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของประเทศ ธารน้ำแข็งมีความหนาเฉลี่ย 400 ม. มีความหนาสุด 1,000 ม. ฟังดูแล้วมันเป็นแหล่งน้ำแข็งที่น่าจะมั่นคงดี แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว …