ยุโรปหันมาเลิกสนใจกับ “วันหมดอายุ” ที่ปิดไว้บนบรรจุภัณฑ์อาหารในซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะจริง ๆ แล้วมันไม่ได้ “หมดอายุ” วันนั้นทันที แต่ยังสามารรับประทานได้อีกนานหรือไม่ก็สามารถนำมาแปรรูปได้ด้วย iGreen เคยนำเสนอประเด็นอาหารหมดอายุที่ยังบริโภคได้มาอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะมันช่วยลดภาระของโลกในการแบกรับของเสียจากอาหารกินทิ้งกินขว้างที่มีมากถึง 900 ล้านตันต่อปี และคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากคาร์บอนไดออกไซด์จากการทิ้งอาหารเหลือกินอยู่ที่ประมาณ 3,300 ล้านตัน ล่าสุด Morrisons ซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีชื่อเสียงในอังกฤษเตรียมเลิกกำหนดวันหมดอายุกับผลิตภัณฑ์นมเกือบทั้งหมด …
IGreen Editor
ต้นไม้ประดิษฐ์กำลังมาเป็นตัวช่วยการปลูกต้นไม้จริง เพราะมันสามารถช่วยดูดคาร์บอนออกจากบรรยากาศได้มากกว่าต้นไม้จริงถึงพันเท่า ต้นที่มีความสูง 10 เมตรสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 700 เมกะตันต่อปี หรือปริมาณเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์ที่รถยนต์ 150 ล้านคันปล่อยออกมาบนท้องถนนทุกปี ภาพที่เห็นอาจดูไม่เหมือนต้นไม้ แต่รู้หรือไม่ว่ามันทำงานได้ดีกว่าต้นไม้เสียอีก มันมีชื่อว่า “MechanicalTree” สิ่งประดิษฐ์ของบริษัท Carbon Collect ที่สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศได้เร็วกว่าต้นไม้ของจริง 1,000 เท่า! ด้านในของ MechanicalTree …
ผู้คนทั่วโลกต่างพยายามลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงซึ่งสอดคล้องกระแสมังสวิรัติ (Veganuary) ที่กำลังเป็นที่นิยม รัฐมนตรีของสเปน อัลเบอร์โต การ์ซอน (Alberto Garzón) ก็เป็นหนึ่งที่สนับสนุนการลดบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อช่วยโลก โดยได้เปิดตัวแคมเปญ ‘Less meat, more life’ ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว หวังรณรงค์ให้ชาวสแปนิชหันมารับประทานอาหารที่มีพืชเป็นส่วนประกอบกันมากขึ้น การ์ซอน เรียกร้องให้ชาวสเปนพิจารณาการบริโภคเนื้อสัตว์เสียใหม่ เพราะการทำปศุสัตว์นั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตเนื้อวัวจากฟาร์มขนาดใหญ่ แต่เขากลับสร้างความไม่พอใจให้กับบรรดารัฐมนตรี และอุตสาหกรรมผู้ผลิตเนื้อสัตว์ในประเทศ …
ปล่องก๊าซดาร์วาซา (Darvaza gas crater) หรือที่เรียกว่า “ประตูสู่นรก” หรือ “ประตูนรก” เป็นทุ่งก๊าซธรรมชาติกลางทะเลทรายคาราคุมที่ทรุดตัวลงจนกลายเป็นเหมือน “ถ้ำ” ใกล้เมืองดาร์วาซา เติร์กเมนิสถาน สภาพของมันคือหลุมที่ยุบลงไปท่ามกลางท้องทุ่งกว้าง ในหลุมมีเปลวไฟลุกโชนตลอดเวลา ยิ่งในเวลาโพล้เพล้ยิ่งทำให้ดูเหมือนปากทางเข้าของแดนนรกยังไงยังงั้น ตอนแรกมันก็ยงเป็นท้องทุ่งดี ๆ นี่เอง แต่ในปี 2514 วิศวกรคิดว่า ใต้ดินน่าจะมีแหล่งน้ำมันจึงทำการตั้งแท่นขุดเจาะ …
อาร์คบิชอป เดสมอนด์ ตูตู (Desmond Tutu) บาทหลวงชาวแอฟริกาใต้ที่รู้จักจากผลงานในฐานะนักเคลื่อนไหวต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว และสิทธิมนุษยชนจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เพิ่งจะเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564 รวมอายุ 90 ปี มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้คนจดจำอาร์คบิชอป เดสมอนด์ ตูตู มากขึ้นแม้ว่าเขาจะจากโลกนี้ไปแล้วนั่นก็คือ วิธีการจัดการกับศพของเขาด้วยวิธีการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เดสมอนด์ ตูตู ยืนหยัดปกป้องสิ่งแวดล้อมมาตลอดโดยได้กล่าวสุนทรพจน์และเขียนบทความเกี่ยวกับความจำเป็นในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพินัยกรรม …
สถาบันวิจัยสมุทรศาสตร์ของฝรั่งเศส (Ifremer) ได้ทำการทดสอบอวนลากอันชาญฉลาดเพื่อลดจำนวนสัตว์ทะเลที่จับได้โดยไม่ได้ตั้งใจ หวังว่าอวนลากเหล่านี้จะสามารถคัดแยกปลาในน้ำได้ก่อนที่จะนำอุปกรณ์ตกปลาขึ้นเรือ ซึ่งจะช่วยลดการเสียชีวิตที่ไม่จำเป็น การลากอวนเป็นวิธีการตกปลาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งเกี่ยวข้องกับการลากอวนขนาดใหญ่ไปด้านหลังเรือประมง แม้ว่าการลากอวนทุกประเภทจะสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม แต่วิธีที่แย่ที่สุดคือการลากอวนด้านล่าง ในกรณีนี้ ตาข่ายขนาดใหญ่และหนัก – มักมีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล ถูกลากไปตามพื้นทะเลเพื่อจับทุกสิ่งที่ขวางหน้า ด้วยเหตุนี้สัตว์ทะเลจำนวนมากจึงถึงจุดจบ แม้ว่ามันจะไม่ใช่เป้าหมายการล่าจากการประมงนั้นโดยไม่ตั้งใจก็ตาม แต่เรือลากที่ใช้ “อวนอัจฉริยะ” จะเป็นเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับชาวประมง ซึ่งใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีล่าสุดของปัญญาประดิษฐ์และเครือข่ายเซ็นเซอร์ อุปกรณ์นี้มาพร้อมกับกล้อง เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์วิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ …
บริษัทสตาร์ทอัพในออสเตรเลียกำลังสร้าง “กองทัพของโดรนยิงเมล็ดพันธุ์พืช” โดยการนำฝักเมล็ดพันธุ์พืชซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษนำขึ้นไปยิงจากท้องฟ้าลงสู่พื้นดินเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ป่า
งานวิจัยที่นำโดย Jan Zrimec แห่งสถาบันชีววิทยาแห่งชาติ ในกรุงลูบลิยานา ประเทศสโลวีเนียพบว่า จุลินทรีย์ในมหาสมุทรและดินทั่วโลกกำลังวิวัฒนาการตัวเองเพื่อกินพลาสติก การวิจัยได้สแกนยีนมากกว่า 200 ล้านยีนที่พบในตัวอย่างดีเอ็นเอที่นำมาจากสิ่งแวดล้อม และพบว่ามีเอ็นไซม์ต่าง ๆ 30,000 ชนิด ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ 10 ชนิด นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เกือบ 60% ของเอ็นไซม์ใหม่ไม่เข้ากับอันดับของเอ็นไซม์ที่รู้จักกันมาก่อน บ่งชี้ว่าโมเลกุลเหล่านี้ทำการย่อยสลายพลาสติกในลักษณะที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน …
โลกของเรามีห้องที่ติดแอร์มากถึง 1,000 ล้านห้อง หรือประมาณทุก ๆ 7 คนบนโลกจะมีแอร์ 1 ยูนิต และคาดว่าภายในปี 2593 มีแนวโน้มที่จะมากกว่า 4,500 ล้านยูนิตซึ่งจะทำให้ทุกคนบนโลกนี้แทบจะมีแอร์กันครบทุกคนเหมือนที่ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ ถ้าทั่วโลกใช้แอร์กันมากขนาดนั้นมันจะกินพลังงานไฟฟ้าประมาณ 13% ของทั้งหมดทั่วโลก และผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2,000 ล้านตันต่อปีในปริมาณเทียบเท่ากับอินเดียปล่อยออกมาทั้งประเทศ ซึ่งอินเดียเป็นผู้ปล่อยก๊าซที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเพอร์ดูได้พัฒนาสีขาวพิเศษสามารถสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ …
ประเด็นที่ 1- ฝุ่น PM2.5 มลพิษอากาศประจำปีในหลายจังหวัดโดยเฉพาะภาคเหนือตอนบน, พื้นที่ กทม. และปริมณฑล ณ เวลานี้ยังไม่รุนแรง แนวทางรับมือล่าสุดที่ประชุม ครม. 28 ธ.ค. 64 มีมติรับทราบร่างแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 65 และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามร่างแผนเฉพาะกิจฯ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ …