ประเทศที่ร้อนตับแตกตลอดเวลาเหมือนเมืองไทยอาจจะรู้สึกแค่ว่ามันร้อนมากกว่าเดิม (นิดหน่อย) แต่ส่วนใหญ่คงไม่รู้ว่า เมื่อสภาพภูมิอากาศโลกปั่นป่วนมันไม่ได้ทำให้แค่ร้อนขึ้น แต่ยังทำให้อุณภูมิไม่เหมาะกับการเพาะปลูกพืช เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมทำลายพืชผล และผู้คนจะอดอยากหลายพันล้านคน จากตัวเลขล่าสุด หากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม จะมีผู้คนมากถึง 1,800 ล้านคนต้องอดอยากหิวโหย การวิจัยเมื่อหลายปีก่อนระบุว่ามีโอกาส 90% ที่ผู้คน 3,000 ล้านคนจะต้องเลือกระหว่างทนหิวโหยหรืออพยพครอบครัวไปยังดินแดนที่สภาพอากาศไม่รุนแรงภายใน 100 ปี ไม่ต้องอะไรมาก …
IGreen Editor
‘เพนกวิน แมวน้ำ วาฬ’ นับล้าน
รับความเสี่ยงน้ำแข็งยักษ์ A68
ปล่อยน้ำจืดลงทะเล 1.5 แสนล้านตัน
ภูเขาน้ำแข็ง A68 เคยถูกบันทึกให้เป็นภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงเวลาสั้น ๆ เพราะได้แตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ขณะนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีดส์หวั่นเกรงและจับตาว่า หากมันอาจเกยไหล่ทวีปหรือเข้าชนเกาะจอร์เจียใต้ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษและเป็นที่อยู่ของนกเพนกวิน ประชากรแมวน้ำ และวาฬ จำนวนนับล้านอาจจะได้รับผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร ที่มากกว่านั้นนักวิทยาศาสตร์จาก British Antarctic Society (BAS) ระบุว่า การปล่อยน้ำจืดที่ค่อย ๆ ละลายมาเรื่อยจะสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศของเกาะบริเวณนั้นเป็นเวลากว่าทศวรรษหรือมากกว่านั้น ซึ่งจนถึงเดือนมีนาคม 2021 ภูเขาน้ำแข็งได้ปล่อยน้ำจืดลงมหาสมุทรแล้วจำนวน …
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดตั้งกองอำนวยการควบคุมไฟป่าขึ้นใหม่จำนวน 16 แห่ง เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์ปัญหาไฟป่าประจำปี 2565 ซึ่งเป็นปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นทุกปีเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง ผลกระทบจากการเกิดไฟป่านอกจากสร้างความเสียหายให้แก่ผืนป่าโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป โดยเฉพาะปัญหาหมอกควันจากไฟป่าได้สร้างความเสียหายด้านสุขภาพของประชาชน ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งกรมอุทยานฯ จึงได้จัดตั้งกองอำนวยการควบคุมไฟป่าเพื่อดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่สำคัญ และพื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ จำนวน 16 แห่ง ทั่วประเทศ ทั้งนี้ …
ยื่น 26,500 ชื่อถึงประธานสภา
ดันร่าง พรบ.อากาศสะอาด
เปิดช่องฟ้องรัฐผู้ปล่อยมลพิษต้องจ่าย
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 เครือข่ายอากาศสะอาดนำโดย รศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม หัวหน้าทีมกฎหมายเครือข่ายอากาศสะอาดและอาจารย์นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้ายื่นรายชื่อประชาชนจำนวน 26,500 รายชื่อถึงนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อผลักดันร่าง พ.ร.บ.กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ. ….หรือเรียกย่อ ๆ ว่าร่างกฎหมายอากาศสะอาด ทั้งนี้ มี …
การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 เริ่มต้นแล้ว
ภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมร้ายแรงที่สุด
สัตว์บกจะสูญพันธุ์มากกว่า 500 ชนิด
รู้หรือไม่ว่าโลกของเราผ่านการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ หรือ Mass extinction มาถึง 5 ครั้งแล้ว ซึ่ง “การสูญพันธ์ครั้งใหญ่” เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกหลากชนิดหลายสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ไปในเวลาพร้อม ๆ กันหรือไล่เลี่ยกัน และ ณ เวลานี้ก็มาถึง “การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ครั้งที่ 6” หรือ Earth’s sixth mass extinction …
นักวิจัยในสหราชอาณาจักรพบฟอสซิลกิ้งกือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งมีความยาวเท่ากับรถยนต์และคาดว่าน่าจะมีชีวิตในช่วงยุคคาร์บอนิเฟอรัส ระหว่าง 359 ล้านถึง 299 ล้านปีก่อน ฟอสซิลกิ้งกือยักษ์ที่ค้นพบคือ Arthropleura เป็นสกุลกิ้งกือที่อาศัยอยู่ในอเมริกาเหนือและยุโรป ซึ่งมีอายุประมาณ 326 ล้านปี ในกลุ่มหินทรายที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ บนชายหาดในนอร์ธัมเบอร์แลนด์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษในเดือนพฤษภาคม 2018 ชิ้นส่วนโครงกระดูกภายนอกยาว 75 ซม.และกว้าง 55 …
รู้ไว้! นี่แหละโลกร้อน
21 เมืองเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว
เสี่ยงไม่มีหิมะจัดแข่งกีฬาได้
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่งเป็นเจ้าภาพกำลังจะเริ่มต้นขึ้น ซึ่งมีอยู่เรื่องหนึ่งที่คนทั่วไปไม่ทราบคือ ถึงแม้ปักกิ่งจะมีสภาพอากาศที่หนาวจัด แต่ก็แห้งจัดด้วยเช่นกัน ดังนั้นโอลิมปิกครั้งนี้จีนจึงต้องโปรยหิมะขึ้นมาเองโดยฉีดน้ำให้เป็นเกล็ดน้ำแข็งขึ้นมา ภาพที่จะออกมาคือลานสกีมีหิมปกคลุม แต่ภูเขาโดยรอบไร้หิมะโดยสิ้นเชิง ภาพที่เห็นนี้อาจจะดูแปลก ๆ แต่ในอนาคตอันใกล้มันจะไม่แปลกแน่นอน เมืองหลายเมืองที่เคยเป็นแหล่งกีฬาฤดูหนาวอาจจะต้องใช้วิธีเดียวกับปักกิ่ง หรืออาจจะต้องหมดสภาพการใช้งานไปเลย เพราะภาวะโลกร้อนที่รุนแรงทำให้ฤดูหนาวหดสั้น หิมะตกน้อย น้ำแข็งเปราะบาง ไม่สามารถใช้แข่งขันหรือเล่นกีฬาได้อีก นี่ไม่ใช่เรื่องเดาไปเอง แต่มีงานวิจัยล่าสุดรับรอง การศึกษานำโดย แดเนียล สก็อตต์ ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูในแคนาดาพบว่า …
หนุ่มดัตช์ซิ่งมอเตอร์ไซค์รักษ์โลก
เติมก๊าซจากหนองน้ำวิ่งได้ 20 กม.
ทางเลือกของนักเดินทางสีเขียว
Slootmotor เป็นพาหนะทางเลือกใหม่อย่างแท้จริง ไม่พึ่งพาเทคโนโลยีชั้นสูง ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ยุ่งยากและที่สำคัญสามารถเติมก๊าซจากหนองน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย Slootmotor มอเตอร์ไซค์ทางเลือกคันนี้เป็นไอเดียของ ไชส์ ชอล์กซ์ (Gijs Schalkx) นักประดิษฐ์หนุ่มชาวเนเธอร์แลนด์ เขานำรถ Honda PC50 มาโมดิฟายด์หลังจากได้ยินเรื่องราวจากชาวประมงคนหนึ่งที่เก็บก๊าซจากบึงขณะตกปลามาใช้ปรุงอาหาร ชอล์กซ์ เปลี่ยนเจ้า Honda PC50 ให้ขับเคลื่อนโดยการเติมก๊าซ “ก๊าซหนองน้ำ” (Marsh …
จีนสร้างป่ากลางทะเลทราย
ได้กำแพงต้นไม้ 100 ล้านต้น
ช่วยลดแรงลมน้ำฝนเพิ่ม 4 เท่า
“อูลานบูวา” (Ulaanbuwa Desert) หรือ “ทะเลทรายกระทิงแดง” อยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียของสาธารณรัฐประชาชนจีน กระจายอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบเหอเท่า ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเหลือง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 0.99 ถึง 10,300 ตารางกิโลเมตร ติดอันดับหนึ่งในแปดทะเลทรายในประเทศจีนในแง่ของพื้นที่ “ทะเลทรายกระทิงแดง” มีสภาพเป็นทะเลแห่งทรายจริง ๆ นั่นคือเต็มไปด้วยเนินทราย แทบจะไร้ต้นไม้ มีเพียงบางจุดที่มีความชื้นหรือแหล่งน้ำเท่านั้นที่พอจะมีต้นไม้ไม่กี่ต้นและพุ่มหญ้าเป็นหย่อม ๆ มันจึงเป็นดินแดนที่แทบจะใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย …
ทีมนักวิจัยเยอรมนีค้นพบอาณาจักรพันธุ์ปลาขนาดใหญ่ที่สุดในโลกใกล้กับหิ้งน้ำแข็ง Filchner ในทะเลเวดเดลล์ทางตอนใต้ของแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นปลา notothenioid ที่คาดว่าน่าจะน้ำหนักรวมกันในพื้นที่มากถึง 60,000 ตัน จากจำนวนรังที่พบทั้งหมดประมาณ 60 ล้านรัง นักวิจัยพบมันอาศัยอยู่บนพื้นที่ประมาณ 240 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เท่าขนาดประมาณเกาะมอลตาหรือประมาณหนึ่งในสามของขนาดลอนดอน โดยปลาน้ำแข็งที่พบเป็นปลามีกระดูกสันหลังชนิดเดียวที่ไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงทำให้ตัวโปร่งใสจนสามารถมองทะลุเห็นโครงกระดูกภายใน งานวิจัยของทีมวิจัยชุดนี้ซึ่งตีพิมพ์ใน Current Biology มื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมาระบุว่า …