IGreen Editor

ไม่มีปรากฏการณ์ใดร้อนขึ้น
หนาวเย็นรุนแรงเท่านี้มาก่อน

งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนล่าสุดที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature และวารสาร Nature Geoscience ได้ข้อสรุปว่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกในช่วงหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความรุนแรงอย่างที่ไม่เคยมีเหตุการณ์ในรอบ 2,000 ปีจะเทียบเคียงได้

Read more

เปิดใจ ‘ธเนศพล’
เลขาฯ คู่ใจ ‘วราวุธ ศิลปอาชา’

คอลัมน์ I Green Talk นัดคุยกับ “ธเนศพล ธนบุณยวัฒน์” เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ขุนพลที่ทำงานเคียงข้างรัฐมนตรีว่าการ ทส. “วราวุธ  ศิลปอาชา” ซึ่งเวลานี้ต้องบอกว่าเป็นรัฐมนตรีที่มีผลงานเข้าตาและโดดเด่นมากที่สุดคนหนึ่ง

Read more

‘โอ๊ะป่อย’ ตลาดนัดสีเขียว
แหล่งท่องเที่ยวสวนผึ้ง

เสน่ห์ของ “ตลาดโอ๊ะป่อย” ไม่ได้อยู่ที่การได้มาจับจ่ายซื้อสินค้าเหมือนตลาดอื่น ๆ ทั่วไป ทว่าเป็นตลาดริมน้ำขนาดย่อมที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ สัมผัสได้ถึงความเป็นกันเองของพ่อค้าแม่ขาย และโดดเด่นในแง่การรักษาความสะอาด โดยมีเด็กนักเรียนตัวน้อย ๆ คอยเดินเก็บและหิ้วถังขยะไปคัดแยกอยู่เป็นระยะ ๆ

Read more

ระดมจิตอาสาปลูกป่า
คืน ‘พรุควนเคร็ง’ ครั้งใหญ่

เป็นเรื่องเศร้าและน่าหดหู่ใจเมื่อป่าพรุควนเคร็งถูกเผาทำลายเสียหายไปกว่า 15,000 ไร่ จากขบวนการสเด็ดน้ำออกแหล่งกักเก็บคาร์บอนบนเนื้อที่กว่า 2 แสนไร่ ทำให้ต้องสูญสิ้นสภาพความเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติ โดยมีสาเหตุจากการบุกรุกของชาวบ้านเพื่อทำการเกษตร ผนวกกับมีกลุ่มทุนที่สุมไฟเข้ายึดพื้นที่แสวงหาประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาแค่เดือนเศษจึงทำให้น้ำจากป่าพรุแห้งเหือดไปในที่สุด

Read more

‘เกาะพิทักษ์’ Green Island แห่งชุมพร

เมื่อ 30 กว่าปีก่อน “เกาะพิทักษ์” เกาะเล็กๆ ณ หมู่ 14 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีธรรมชาติทางทะเลเสื่อมโทรมอย่างมาก ชุมชนมีความแตกแยก เกิดปัญหายาเสพติด และมีการเล่นการพนัน ขณะที่อาชีพประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นอาชีพหลักหล่อเลี้ยงชุมชนก็ถูกเรือประมงพาณิชย์นำอวนลาก และอวนรุนเข้ามารุกรานแย่งชิงพื้นที่การจับสัตว์น้ำจนชาวบ้านแทบไม่มีทางออก

Read more

แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกอยู่ไกล
แต่การหายไปทำให้เราใกล้ถึงจุดจบ

Q แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกคืออะไร? A สิ่งที่เรียกว่า “น้ำแข็งในแถบขั้วโลก” แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พืดน้ำแข็ง (Ice sheet) และหิ้งน้ำแข็ง (Ice shelf) พืดน้ำแข็ง เป็นมวลของธารน้ำแข็งที่ปกคลุมภูมิประเทศโดยรอบ สามารถพบได้ในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาเท่านั้น ส่วนหิ้งน้ำแข็ง เป็นแผ่นน้ำแข็งมีความหนาเป็นธารน้ำแข็งไหลลงสู่ชายฝั่งและบนพื้นผิวมหาสมุทร พบได้ในทวีปแอนตาร์กติกา, กรีนแลนด์,…

Read more

ต้นแบบการรักษาป่าที่บัลแกเรีย

ผู้คนและผืนป่าต่างพึ่งพาอาศัยกันได้ คนจะสามารถใช้ประโยชน์จากผลผลิตของป่าเพื่อรายได้ ขณะเดียวกันพวกเขาจะช่วยอนุรักษ์ป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน การส่งเสริมให้คนเห็นคุณค่าของป่าและผลผลิตต่างๆ ในป่าจะทำให้ป่าได้รับการปกป้องมากขึ้นจากมนุษย์ ซึ่งการมีป่ามากขึ้นย่อมหมายถึงความสามารถในการดูดซับคาร์บอนและมลพิษต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนบนโลกที่มากขึ้น

Read more

รีไซเคิลแบบนอร์เวย์
โมเดลเมืองไร้ขยะ (ขวด) พลาสติก

การจัดการขยะพลาสติกถูกยกระดับเป็นปัญหาในระดับอาเซียนและระดับโลก เพราะแต่ละประเทศต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามหันตภัยจากพลาสติกได้ส่งผลร้ายแรงต่อระบบนิเวศ ตลอดจนการดำรงชีวิตของมนุษย์ โจทย์ใหญ่ก็คือแต่ละประเทศไทยจะใช้กลไกอะไรในการจัดการไม่ให้ขยะเหล่านี้หลุดรอดกลายเป็นมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมหรือถึงจะมีก็ให้น้อยที่สุด ซึ่งบางประเทศสำเร็จมาแล้ว

Read more

ป่าพรุ…แหล่งกักเก็บคาร์บอน
สำคัญระดับโลก

สถานการณ์ไฟป่าไม่ได้ไหม้อยู่แค่ป่าแอมะซอนและป่าแอฟริกาใต้สะฮาร่า ทว่ามันลุกโชนไปแทบทุกทวีปทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือกระจกสะท้อนภาวะโลกร้อน รวมถึงการบุกรุกพื้นที่ทำการเกษตรและเหตุผลด้านเศรษฐกิจอื่นๆ ผืนป่าสำคัญในบ้านเราที่สามารถกักเก็บคาร์บอนและมีคุณค่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าป่าประเภทอื่นก็คือ ป่าพรุ คอลัมน์ I Green Talk ชวนคุยกับ ดร.เจริญวิชญ์ หาญแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Read more

มีอะไรอยู่ใน “ป่าแอมะซอน”

แหล่งผลิตออกซิเจนของโลก ป่าฝนแอมะซอนถูกขนานนามว่าเป็น “ปอดของโลก” เพราะผลิตออกซิเจนมากกว่า 20 % ของทั้งโลก ทั้งยังช่วยกำจัดคาร์บอนจำนวนมหาศาลออกจากชั้นบรรยากาศซึ่งสามารถช่วยชะลอภาวะโลกร้อนให้มนุษย์เราได้ Fernando Espírito-Santo นักวิจัย Jet Propulsion Lab ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซ่า) ค้นพบว่า ต้นไม้ในแอมะซอนสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 2,200 ล้านตัน/ปี แต่เหตุการณ์การลุกลามของไฟป่าครั้งนี้กำลังจะเปลี่ยนสถานะแอมะซอน จากแหล่งกักเก็บคาร์บอนเป็นแหล่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์แทน…

Read more