IGreen Editor

Circular Economy
การฉุดโลกขึ้นจากกองขยะมหึมา

ในหนึ่งวันๆ หนึ่งโลกของเราผลิตขยะถึง 2,120 ล้านตันในแต่ละปี และ 99% ของสินค้าที่เราซื้อมาจะกลายเป็นขยะในเวลาแค่ 6 เดือน เท่ากับว่าเรากำลังทำให้โลกกลายเป็นหลุมขยะมหึมาด้วยการซื้อและซื้อ เหมือนกับเรากำลังอยู่ในบ้านที่ประดับประดาไปด้วยกองขยะ เป็นสภาพที่บ่อนทำลายทั้งสิ่งแวดล้อมของโลก และสวัสดิภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ การใช้ทรัพยากรของโลกเรามีลักษณะเป็นเส้นตรง หรือ Linear Economy สิ่งของชิ้นหนึ่งใช้ทรัพยากรแบบเลยตามเลย จากนั้นขายขาด แล้วใช้ครั้งเดียวจบ เมื่อหมดสภาพก็ทิ้งไปแบบไร้ประโยชน์ เหมือนซากศพที่หมดค่าเมื่อหมดลมหายใจ

Read more

คำมั่นสัญญาแก้โลกร้อน
ถ้าไม่ Action ย่อมไม่เห็นผลการปฏิบัติจริง

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา สหประชาชาติเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอด Climate Action Summit เป็นการชุมนุมของผู้นำโลกที่ควรจะมอบความหวังให้กับชาวโลกว่าเราจะมี “แอคชั่น” ในการแก้ปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกอย่างไรบ้าง แต่แล้วมันแทบจะไม่แตกต่างจากการประชุมครั้งก่อนๆ เนื่องจาก Climate Action Summit มีเพียงคำมั่นสัญญา และประเทศมหาอำนาจต่างตั้งแง่ต่อกันว่าใครควรจะแก้ปัญหานี้ก่อน

Read more

เศรษฐกิจชีวภาพ อนาคตโลก
และความหวังของไทย

มนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ แต่โมเดลเศรษฐกิจแบบเดิมเน้นการผลิตและบริโภคอย่างสิ้นเปลือง กว่าจะรู้ตัวโลกของเราก็เสื่อมสภาพจนเสี่ยงกับภาวะเลวร้ายอย่างที่หวนกลับคืนมาเป็นเหมือนเดิมไม่ได้ (Point of No Return) โลกของเราจึงต้องการโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ เพื่อที่เราจะยังคงขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคต่อไปได้ โดยไม่ทำลายสิ่งแลดล้อม และสามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งบั่นทอนอนาคตมนุษยชาติ

Read more

ท่าทีผู้นำโลกกับการแก้ปัญหาโลกร้อน
‘จีน-อินเดีย’ มุ่งมั่น ‘สหรัฐ’ ถอนตัว

นับตั้งแต่ความตกลงปารีส (Paris Agreement) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 จนถึงการประชุม UN Climate Action Summit เมื่อเดือนกันยายน 2562 มีเรื่องเหนือความคาดหมายเกิดขึ้นมากมายกับความพยายามแก้ปัญหาความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโลก โดยเฉพาะบรรดาผู้นำประเทศมหาอำนาจหลายประเทศมีการเปลี่ยนท่าทีแบบสุดโต่ง เช่น สหรัฐอเมริกาเปลี่ยนท่าทีจากผู้นำเรื่องความตกลงปารีส กลายมาเป็นประเทศเดียวที่ไม่ยอมลงนาม และประธานาธิบดีคนล่าสุดยังพยายามบั่นทอนความพยายามของผู้นำประเทศคนก่อนที่จะแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง

Read more

ชาติมหาอำนาจต่อกรณี ‘เกรต้า’
นักการเมืองไม่สนใจฟังเจ้าของอนาคต

นิตยสาร Time ฉบับเดือนพฤษภาคม 2562 ยกย่องให้เกรต้า ธันเบิร์ก เป็นหนึ่งในผู้นำรุ่นใหม่ และเธอยังเป็นแนวหน้าของคนรุ่นใหม่ในการสื่อสารกับผู้นำโลกให้ลงมือทำจริง ๆ จัง เพื่อสกัดกั้นวิกฤตจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก แต่ปฏิกิริยาของบรรดาผู้นำโลกต่อเกรต้านั้นรุนแรงพอ ๆ กับที่เธอโจมตีพวกเขา นอกจากผู้นำระดับโลกจะไม่ยอมฟังเสียงเธอแล้ว ยังตำหนิเธออย่างรุนแรง แต่ก็มีผู้นำและนักการเมืองจำนวนหนึ่งที่รับฟังและเห็นด้วยกับการรณรงค์ของเธอ

Read more

ความมั่นคงอาหารมนุษย์เข้าสู่วิกฤต
ผู้คน 124 ล้านคนทั่วโลกเสี่ยงหิวโหย

ในปี พ.ศ. 2562 เป็นปีที่มีการเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่คึกคักที่สุดปีหนึ่ง ทว่า รายงานแต่ละชิ้นไม่ได้ทำให้วงการวิทยาศาสตร์คึกคักไปด้วย เพราะทุกฉบับเตือนเราว่าสถานการณ์กำลังน่าเป็นห่วง โลกร้อนกำลังทำลายองค์ประกอบทุกอย่างของโลก ไม่เฉพาะแค่สภาพอากาศ แต่ยังรวมถึง ดิน ทะเล และไฟป่าที่เกิดถี่ขึ้น และเมื่อองค์ประกอบเหล่านี้เสื่อมถอยลง มนุษย์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบ

Read more

เปิดเส้นทางอพยพ ‘เหยี่ยวนกเขา’
สู่การร่วมอนุรักษ์ในภูมิภาคอาเซียน

“เขาดินสอ” ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร สูงจากระดับน้ำทะเล 350 เมตร ซึ่งเป็นหมุดหมายของ “นักดูนก” ของประเทศในเอเชีย สหรัฐอเมริกาและยุโรป ต่างเดินทางมาท่องเที่ยวดูนกเป็นประจำทุกปีตั้งแต่เดือนเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จนทำให้ “เขาดินสอ” ติดอันดับจุดดูเหยี่ยวและนกอพยพที่ดีที่สุด 1 ใน 5 ของโลก

Read more

รายงานวิทยาศาสตร์  อาวุธคู่กาย
ของ ‘เกรต้า’ ที่ผู้นำโลกไม่ฟัง

หลายคนอาจจะเพิ่งรู้จัก เกรต้า ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) จากปาฐกถาอันร้อนแรงและดุดันของเธอในการประชุม Climate Action โดยเฉพาะวลีสั้น ๆ ที่กัดกินหัวใจว่า “How dare you?” เมื่อเธอตั้งคำถามต่อนักการเมืองและผู้นำโลกที่สนใจกับเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าหายนะจากปัญหาโลกร้อน แต่เด็กสาวชาวสวีเดน วัย 16 นักเคลื่อนไหวด้านปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสหภาพอากาศรายนี้ไม่ได้พูดด้วยอารมณ์ทุกครั้ง และเกือบทุกครั้งเธอจะยกสถิติและรายงานทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมายืนยันในสิ่งที่เธอต้องการให้ชาวโลกได้ตระหนัก

Read more

ไมโครพลาสติกอันตรายต่อมนุษย์
‘อ่าวไทยตัว ก’ เสี่ยงปนเปื้อนกว่าที่อื่น (จบ)

รศ.ดร.ประวิทย์ โตวัฒนะ คณะวิจัยการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผย igreen ว่า ผลงานวิจัยของคณะวิจัยการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล จากสถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาลัยวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 2 เรื่อง มีดังนี้ 1) จากการศึกษาโดยการเก็บตัวอย่างปลาเศรษฐกิจที่วางจำหน่ายในตลาดสดจำนวน 165 ตัวอย่าง และ 2) จากการศึกษาโดยการเก็บตัวอย่างปลาเศรษฐกิจที่วางจำหน่ายในตลาดสด

Read more

มอ.วิจัยปลาเศรษฐกิจอ่าวไทย
พบปนเปื้อน ‘ไมโครพลาสติก’

รศ.ดร.ประวิทย์ โตวัฒนะ คณะวิจัยการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผย igreen ว่า นักศึกษาของสถาบันฯ ได้ทำการวิจัยเรื่องไมโครพลาสติกมาก่อนจะมีข่าวพบไมโครพลาสติกในปลาทูของไทย โดยก่อนหน้านี้นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรการจัดการทางทะเลและชายฝั่ง ชาวบังคลาเทศของสถาบันฯ ศึกษาพบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาเศรษฐกิจของอ่าวไทยหลายชนิดมากกว่าหนึ่งของตัวอย่าง ซึ่งเป็นปลาที่จำหน่ายอยู่ในตลาดของ อ.สทิงพระ จ.สงขลา และงานวิจัยชิ้นดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศไป เมื่อปี 2561

Read more