IGreen Editor

ปกาเกอะญอกับบทบาทดับไฟป่า
ข้อสงสัยใครเป็นคนจุดไฟกันแน่?

กลุ่มชาติพันธุ์ตกเป็นเป้าเพ่งเล็งจากสายตารัฐว่าคือมนุษย์ที่ “ลงมือเผาป่า” จนเป็นสาเหตุให้เกิดไฟป่าครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในภาคเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ นำไปสู่การออกคำสั่งปิดป่า 100% ปิดแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์ไฟก็ยังเกิดขึ้นอยู่ในอีกหลายพื้นที่

Read more

OPINION: ข้อเสนอดับไฟป่าภาคเหนือ
‘สร้าง’ การจัดการเชิงระบบ

โดย – มานพ คีรีภูวดล, ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์ ตอนที่ 3 ว่าด้วยเรื่องของการ “สร้าง” 1. สร้างมาตรการ “ชิงใช้ไฟ” ก่อนที่ไฟไม่พึงประสงค์จะชิงก่อความเสียหาย ที่สอดคล้องตามเงื่อนไขของแต่ละนิเวศป่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมและลักษณะชุมชนท้องถิ่นด้วยหลักสหวิชาการ อาทิ มโนทัศน์ Prescribed Natural Fire Policy…

Read more

OPINION: ข้อเสนอดับไฟป่าภาคเหนือ
‘เลิก’ เติมเชื้อไฟความขัดแย้ง

โดย – มานพ คีรีภูวดล, ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์ ตอนที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของการ “เลิก” 1. เลิกใช้นโยบายที่มุ่งกำจัดไฟโดยไม่แยกแยะ (Fire Exclusion Policy) ด้วยอุดมคติที่ฝืนสภาพความจริง โดยไม่พิจารณาถึงเงื่อนไขสำคัญอื่นตามบริบทที่แตกต่าง โดยเฉพาะลักษณะทางนิเวศที่แตกต่างกันแม้กระทั่งในพื้นที่หนึ่งชุมชนท้องถิ่น ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรม ส่งผลให้มาตรการที่ผ่านมาล้มเหลวและสร้างภาวะสะสมเชิงผลกระทบสืบเนื่องมา

Read more

OPINION: ข้อเสนอดับไฟป่าภาคเหนือ
‘รื้อ’ การมองปัญหาแบบแยกส่วน

โดย – มานพ คีรีภูวดล, ธนากร อัฏฐ์ประดิษฐ์ ตอนที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของการ “รื้อ” 1. รื้อความเข้าใจต่อประเด็น “ไฟป่า” ส่วนหนึ่งมาจากที่ตัวมันเองถูกมองเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของปัญหามลพิษทางอากาศจนถูกเหมาเรียกแทบจะเป็นเนื้อเดียวกันกับปัญหามลพิษทางอากาศช่วงฤดูแล้งของภาคเหนืออย่างปัญหา “ไฟป่าหมอกควัน” ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับสิ่งแวดล้อม กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสุขภาพของผู้คนอย่างสาหัส โดยเฉพาะภาคเหนือที่เต็มไปด้วยพื้นที่ป่าลักษณะต่างๆ กว่า 64% ของภูมิภาค ย่อมเป็นเงื่อนไขใหญ่ที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างเลี่ยงไม่ได้

Read more

ซ่อม ‘โพรงรัง’ หวังเพิ่มประชากร
นกเงือกป่าฮาลา–บาลา

โดย – สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในเดือนมีนาคมถึงเมษายนของทุกปีถือเป็นช่วงเวลาที่นกเงือกเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ โดยนกเงือกเริ่มจับคู่และเสาะหาโพรงรังที่เหมาะสมเพื่อให้ตัวเมียออกไข่-ฟักไข่ ทว่าแม้ในป่าฮาลา–บาลา อ.แว้ง จ.นราธิวาส ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก สัตว์โบราณอย่างนกเงือกยังต้องเผชิญภาวะ ‘การขาดแคลนโพรงรัง’ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนประชากรนกเงือกลดลง

Read more

ซ่อม ‘โพรงรัง’ หวังเพิ่มประชากร
นกเงือกป่าฮาลา–บาลา

โดย – สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในเดือนมีนาคมถึงเมษายนของทุกปีถือเป็นช่วงเวลาที่นกเงือกเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ โดยนกเงือกเริ่มจับคู่และเสาะหาโพรงรังที่เหมาะสมเพื่อให้ตัวเมียออกไข่-ฟักไข่ ทว่าแม้ในป่าฮาลา–บาลา อ.แว้ง จ.นราธิวาส ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก สัตว์โบราณอย่างนกเงือกยังต้องเผชิญภาวะ ‘การขาดแคลนโพรงรัง’ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนประชากรนกเงือกลดลง

Read more

OPINION: ร่วมใจต่อสู้โลกร้อน
ให้เหมือนรวมใจสู้โควิด

ท่ามกลางการต่อสู้กับโควิด-19 ยังมีคนที่ไม่ลืมว่าเรายังมีปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ไขไปพร้อมๆ กัน Helen Regan เป็นโปรดิวเซอร์ฝ่ายดิจิทัลของ CNN เขียนบทความเอาไว้ว่า “โลกกำลังรวมตัวกันเพื่อต่อสู้กับโคโรนาไวรัส เราสามารถทำเช่นเดียวกันสำหรับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ”

Read more

OPINION: ไวรัสทำให้ลดคาร์บอนไม่ถึงเป้า
โลกมุ่งฟื้นเศรษฐกิจอย่างบ้าคลั่ง

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ องค์การนาซาเปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณประเทศจีนแสดงให้เห็นว่าระดับมลพิษลดลงอย่างมาก คาดว่าเป็นเพราะหลังจากการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่คนจีนถูกกัก ถูกปิดเมือง ถูกสั่งห้าม ทำให้ต้องหยุดความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ รวมถึงจักรกลในโรงงาน การขนส่ง การเดินทางลดลงเหมือนกับไม่มีผู้คนอาศัยในจีนเลย

Read more

Fake News ป่วนวงการอนุรักษ์
‘บ่อนกแก่งกระจาน’เหยื่อรายล่าสุด

ตั้งแต่สมัยเป็นคอลัมนิสต์ ผมเขียนลงในหนังสือพิมพ์หลายครั้งหลายหน ในระดับ “เพ้อ” เลยทีเดียว พร่ำพูดถึงความดีความงามของ “บ่อนกแก่งกระจาน” อันเป็น “โมเดลการอนุรักษ์” ที่สุดยอดอันหนึ่ง เท่าที่เมืองไทยเคยมีมา

Read more

ทักท้วงนักวิทยาศาสตร์จีน
ไวรัสกลายพันธุ์รุนแรงอาจไม่จริง

ตามที่นักวิทยาศาสตร์จีนตีพิมพ์ผลงานวิจัยเผยแพร่ในวารสาร National Science Review ระบุว่า เชื้อไวรัส SARS-CoV2 ซึ่งเป็นสาเหตุการก่อโรค COVID-19 ที่มีอยู่ตอนนี้ได้มีการกลายพันธุ์ โดยมีสายพันธุ์รุนแรง เรียกว่า L type ส่วนสายพันธุ์รุนแรงน้อย เรียกว่า S type

Read more