IGreen Editor

ติดโซลาร์รูฟท็อป
New Normal บ้านรักษ์โลกของเสนาฯ

แน่นอนว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กลายเป็นวิกฤตโลกจนสร้างผลกระทบกับให้กับทุกระบบ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสุขอนามัย แต่นัยหนึ่งยังมีสิ่งดีๆ ให้กับโลก คือการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ในด้านของการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา การเดินทางทั้งในประเทศและต่างประเทศหยุดลง ทำให้เกิดการฟื้นตัวของสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศกลับคืนมาในหลายๆ พื้นที่

Read more

10 เหตุผลคนไม่เอากำแพงกันคลื่น

อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักวิชาการด้านชายฝั่งทะเลที่เกาะติดเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนานและอยู่ในคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ยืนยันว่าเขาไม่เห็นด้วยกับกำแพงกันคลื่น โดยมี “เหตุผล 10 ประการของคนไม่เอากำแพงกันคลื่น” สนับสนุน ดังนี้

Read more

จับพิรุธสร้างเขื่อนกันตลิ่งพัง
ละเลงงบฯ 6,900 ล้านล้มเหลว

โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดต่างๆ มีปัญหาต่อเนื่องมาเป็นระยะๆ ล่าสุดพบว่าการก่อสร้างเขื่อนกันตลิ่งที่หาดมหาราช อ.สทิงพระ จ.สงขลา เฟสที่ 1 ความยาว 92 เมตร วงเงิน 18.6 ล้านบาท เริ่มโครงการวันที่ 29 มี.ค. 2559 ถึงวันที่ 22 พ.ค. 2560…

Read more

ทูตอเมริกาปกป้องแม่น้ำโขง
ไม่ใช่สมบัติของประเทศใดประเทศหนึ่ง

ผมได้ยินถึงความงามของแม่น้ำโขงครั้งแรกเมื่อนานมาแล้วก่อนที่จะย้ายมาอยู่เอเชีย ชาวอเมริกันและชาวไทยต่างให้ความเคารพแม่น้ำในประเทศของเราเหมือนกัน ผมเติบโตขึ้นใกล้กับแม่น้ำมิสซิสซิปปี ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในขนบประเพณีของอเมริกา และเป็นเส้นชีวิตทางเศรษฐกิจตลอดประวัติศาสตร์ของเรา ในภาษาของชนพื้นเมืองอเมริกันที่ตั้งชื่อแม่น้ำสายนี้ “มิสซิสซิปปี” หมายถึง “บิดาแห่งสายน้ำ” ส่วนคำว่า “แม่น้ำ” ในภาษาไทย หมายถึง “มารดาแห่งสายน้ำ” อันสะท้อนถึงสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเราทั้งสอง

Read more

เปรียบเทียบ 6 เมืองใหญ่ล็อคดาวน์
มลพิษลดฮวบเห็นได้ด้วยตาเปล่า

หนึ่งในสามของโลกอยู่ภายใต้การล็อคดาวน์ การจราจรทางอากาศลดลง โรงงานต้องหยุดเดินเครื่องจักร และชีวิตของมนุษย์จำนวนหนึ่งก็ต้องกักตัวอยู่บ้านชั่วคราว เหตุผลเหล่านี้เองทำให้คุณภาพอากาศเมืองใหญ่ของโลกดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่ามลพิษทางอากาศในแต่ละเมืองลดลงอย่างมาก ไนโตรเจนไดออกไซด์ในกรุงปารีสลดลง 54% รวมไปถึงในมาดริด มิลาน และโรมที่ลดลงเกือบ 50%

Read more

‘ชีวะภาพ’ หัวหน้าชุดพยัคฆ์ไพร
แจงบุกจับกะเหรี่ยงรุกป่าอมก๋อย

ประเด็นการเข้าตรวจสอบพื้นที่ของชุดพยัคฆ์ไพร กรมป่าไม้ และมีการแจ้งความดำเนินคดี แกอวย จามรจารุเดช ชาวบ้าน ม.7 ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2563 ทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นในมุมมองที่แตกต่างกันและเข้าใจว่า “ชุดพยัคฆ์ไพร” จากกรมป่าไม้จงใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อรังแกชาวกะเหรี่ยงที่ทำกินอยู่บนดอย

Read more

50 ปี วันคุ้มครองโลก
GC มุ่งขับเคลื่อนองค์กรใส่ใจสิ่งแวดล้อม

การดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการช่วยกันแก้ไขปัญหามลภาวะเป็นพิษและลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาขยะพลาสติกที่หลายคนทราบดีว่า ปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุมาจากวิธีการจัดการคัดแยกพลาสติกหลังการใช้ที่ไม่ถูกต้อง จึงทำให้ขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหาระดับโลก โดยในวันนี้ของทุกๆ ปี ถือเป็นวันสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือที่รู้กันว่า  “วันคุ้มครองโลก” หรือ Earth Day  ซึ่งประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (United Nations Environment Program หรือ “UNEP”) เมื่อวันที่ 22…

Read more

กะเหรี่ยงอมก๋อยงัดหลักฐานสู้
ยันเผ่าไร่ไม่ล้ำเขตป่าอนุรักษ์

ข้อมูลที่ชุดพยัคฆ์ไพร กรมป่าไม้ แจ้งดำเนินคดีกับ แกอวย จามรจารุเดช บ้านเลขที่ 65 ชาวบ้านแม่สอ ม.7 ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์จากการเผาไร่หมุนเวียนมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

Read more

ภูมิปัญญาการเผาแบบตั้งใจ
ช่วยต่อชีวิตผืนป่า ไม่ใช่การทำลาย

• เป็นเวลากว่า 13,000 ปีแล้วที่ชนพื้นเมืองอเมริกันเผ่าต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาเรียนรู้และตกผลึกการเผาป่าแบบตั้งใจ เผาในพื้นที่ที่ควบคุมในขนาดย่อมๆ เพื่อฟื้นฟูผืนป่าให้กลับมามีชีวิตหลังฤดูกาลแห้งแล้ง สำหรับชนเผ่าในป่าและภูเขา ป่าคือคลังอาหาร คลังยา เป็นวิถีชีวิตของพวกเขาที่สืบทอดมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย

Read more

เขื่อนจีนกักระบายน้ำโขง
ปล่อยอาเซียนด้านล่างเผชิญแล้ง

จีนกักน้ำโขงตอนบนไว้ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ตลอดทั้งปี และเลือกปล่อยน้ำจากเขื่อนตามอารมณ์ ทำให้ประเทศอาเซียนด้านล่างเผชิญภาวะแล้งจัด งานวิจัยล่าสุดจากกลุ่มนักอุตุนิยมวิทยาชาวอเมริกันยืนยันหลักฐานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกว่าจีนควบคุมระดับน้ำของแม่น้ำโขงให้ระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐวิสาหกิจของจีนได้สร้างเขื่อนหลายแห่งเพื่อกั้นแม่น้ำโขง ทีมวิจัยจึงเทียบระดับน้ำกับภาพถ่ายดาวเทียม รวมถึงระยะเวลาปฏิบัติการของเขื่อนเหนือแม่น้ำโขง ซึ่งตามปกติแล้วถ้าจีนแล้ง ประเทศใต้น้ำก็ต้องแล้ง ถ้าจีนมีน้ำมากประเทศใต้น้ำก็จะมีน้ำมาก แต่หลังจากจีนสร้างเขื่อนเรื่องแบบนี้ก็เริ่มไม่ปกติ ทีมวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างระดับน้ำที่ลดลงที่วัดได้ที่เชียงแสนและสภาพของแม่น้ำโขงจากภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงปีแรกๆ ที่จีนเริ่มสร้างเขื่อน สถานการณ์ชัดเจนอย่างมากช่วงที่จีนเริ่มเติมน้ำโขงเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ Manwan และ Dachaoshan ระดับน้ำที่วัดได้และการไหลตามธรรมชาติของแม่น้ำโขงลดลงหลังอย่างชัดเจน หลังจากปี 2555 เมื่อมีการสร้างเขื่อนใหญ่และอ่างเก็บน้ำสองแห่งซึ่งจำกัดปริมาณและเวลาของน้ำที่ปล่อยออกมาอย่างมาก รัฐบาลจีนตั้งใจใช้เขื่อนเหล่านี้เพื่อควบคุมการไหลของกระแสน้ำ…

Read more