IGreen Editor

น้ำแข็งขั้วโลกเหนือลดลง
หมียึดอาคารร้างเกาะอาร์กติก
แหล่งที่อยู่ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

มิทรี โคห์ (Dmitry Kokh) ช่างภาพชาวรัสเซียเดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกลของรัสเซียทางตอนเหนือ เมื่อในช่วงปลายฤดูร้อนปี 2021 โดยตั้งใจจะไปถ่ายภาพหมีขั้วโลกบนเกาะ Wrangel ซึ่งตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล และเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติและมรดกโลกที่ได้รับการคุ้มครองโดยองค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) สิ่งที่เขาพบกลับกลายเป็นภาพที่แปลกตาและคาดไม่ถึงบนเกาะ Kolyuchin ทางตอนใต้ของเกาะ Wrangel นั่นเพราะหมีขั้วโลกมากกว่า 20 ตัวเข้ามาอาศัยในอาคารที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของสถานีตรวจอากาศของสหภาพโซเวียต ซึ่งภาพที่เห็นหมีขั้วโลกเดินป้วนเปี้ยนอยู่ในอาคารที่ทรุดโทรม โดยต่อมาเขาปล่อยภาพเหล่านี้ลงโซเชียล และก็กลายเป็นภาพไวรัลอย่างรวดเร็ว…

Read more

มหากาพย์ขุด (เหมือง) ทอง 35 ปี
บทเรียนประวัติศาสตร์สัมปทาน

รัฐบาลประยุทธ์อนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่ให้กับบริษัทคิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำนวน 4 แปลง ให้สามารถกลับมาเปิด “เหมืองแร่ชาตรี” ได้อีกครั้ง หลังถูกคำสั่งตามมาตรา 44 ให้ยุติการขุดทองในประเทศไทยไปตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งอยู่ในช่วงที่คิงส์เกตได้ยื่นฟ้องอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศต่อรัฐบาลไทยเรียกค่าเสียหายถึง 25,000 ล้านบาท มหากาพย์เหมืองทองคำชาตรีมีที่มาที่ไปซับซ้อนและน่าสนใจ igreen ขอสรุปประเด็นสำคัญ ๆ มานำเสนอ…

Read more

แฟนกาแฟมีผวา
โลกร้อนป่วนแหล่งปลูก
ในปี 2050 ผลผลิตลด 50%

จากผลการศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่ใน Plos One เตือนว่า ภูมิภาคกาแฟที่สำคัญของโลกในบราซิล อินโดนีเซีย เวียดนาม และโคลอมเบีย ปริมาณการผลิตดจะ “ลดลงอย่างมาก” ประมาณ 50% ภายในปี 2050 รายงานระบุว่า กาแฟเป็นพืชที่ไวต่ออุณหภูมิสูงที่สุด ดังนั้นในประเทศที่เป็นแหล่งปลูกหลักจะมีสัดส่วนการผลิตลดลงประมาณครึ่งหนึ่งของโลกโดยเฉพาะสายพันธุ์ยอดนิยมอย่างอาราบิก้าที่พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกจะลดลงประมาณครึ่งหนึ่งภายในปี 2050 บางพื้นที่สำคัญจะได้รับผลกระทบหนักกว่า แม้แต่ในสถานการณ์จำลองที่อุณหภูมิสูงขึ้นน้อยที่สุดยังทำให้การปลูกกาแฟลดลงถึง 76% ในพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดของบราซิล…

Read more

มลพิษโอโซนในเอเชีย
ฉุดการผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก
กระทบความมั่นคงอาหาร

มลพิษโอโซนที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องในเอเชียสร้างความเสียหายต่อการปลูกข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพดให้กับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประมาณ 63,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เฉพาะจีนเพียงประเทศเดียวเสียหายถึงหนึ่งในสามของการผลิตข้าวสาลีที่มีศักยภาพ และเกือบหนึ่งในสี่ของผลผลิตข้าว เนื่องจากโอโซนขัดขวางการเจริญเติบโตของพืช เชื้อเพลิงพลังงานฟอสซิลจากรถยนต์และอุตสาหกรรมจึงไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทำให้คุณภาพอากาศที่แย่ลงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรในเอเชียตะวันออกอีกด้วย จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น มีมลพิษจากโอโซนในระดับสูง…

Read more

รู้หรือไม่กระแสฮิต NFT
ซื้อขายภาพ-คลิปแสนแพง
ทำลายสิ่งแวดล้อมมหาศาล?

ตอนนี้ NFT กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป มันมาจากคำว่า Non-Fungible Token ซึ่งแปลว่า “โทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้” เป็นหน่วยที่จัดเก็บข้อมูลในบัญชีแยกประเภทดิจิทัล หรือบล็อกเชนที่รับรองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกัน มันเป็นหลักการเดียวกับเหรียญคริปโท เพียงแต่ NFT จะอยู่รูปแบบของภาพถ่าย วิดีโอ เสียง และไฟล์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ จึงนำมาซื้อขายกัน โดยมีหนังสือรับรองความถูกต้องหรือหลักฐานการเป็นเจ้าของ จึงนิยมซื้อขายภาพหรือคลิป NFT…

Read more

‘โจโฉ’ ค้นพบ ‘ทารันทูลา’
แมงมุมสายพันธุ์ใหม่
ครั้งแรกในไทยที่ป่าเมืองตาก

ดร.นรินทร์ ชมภูพวง อาจารย์ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับแจ้งจาก JoCho Sippawat หรือ โจโฉ – ทรงธรรม สิปปวัฒน์ ยูทูบเบอร์ชื่อดังที่มีผู้ติดตาม 2.5 ล้านราย เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า พบแมงมุมชนิดหนึ่งที่บ้านแม่โถ อ.เมือง จ.ตาก…

Read more

หิมะตกในทะเลทราย
ซาอุฯ-สะฮาราตั้งแต่ต้นปี
สัญญาณปัญหาโลกรวน?

ไม่ใช่เรื่องปกตินักที่เราจะเห็นหิมะตกในพื้นที่แห้งแล้งกลางทะเลทราย แม้ว่าบางครั้งมันจะเกิดขึ้นได้ในทะเลทรายบางพื้นที่ เช่น ทะเลทรายในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเขตอบอุ่น (หรือที่เรียกว่าเมืองหนาว) หรือทะเทรายที่อยู่ใกล้เทือกเขาสูงระดับโลก เช่น ในทวีปอเมริกาใต้ แต่เป็นปรากฎการณ์ม่ค่อยปกติแน่ถ้าหิมะจะไปตกกลางทะเลทรายของประเทศที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เช่น ที่ซาอุดีอาระเบียเมื่อต้นเดือนนี้ ช่างภาพชาวซาอุดีอาระเบีย ออสมา อัล-ฮาบรี (Osama Al-Habri) ได้ถ่ายภาพทางอากาศจากเขตปกครองบัดร์ (Badr Governorate) หรือบะดัร ซึ่งมองเห็นภาพเหมือนการปูพรมด้วยหิมะสีขาวละลานตา ในภาพจะเห็นชาวบ้านรวมตัวกันเพื่อชมภาพปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดา…

Read more

22 ประเทศใช้ AI ดัก ‘เสียงจากป่า’
แก้ลักลอบตัดไม้-ล่าสัตว์
ใช้สำรวจระบบนิเวศได้ด้วย

เทคโนโลยี AI ที่เรียกตัวเองว่า “ผู้พิทักษ์” (Guardian ) เป็นอุปกรณ์ “ดักสัญญาณเสียง” ที่นำไปติดตั้งไว้ในพื้นที่ป่าลึก ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่น่าทึ่ง ฉะนั้นในขณะที่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าบ้านเรากำลังเดือดร้อนเพราะหลายคนต้องถูกเลิกจ้าง, ถูกตัดเงินเดือน เพราะภาครัฐไม่มีงบจ้าง รัฐบาลจึงควรทบทวนนโยบายด้านนี้และให้ความสำคัญในการปกป้องผืนป่าแทนที่จะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องมาลุ้นงบประมาณรายปี ภายใต้วิกฤตทรัพยากรธรรมชาติ igreen จึงขอนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าโดยการใช้ AI มานำเสนอหลังจากได้มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้ Rainforest Connection (RFCx)…

Read more

ห้างดังญี่ปุ่นจับมือสตาร์ทอัพ
นำบรรจุภัณฑ์สินค้าวนกลับมาใช้ซ้ำ
จุดเปลี่ยนช่วยลดขยะพลาสติก?

เมื่อปีที่แล้ว Aeon ช้อปปิ้งมอลชื่อดังของญี่ปุ่นได้ร่วมมือกับ Loop ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพบรรจุภัณฑ์แบบหมุนเวียน เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และกำจัดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมหาศาลที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นในแต่ละปี (ซึ่งญี่ปุ่นผลิตขยะพลาสติกมากเป็นอันสองของโลก) แต่ก่อน Aeon ก็เหมือนห้างอื่น ๆ ที่ใช้ภาชนะและบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งกับสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน เช่น อาหาร ผงซักฟอก และแชมพู ซึ่งสร้างขยะมหาศาล แต่ด้วยความร่วมมือกับ Loop พวกเขาจะหันมาใช้ภาชนะหมุนเวียนที่สามารถใช้งานได้หลายครั้ง เช่น…

Read more

พบนาโนพลาสติกครั้งแรก
ที่ขั้วโลกเหนือและใต้
อนุภาคมาจากยางรถยนต์-ขวดน้ำ

การปนเปื้อนของขยะพลาสติกกระจายไปทั่วโลก ล่าสุดตรวจพบมลพิษนาโนพลาสติกบริเวณขั้วโลกเหนือในมหาสมุทรอาร์กติก และขั้วโลกใต้ที่มหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งถือเป็นการพบครั้งแรก นั่นเท่ากับว่าขณะนี้อนุภาคขนาดเล็กของพลาสติกได้แพร่กระจายไปทั่วโลกแล้ว ที่น่าประหลาดใจก็คือไม่ใช่การพบบนพื้นน้ำแข็งธรรมดาอย่างที่เคยพบมาก่อนในอาร์กติก แต่ทีมนักวิจัยได้พัฒนาวิธีการตรวจหาแบบใหม่เพื่อวิเคราะห์อนุภาคนาโนที่มีขนาดเล็กกว่าด้วยการการเจาะแกนน้ำแข็งของกรีนแลนด์ลงไปที่ความลึก 14 เมตร ซึ่งเป็นชั้นหิมะตั้งแต่ปี 1965 หรือเมื่อ 57 ปีที่แล้ว โดยหนึ่งในสี่ของอนุภาคที่พบมาจากยางรถยนต์ ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์พบมลพิษพลาสติกตั้งแต่ยอดเขาเอเวอเรสต์ไปและผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ก็พบว่าอนุภาคเหล่านี้สร้างความเสียหายให้กับเซลล์ของมนุษย์ Dušan Materić แห่งมหาวิทยาลัย Utrecht ในเนเธอร์แลนด์…

Read more