ออซซี่พบวิธีรีไซเคลิโซลาร์เซล์ มาใช้เพิ่มความจุให้แบตลิเธียม

by Admin

แผงโซลาร์เซลล์ถือเป็นกุญแจดอกสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด แต่ปัจจุบันเกือบร้อยละ 90 จบลงที่หลุมฝังกลบเมื่อหมดอายุการใช้งาน โดยอายุการใช้งานมาตรฐานอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณ 25 ถึง 30 ปี 

การรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ยังเป็นเรื่องที่ยาก ซับซ้อน ใช้เวลานานในการถอดแยกชิ้นส่วนและมีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง แต่นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียจากมหาวิทยาลัยดีกิ้นกำลังร่วมกันทำงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สิ่งนี้

วิธีการของพวกเขาคืออาศัยความร้อนที่ซับซ้อนและกระบวนการทางเคมีที่คิดค้นขึ้นสกัดซิลิคอน (Silicon) ที่มีค่าออกจากแผงทำให้กระบวนการรีไซเคิลมีราคาถูกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แผงโซล่าเซลล์ส่วนมากที่เราคุ้นเคยส่วนใหญ่ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์ ยิ่งซิลิคอนมีความบริสุทธิ์มากเท่าไหร่ ยิ่งส่งเสริมคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้มากเท่านั้น

ซิลิคอนในแผงโซลาเซล์มีมูลค่ามากสำหรับธุรกิจรีไซเคิล การที่ทีมวิจัยสามารถสกัดซิลิคอนออกมาได้ในราคาถูกและใช้สารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายถือเป็นความก้าวหน้าอย่างมากในกระบวนการรีไซเคิล เพราะซิลิคอนที่สกัดออกมาได้นำสามารถนำกลับใช้เพิ่มความจุในแบตเตอรี่ลิเธียมที่ใช้ในธุรกิจรถไฟฟ้าได้อีก

ขั้นตอนต่อไปของเทคโนโลยีรีไซเคิลแผงโซล่าเซลล์ใหม่นี้คือการทดสอบเพื่อดูว่าสามารถใช้งานได้ในระดับอุตสาหกรรมได้หรือไม่

ที่มา

  • Mar 7, 2023. Recycling dead solar panels isn’t easy. These Australian scientists might have found a solution. EuroNews
  • Jan 23, 2023. New process extracts silicon from solar panels to build better batteries. deakin.edu.au

Copyright @2021 – All Right Reserved.