นักวิทย์เตือน ฤดูร้อน 2030 น้ำแข็งอาร์กติก ละลายอาจละลายสิ้น

น้ำแข็งอาร์กติกละลายแล้วยังไง นอกจากหมีขั้วโลกต้องอพยพก็ไม่เห็นจะมีผลกระทบอะไรกับเรา แต่รู้หรือไม่ น้ำแข็งอาร์กติกเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบภูมิอากาศ มันช่วยลดปริมาณแสงแดดที่มหาสมุทรจะดูดกลืนไปได้อย่างมาก คาดการณ์ได้ว่าหากน้ำแข็งอาร์กติกละลายอุณหภูมิมหาสมุทรสูงขึ้น ส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ละลายเร็วขึ้น อันเป็นส่วนสำคัญต่อระดับน้ำทะเล

การสูญเสียน้ำแข็งอาร์กติกในฤดูร้อนยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมทางชีวภาพของมหาสมุทรขั้นพื้นฐาน และเส้นทางเดินพายุ

มหาสมุทร​อาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือ ไม่มีขนาดพื้นที่ตายตัว แต่ทุกๆ ปีขนาดของขั้วโลกเหนือจะขยายกว้างสุดในฤดูหนาว ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม และจะหดเล็กลงในฤดูร้อนช่วงเดือนกันยายน

น้ำแข็งที่ยังคงอยู่ในช่วงปลายฤดูร้อนจะสะสมรวมกับน้ำแข็งเก่ากลายเป็น ‘น้ำแข็งหลายปี’ (multiyear ice)  ซึ่งทำทำหน้าที่เหมือนแผงกั้นความร้อนระหว่างน้ำในมหาสมุทรกับชั้นบรรยากาศ

แต่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา น้ำแข็งหลายปี ในมหาสมุทร​อาร์กติกได้หดตัวจาก 7 ล้านตารางกิโลเมตรเหลือ 4 ล้านตารางกิโลเมตร นั่นคือการสูญเสียเทียบเท่าอินเดียทั้งประเทศ

นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาเพื่อพิจารณาว่าเมื่อใดที่มหาสมุทรอาร์กติกอาจปราศจากน้ำแข็งในฤดูร้อน หรือที่เรียกว่า ‘ยามมหาสมุทรเป็นสีฟ้า’ (Blue ocean event) แต่ยังไม่มีการศึกษาใดสามารถระบุวันที่ที่แน่นอนของเหตุการณ์ดังกล่าวได้

จนกระทั่งการศึกษาล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้วิธีการใหม่ที่เรียกว่า ‘การคาดคะเนที่มีข้อจำกัดจากการสังเกต’  ที่เปรียบเทียบแบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่ได้จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงกับการสังเกต และพบว่าฤดูร้อนในอาร์กติกที่ปราศจากน้ำแข็ง อาจเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุดคือฤดูร้อนปี 2030 แม้ว่าโลกจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม

นี่คือสัญญาณขนาดใหญ่ที่ชัดเจนและน่าทึ่งที่สุดในการเปลี่ยนแปลงระบบภูมิอากาศขั้นพื้นฐานทุกที่ในโลก

น้ำแข็งอาร์กติกเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบภูมิอากาศ เนื่องจากมันช่วยลดปริมาณแสงแดดที่มหาสมุทรดูดกลืนไปได้อย่างมาก ด้วยการสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องเข้ามาประมาณ 85% กลับคืนสู่อวกาศ ต่างจากมหาสมุทรทั่วไปที่จะดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ถึง 90%

หากอาร์กติกปราศจากน้ำแข็งในฤดูร้อน รังสีดวงอาทิตย์จะพุ่งตรงไปมหาสมุทร กระตุ้นให้อุณหภูมิโดยรอบเพิ่มสูง ทำให้ภาวะโลกร้อนและผลกระทบในภูมิภาครุนแรงมากขึ้น แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์จะละลายเร็วขึ้นส่งผลโดยตรงต่อระดับน้ำทะเล

นอกจากนี้การสูญเสียน้ำแข็งในทะเล ยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของบรรยากาศและรอยพายุและการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในกิจกรรมทางชีวภาพของมหาสมุทร นี่เป็นเพียงผลที่ไม่พึงประสงค์บางส่วนและเป็นการยุติธรรมที่จะบอกว่าผลเสียมีมากกว่าประโยชน์เพียงเล็กน้อย

ที่มา

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

5 ปีอุณภูมิโลกส่อทะลุ 1.5 องศา ไทยเร่งรับมือ 6 สาขาเสี่ยงระดับพื้นที่