แอนตาร์กติกอุ่นขึ้น 2 เท่า ต้นเหตุเดิมหนีไม่พ้น ‘โลกร้อน’

การศึกษาล่าสุดระบุแอนตาร์กติกมีแนวโน้มร้อนขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับอัตราส่วนที่เหลือของโลก และเร็วกว่าแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คาดไว้ เสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลก 

เดิมทีสภาพอากาศของทวีปแอนตาร์กติกาขึ้นอยู่กับการความผันผวนตามธรรมชาติ ซึ่งในช่วงสองปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์หลายท่านพยายามทำควาเข้าใจว่าเหตุใดน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกจึงอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ รวมไปถึงการเสียชีวิตของลูกนกเพนกวินจักรพรรดิ์ หลายพันตัวในช่วงปลายปี 2565 หลังจากที่น้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกตะวันตกที่รองรับอาณานิคมละลาย โดยหลายคนเชื่อว่านี่คือสัญญาณบ่งชี้ว่าภาวะโลกร้อนกำลังส่งผลกระทบต่อภูมิภาคนี้แล้ว แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด

จนกระทั่ง ดร. มาติเยอ คาซาโด ผู้นำการศึกษาครั้งล่าสุดได้ ให้พบหลักฐานที่ชี้ชัดว่าแอนตาร์กติกกำลังอยู่ในช่วงการขยายขั้ว 

ปรากฎการณ์ การขยายขั้ว หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบริเวณขั้วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนอื่นๆ ของโลก จากผลกระทบของภาวะโลกร้อน 

หลักฐานชิ้นดังกล่าวเกิดจากดร.มาติเยอ และเพื่อนร่วมงานได้วิเคราะห์แกนน้ำแข็งแอนตาร์กติก 78 แกน เพื่อสร้างชุดข้อมูลอุณหภูมิย้อนหลัง 1,000 ปี ขึ้นมาใหม่ และทำการเปรียบเทียบ กับแบบจำลองสภาพภูมิอากาศและการสังเกตการณ์ จนพบว่าทวีปแอนตาร์กติกกำลังร้อนขึ้นในอัตราระหว่าง 0.22 ถึง 0.32 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ เทียบกับ 0.18 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษที่คาดการณ์ไว้โดยแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ

เป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่งที่เห็นภาวะโลกร้อนขึ้นอย่างมากในทวีปแอนตาร์กติก นอกเหนือไปจากความแปรปรวนทางธรรมชาติ” ดร.มาติเยอ กล่าว

แอนตาร์กติกมีขนาดเท่ากับทวีปอเมริกาและเม็กซิโกรวมกัน โดยแอนตาร์กติกตะวันตก เป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่ออุณภูมิที่สูงขึ้นมากที่สุด และหากแผ่นน้ำแข็งในภูมิภาคนี้พังทลาย อาจส่งผลกระทบให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นอีกหลายเมตร ซึ่งการศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นแล้วว่าอุณหภูมิในภูมิภาคนี้ร้อนขึ้นเป็น 2 เท่าของอัตราที่คาดการณ์ไว้ในแบบจำลอง

ดร. ซาราห์ แจ็กสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านแกนน้ำแข็งแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้ กล่าวว่าการค้นพบนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง เนื่องจากการคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลก่อนหน้าใช้อัตราการอุณหภูมิที่ต่ำกว่าที่ดร.มาติเยอได้ศึกษาไว้ล่าสุด หรือเท่ากับว่าแบบจำลองที่ผ่านมาประเมินการสูญเสียน้ำแข็งต่ำเกินไป

ดร.ไคล์ เคลม นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิกตอเรียแห่งเวลลิงตันในนิวซีแลนด์ ได้ทำการศึกษาอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ กล่าวว่าเดิมทีสภาพอากาศของทวีปแอนตาร์กติกาขึ้นอยู่กับการความผันผวนตามธรรมชาติ แต่การศึกษาของดร.มาติเยอ คาซาโด แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่ตรวจพบได้ในภูมิอากาศแอนตาร์กติกและการขยายขั้วโลกเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนโดยมนุษย์

ภาวะโลกร้อนที่แอนตาร์กติกมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การสูญเสียน้ำแข็งในทะเลเพิ่ม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การไหลเวียนของมหาสมุทรทั่วโลก และระบบนิเวศทางทะเล รวมไปถึงกระตุ้นให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

ที่มา

  • Sep 7, 2023. Antarctica warming much faster than models predicted in ‘deeply concerning’ sign for sea levels. The Guardian
  • Apr 24, 2023. Trends and variability in the Southern Annular Mode over the Common Era. Nature
  • Aug 11, 2022. The Arctic has warmed nearly four times faster than the globe since 1979. Nature

Related posts

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย

เร่งกองทุน Loss and damage ช่วยประเทศเปราะบางสู้วิกฤตโลกเดือด