วิจัยออสซี่พบ ‘สุสานฉลาม’ ที่สูญพันธุ์ 3.5 ล้านปีก่อน ในมหาสมุทรอินเดีย

(210921) -- CANBERRA, Sept. 21, 2021 (Xinhua) -- Undated photo provided by the Marine Biodiversity Hub on Sept. 21, 2021 shows a Grey Nurse Shark in Australia. More than 10 percent of Australia's shark species are at risk of extinction, a government report has found. The National Environmental Science Program (NESP) marine biodiversity hub on Tuesday published the first-ever complete assessment of extinction risk for all Australian sharks, rays and ghost sharks (chimaeras). It found that Australia is home to more than a quarter of the world's cartilaginous fish species, with 182 sharks, 132 rays and 14 chimaeras calling Australian waterways home and that 12 percent, or 39 species, are facing extinction. (Photo by David Harasti/Handout via Xinhua)

คณะวิจัยออสเตรเลียค้นพบ “สุสานฉลาม” บนพื้นมหาสมุทรอินเดีย ระหว่างการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของอุทยานทางทะเลสองแห่งล่าสุดของประเทศ

เมื่อวันพุธ ที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา องค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพของออสเตรเลีย เปิดเผยว่าคณะนักวิจัยบนเรือสำรวจอินเวสติเกเตอร์ (Investigator) ได้ค้นพบ “สุสานฉลาม” บนพื้นมหาสมุทรอินเดียขณะสำรวจสิ่งมีชีวิตและถิ่นที่อยู่อาศัยใต้ทะเล

ในระหว่างการเดินทาง ลูกเรือทิ้งตาข่ายถ่วงน้ำหนักลงไปประมาณ 5,400 เมตร เพื่อสำรวจวัสดุบนพื้นมหาสมุทรลึก แม้จะสุ่มตัวอย่างเป็นบริเวณเล็กๆ แต่ลูกเรือก็ต้องประหลาดใจที่พบฟันฉลามกว่า 750 ซี่

ฟอสซิลฟันเหล่านั้นไม่ได้เป็นแค่ของฉลามสายพันธุ์ยุคใหม่ เช่น ฉลามมาโกและฉลามขาว แต่ยังรวมถึงสายพันธุ์ก่อนประวัติศาสตร์ อาทิ บรรพบุรุษของเมกาโลดอน ฉลามสายพันธุ์ยักษ์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 3.5 ล้านปีก่อน

จอห์น คีซิง หัวหน้านักวิทยาศาสตร์จากองค์การฯ ประมาณการว่าหนึ่งในสามของสายพันธุ์ที่รวบรวมได้ในการเดินทางครั้งนี้เป็นสิ่งใหม่สำหรับวงการวิทยาศาสตร์ ซึ่งรวมถึงฉลามฮอร์นสายพันธุ์ใหม่ ที่อาศัยอยู่ในน้ำลึกกว่า 150 เมตร และไม่เคยได้รับการตั้งชื่อมาก่อน

คีซิงระบุว่าการค้นพบไม่ได้มีเพียงสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศทางทะเล การกระจายพันธุ์ ความอุดมสมบูรณ์ และพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลมากขึ้น

“ตั้งแต่ฉลามตัวเล็กสายพันธุ์ใหม่บริเวณก้นทะเล ไปจนถึงฉลามโบราณขนาดใหญ่ที่เคยท่องไปทั่วมหาสมุทร การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้ส่งมอบข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรของเรา” คีซิงกล่าว

องค์การฯ ดังกล่าวกำลังดำเนินการสำรวจในนามของพาร์ก ออสเตรเลีย (Parks Australia) ต่อ เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับอุทยานทางทะเลและสนับสนุนความพยายามการอนุรักษ์

ที่มา : สำนักข่าวซินหัว

Related posts

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

COP29 มุ่งมั่นเป้าหมายทางการเงินใหม่ ชาติพัฒนาแล้วจ่าย 1 แสนล้าน

‘เฉลิมชัย’ พาหมูเด้งบุก COP29 เปิด Thailand Pavilion โชว์แก้โลกเดือด