‘โคคา-โคล่า’
หนุนใช้พลาสติกรีไซเคิล
อีกแนวทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบัน มีขยะพลาสติกเล็ดลอดลงสู่ทะเลและมหาสมุทรแล้วกว่า 150 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นอีกประมาณปีละ 8 ล้านตัน ขณะเดียวกันหลากหลายประเทศก็ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นเดินหน้าจัดการปัญหาขยะพลาสติกนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastics) ตลอดจนนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมารีไซเคิลให้ได้มากที่สุด รวมทั้งนำพลาสติกรีไซเคิลมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม (food-contact packaging and bottle-to-bottle recycling)

Read more

คพ.เป็นแค่..หน่วยงานกลาง
ฝุ่น PM2.5 ทุกกระทรวงต้องช่วยกันแก้

คอลัมน์ IGreen Talk คุยกับ อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะหนึ่งในกลไกรับผิดชอบการแก้ไขปัญหา PM2.5 เขาบอกว่า รัฐบาลได้กำหนดให้การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นวาระแห่งชาติมาตั้งแต่ปี 2562 และปีนี้ได้เพิ่มเติมมาตรการเข้าไปให้สอดคล้องกับการถอดบทเรียนในช่วงที่ผ่านมา

Read more

เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดสากล
ลดผลกระทบระบบนิเวศในระยะยาว

ปัจจุบันมีสถานที่กว่า 150 แห่งทั่วโลกเข้าร่วมเป็น “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดสากล” ซึ่งนอกจากจะเป็นการรณรงค์ให้เกิดการลดมลภาวะทางแสงที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สุขภาพของมนุษย์ และการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังมีส่วนช่วยอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดยามค่ำคืนให้คงความสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงดาราศาสตร์ สร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในสถานที่นั้นอีกด้วย

Read more

งานเพื่อส่วนรวม ‘อรช บุญ-หลง’
จาก No Foam for Food
ถึงดอยหลวงเชียงดาว

หลังกลับจากปารีส “อรช บุญ-หลง” ไม่อยากทำงานในกรุงเทพฯ แต่เลือกมาปักหลักที่เชียงใหม่ และตัดสินใจเปิดร้าน “หอมปากหอมคอ” ขายขนม แต่เธอบอกว่าทำไปทำมาการขายขนมมันยังไม่ตอบโจทย์ เพราะอยากทำงานที่ตัวเองได้ใช้ความคิด เป็นงานที่หาเลี้ยงชีพได้ และมีประโยชน์กับส่วนรวม จึงเป็นที่มาของการผันตัวเป็นนักกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม “อรช” เริ่มต้นทำกิจกรรมงานเมืองเมือง นิทรรศการศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับเมือง ต่อมาขยับมาจับงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยร่วมกับเพื่อนในโครงการ No Foam for Food บนถนนคนเดิน

Read more

ผ้าห่มจากพลาสติกรีไซเคิล 7.6 ล้านขวด
ต้านภัยหนาวและช่วยลดโลกร้อน

หลายพื้นที่ของประเทศไทยที่ประสบกับสภาพอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง มีโอกาสเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ โรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เพราะเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ หรือภาวะ Hypothermia ทำให้หัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และอวัยวะอื่นๆ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น หรือเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้

Read more

ปกป้องแหล่งผลิตออกซิเจนโลก
สิงห์อาสาจับมือ 12 สถาบันการศึกษา
ปลูกฝังเยาวชนลดขยะสู่ทะเล

มีความจำเป็นจะต้องให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นผู้ต้องใช้ชีวิตในโลกอนาคตได้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทะเลและมหาสมุทรที่เป็นแหล่งผลิตออกซิเจนที่ใหญ่ที่สุดของโลกราว 70% ของออกซิเจนในบรรยากาศทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพขนาดใหญ่ ฉะนั้นการลดปัจจัยรบกวนธรรมชาติ อย่างเช่นการลดขยะลงสู่ทะเล จึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลและมหาสมุทร

Read more

ใช้กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ
ให้ผู้ก่อมลพิษ (ผู้ผลิต) แบกรับต้นทุน

แม้การก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจะไม่เห็นผลในระยะสั้น แต่ก็ส่งผลกระทบในระยะยาวโดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ ดังนั้นถึงวเลาที่จะต้องนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle: PPP) มาใช้บังคับซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับการนำต้นทุนที่เกิดจากการก่อมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมาเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตสินค้าหรือการบริการ โดยนำกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (Food Traceability) มาประกอบการดำเนินการเพื่อจะได้ทราบแหล่งที่มาการก่อมลพิษ

Read more

กล้องจับภาพเสือพูม่าเผือก
ชั่วชีวิตอาจได้เจอแค่ครั้งเดียว

เผยภาพหาชมได้ยากผลงานจากกล้องที่ติดตั้งไว้ในอุทยานแห่งชาติแซร์รา โดส ออร์เกาส์ (Serra dos Órgãos) ในป่าแอตแลนติกทางตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิลสามารถจับภาพของเสือพูม่า หรือคูการ์ที่มีขนสีขาวทั้งตัว โดยภาพถ่ายดังกล่าวถ่ายในปี 2556 เป็นครั้งแรกที่ได้รับการยืนยันว่าพบสิงโตภูเขาที่มีอาการ Leucism (ลูซิซึ่ม) ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายส่วนใหญ่เป็นสีขาว หรือที่เรียกกันว่าสัตว์เผือกนั่นเอง ภาพนี้เพิ่งจะได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างเมื่อเร็วๆ นี้ผ่านทาง National Geographic

Read more