วิจัยสุดบ้า จับคนมาวิ่งท่ามกลางสภาวะ “ฝุ่น PM 2.5” พุ่งสูง ผลลัพธ์ชวนอึ้ง เกิดภาวะพังผืดในปอด เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น เสี่ยงเป็นโรคร้ายระยะยาว
เป็นที่ทราบกันดีว่า “ฝุ่น PM2.5” มีผลกระทบต่อร่างกายของเราสูงมาก การออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศสูง ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มลพิษทางอากาศเพิ่มสูงขึ้น อย่าง ฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพโดยรวมของผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
เว็บไซต์ journal ได้เผยผลการวิจัย ผลกระทบของการออกกำลังกายต่อความสามารถในการหายใจและโปรไฟล์ทางโลหิตวิทยา โดยจับคนเป็นๆ มาทดลองให้เผชิญกับฝุ่น PM2.5 แบบจริงจัง ด้วยการเก็บค่า VO2max เพื่อดูการพัฒนาของสมรรถภาพปอด และเก็บค่าเลือด เพื่อดูการทำงานของเม็ดเลือดขาว-เม็ดเลือดแดง การทดลองนี้มีผู้เข้าร่วมจำนวน 15 คน อายุระหว่าง 16 ถึง 18 ปี จากเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งทำการออกกำลังกายในศูนย์กีฬาสาธารณะสองแห่งที่มีระดับมลพิษทางอากาศแตกต่างกัน จำนวน 21 วัน ต่อด้วย พักผ่อนอีก 21 วันระหว่างกลาง และไปเผชิญสภาวะฝุ่นสูง อีก 21 วัน มีการวัดค่าปอดและเลือด วันที่หนึ่ง และวันที่ 21 แรก และวัดซ้ำ ในวันที่หนึ่ง และ 21 หลัง ในสภาวะที่ต่างกันของฝุ่น
โดยผู้เข้าร่วมวิจัยถูกมอบหมายให้ออกกำลังกาย เป็นระยะเวลา 40 นาที (ความถี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์) ประกอบไปด้วย
- 5 นาทีวอร์มอัพ
- 30 นาทีวิ่งที่ความหนักแบบ Sub-Maximum
- 5 นาทีคูลดาวน์
จากนั้นจะเปรียบเทียบและวิเคราะห์พารามิเตอร์ที่วัดได้ในทั้งสองสถานที่ ความสามารถในการใช้ออกซิเจน FVC และเม็ดเลือดแดง หลังจากผู้เข้าร่วมออกกำลังกายในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศต่ำกว่า จะแสดงค่าที่สูงกว่าการออกกำลังกายในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงกว่า ในขณะออกกำลังกาย พบว่า เม็ดเลือดขาวสูงขึ้น หลังจากผู้เข้าร่วมออกกำลังกายในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงกว่า ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมลพิษทางอากาศส่งผลต่อลักษณะทางสรีรวิทยาของมนุษย์
การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการใช้ออกซิเจนและความสามารถในการหายใจออก (FVC) สูงขึ้นเมื่อออกกำลังกายในพื้นที่ที่มีฝุ่น PM2.5
เม็ดเลือดขาวสูงขึ้นในกลุ่มที่ออกกำลังกายในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง ซึ่งบ่งชี้ถึงการตอบสนองของร่างกายต่อมลพิษ เมื่อเผชิญกับสภาวะ PM ที่มีค่าสูง (102.33 µg/m³) ระดับเม็ดเลือดขาวมีการเพิ่มขึ้นถึง 1.39 ไมโครลิตร (x 10³/µl) “และ” สภาวะฝุ่น PM ที่ 83.44 µg/m³ ค่าเม็ดเลือดขาวของผู้ทดสอบมีการเพิ่มขึ้นเช่นกันที่ 0.92 ไมโครลิตร (x 10³/µl)
การเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวมีข้อเสียอย่างไร
การเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาว ย่อมหมายถึงการที่ร่างกายมีการอักเสบและติดเชื้อเพิ่มขึ้น ทำให้เม็ดเลือดขาวต้องทำงานหนักในการเป็นภูมิคุ้มกันร่างกาย เพื่อตอบสนองต่อการอักเสบและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากฝุ่นละออง โดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจและระบบหมุนเวียนเลือด
- การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ
เม็ดเลือดขาวที่สูงมากอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ อ่อนแรง หรือเวียนศีรษะ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
- ความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง
หากระดับเม็ดเลือดขาวสูงเกิดจากโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรง เนื่องจากเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นจะไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
- ผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด
ในกรณีที่ระดับเม็ดเลือดขาวสูงมาก (Hyperleukocytosis) อาจทำให้เลือดมีความหนืดสูง ส่งผลให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่อาการหัวใจขาดเลือดหรือสมองขาดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
- อาการทั่วไปที่ไม่สบาย
ผู้ที่มีเม็ดเลือดขาวสูง มักจะประสบกับอาการไม่สบาย เช่น ปวดเมื่อยตามร่างกาย น้ำหนักลด หรือมีเหงื่อออกมาก ซึ่งเป็นสัญญาณของความเครียดในร่างกาย
ฝุ่นเยอะสุขภาพปอดไม่พัฒนา
ในส่วนค่าปอดจากการวัด VO2max สามารถสรุปได้ว่า ความจุปอดสูงสุดที่หายใจออกอย่างเร็วและแรง (FVC) มีการพัฒนาขึ้นในสภาวะที่มีค่า PM 2.5 ที่ 83.44 µg/m³ แต่ไม่มีการพัฒนาเมื่ออยู่ในสภาวะที่ฝุ่นสูง (102.33 µg/m³)
ว่ากันว่าตัวฝุ่น PM 2.5 ที่สูงสามารถเข้าไปสะสมในถุงลมปอดและอาจก่อให้เกิด ภาวะพังผืดในปอด (Fibrosis) ส่งผลให้ความยืดหยุ่นของปอดลดลง และความสามารถในการรองรับอากาศที่เข้าสู่ปอดแย่ขึ้นมาก
คำแนะนำในการออกกำลังกาย
- ตรวจสอบคุณภาพอากาศ: หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในวันที่มีค่ามลพิษสูง
- เลือกเวลาที่เหมาะสม: ออกกำลังกายในช่วงเวลาที่มีมลพิษต่ำ เช่น เช้าหรือเย็น
- เปลี่ยนไปออกกำลังในร่ม: ในวันที่คุณภาพอากาศไม่ดี ควรเลือกทำกิจกรรมในสถานที่ปิดหรือยิม
- ใช้หน้ากากอนามัย: หากต้องออกกำลังกลางแจ้งในวันที่มีมลพิษ ควรใช้หน้ากากอนามัยชนิด N95 เพื่อช่วยกรองฝุ่นละออง
ทั้งนี้ การออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศสูง สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้อย่างมาก ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศ และเลือกวิธีการออกกำลังที่เหมาะสมเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
อ้างอิง :