กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความเสี่ยงจมน้ำอันดับที่ 5 แต่ถ้าจะย้ายเมือง มาจากปัญหารถติดมากกว่าน้ำท่วม หวังว่าย้ายเมืองแล้วจะดี แต่ปัญหาจริงๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องภูมิศาสตร์ แต่เป็นเรื่องนิสัยคน การย้ายเมืองจึงไม่ใช่ง่าย เพราะเป็นการย้ายทั้งคน เศรษฐกิจ และตลาดแรงงาน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “กรุงเทพฯ เมืองหลวง ปรับเปลี่ยนหรือโยกย้าย” ในงานเสวนา “ย้ายเมือง หรือ อยู่ต่อ หากกรุงเทพฯ ต้องจมน้ำ” ตอนหนึ่งว่า เป็นผู้ว่าได้ 4 เดือนจะย้ายเมืองหลวงเขาคงด่าเอา เป็นผู้ว่าปุ๊บจะย้ายเมืองหลวงเลย “เรื่องหลักผมว่าไม่ใช่เรื่องจมน้ำ เรื่องน้ำเรื่องเล็ก แต่เรื่องหลักคือปรับเปลี่ยน หรือโยกย้าย”
ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาที่ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงการแก้ปัญหาเมืองหลวงที่อาจจมน้ำ…
น้ำก็เรื่องหนึ่ง แต่มีเรื่องอื่นด้วย น้ำท่วม เมืองทรุด รถติด การจราจร ปัญหาเรื่องผังเมืองที่แก้ไม่ได้ง่ายๆ เพราะต้องไปไล่ของเดิม ยังมีเรื่องคุณภาพชีวิต เรื่องฝุ่น สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัยราคาแพง ถามว่าเด็กจบใหม่จะซื้อที่อยู่ได้ต้องไปวงแหวน อยู่ไกล สิ่งเหล่านี้อาจโหดร้ายมากกว่าน้ำท่วมอีก
ใจผม ความหมายคำว่า ‘ย้ายเมืองหลวง’ มันมีมิติอื่นที่ไม่เหมือนสมัยก่อนเหมือนย้ายสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กรุงเทพฯ ในอดีตรัฐคอนโทรล แต่ปัจจุบันเป็น market control คนที่ตัดสินใจอาจไม่ใช่รัฐบาลด้วยซ้ำ พื้นที่ของกรุงเทพฯ อยู่ในแอ่งกระทะ สูงจากระดับน้ำทะเล 1-1.5 เมตร ซึ่งถ้าจะดูน้ำท่วมให้ไปดูประตูระบายน้ำพระโขนงที่น้ำจากคลองแสนแสบออกพระโขนงและมาจากคลองประเวศบุรีรมย์ ซึ่งระดับน้ำเจ้าพระยาบริเวณประตูระบายน้ำจุดนี้สูงกว่าพื้นที่กรงเทพฯ 2 เมตร ถ้าประตูระบายน้ำพระโขนงแตกจะจมทั้งกรุงเทพฯ
ที่ประตูระบายน้ำพระโขนงน้ำท่วมคราวนี้ปริ่มอีกนิดเดียวก็จะข้ามประตูเข้ามาแล้ว ซึ่งจะต้องปรับปรุงใหม่ ต้องดูเรื่องความแข็งแรง เพราะพื้นดินต่ำกว่าแม่น้ำเยอะ เราไม่ต่างจากเนเธอแลนด์เท่าไหร่ แต่เราไม่เห็นภาพ ซึ่งทำให้เราจะต้องมีประตูระบายน้ำ แต่ส่งผลเกี่ยวเนื่องเพราะทำให้น้ำเน่า เปิดก็ไม่ได้เพราะระดับน้ำไม่เท่ากัน
แต่ตอนนี้กรุงเทพฯ ทรุดตัวลดลงเพราะเราหยุดดูดน้ำใต้ดินแล้ว เรื่องดินทรุดตัวน่าจะอยู่ตัว ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เรื่องใหญ่คือ เกิดคลื่นพายุซัดขึ้นฝั่ง (Storm Surge) ในอ่าวไทยก็อาจจะเหมือนในรัฐฟลอริดาที่จะอันตรายอีกตัว ซึ่งกรุงเทพฯ ติดอันดับเสี่ยงจมน้ำอันดับที่ 5 แต่ผมว่าถ้าจะย้ายเมือง คงย้ายเพราะรถติดมากกว่าน้ำท่วม เพราะรถติดใน กทม.ติดอันดับหนึ่งของโลกเลย เพราะการเดินทางมันมีปัญหา เพราะผังเมืองส่วนหนึ่ง แต่ last mile (ระบบการขนส่งคนจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง) ยังไม่ดี
มีอีกหลายมิติ เช่น พื้นที่สีเขียวไม่พอ ที่มี 6.9 ตารางเมตร/คน ก็ไปกว้านที่นาจากหนองจอก มีนบุรีมานับด้วย จริงๆ มีไม่ถึง 1 ตรม.ต่อคน ส่วเรื่องน้ำที่จะท่วม กทม.มี 4 ปัจจัยคือ 1) น้ำเหนือ ถ้สเกิน 3,000 ลบ.ม.จะเริ่มเสี่ยง 2) น้ำทะเลหนุน ก็ให้ระวังในวันที่ 29 พ.ย.นี้ ฐานน้ำจะขึ้นมา 1.23 เมตรสูงสุดของปีนี้ถ้าฝนตกหนักจะยิ่งมีปัยหา 3. น้ำฝน และ 4. น้ำที่ไหลมาตามทุ่ง เช่น ทุ่งรังสิต ทุ่งเจ้าเจ็ด
ปัญหาอีกส่วนคือขยะแม้จะย้ายออกไปแล้วแต่ไม่เปลี่ยนนิสัย ออกแบบอย่างไรเมืองใหม่ก็มีปัญหาจากขยะ ทั้งขยะอุดท่อระบายน้ำ การรุกล้ำคูคลอง แม้ย้ายไปอยู่ที่ดิน แต่ถ้าระบายน้ำไม่ได้ ฝนตกมาก็ท่วมอยู่ดี ปัญหาที่น่ากลัวดูปริมาณน้ำฝน 6 ปีย้อนหลังพบว่า 16 วันเกิน 100 มม. ฝนตกในพื้นที่ กทม.หนักขึ้นซึ่งเป็นผลจากภาวะโลกร้อน
ผมว่าที่น่ากลัวกว่าน้ำท่วม คือราคาที่ดินที่สูงขึ้นจากการปรับตัวจากการกระจุกตัวของเมือง ทำให้คนหาที่อยู่อาศัยไม่ได้ เด็กรุ่นใหม่ต้องไปอยู่ไกลจากที่ทำงานมากขึ้น แต่งานอยู่ที่เดิม อยู่ท่าพระจันทร์ อยู่สีลม คนก็ต้องเดินทางเยอะขึ้น บ้านราคาต่ำกว่า 5 ล้านไปอยู่ไกลแถววงแหวนแล้ว ผังเมืองก็มีปัญหา
ต่อมา คือกรณีป้าทุบรถ จากปัญหาการสร้างตลาดถึง 5 แห่งรอบบ้านพักโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แห่งละ 1,000 ตร.ม. ซึ่งเป็นการเอากฎหมายผังเมืองมาพลิกแพลงให้ตลาดมีขนาดใหญ่และคนมากันเยอะ ยังมีกรณีโรงงานหมิงตี้ จ.สมุทรปราการ ตั้งอยู่ในผังเมืองสีแดงที่ติดกับผังเมืองสีเหลืองที่เป็นที่อยู่อาศัย นี่ก็ปัญหาผังเมือง
คำถามคือ เมืองคืออะไร เมืองคือคน เมืองคือตลาดแรงงาน (labor markets) แต่ก่อนย้ายเมืองได้เพราะราชการเป็นเจ้าของตลาดแรงงานหรือราชการเป็นคนจ้างงาน ปัจจุบันราชการไม่ใช่เจ้าของเพราะจ้างนิดเดียวแล้ว คนที่จ้างงานจริงๆ คือเอกชน ถ้าจะย้ายเมืองเราแทบไม่มีอำนาจไปบอกย้าย แต่เอกชนเขาจะย้ายเอง ถ้าเขาประเมินความเสี่ยงเขาก็ย้ายไปเมืองอื่นหรือประเทศอื่นด้วยซ้ำ
ฉะนั้นการย้ายเมืองไม่เช่เรื่องง่าย เพราะคือการย้ายคน ย้ายเศรษซกิจและย้ายตลาดแรงงาน การย้ายราชการแทบไม่มีความหมายแล้วเพราะเมืงหนที่เห็นราชการเยอะๆ แสดงความเมืองนยั้นล้าสมัย เช่น เห็นจราจรมาโบกรถ แต่ต่างประเทศไม่ค่อยเห็นเพราะเมืองเขาอยู่เขาเองได้ ราชการควรไปอยู่เบื้องหลังที่แทบมองไม่เห็นด้วยซ้ำ
ดังนั้น การย้ายเมืองอย่างเช่น อินโดนีเซีย ที่มีปัยหาคล้ายๆ กทม. อาจจะหนีเสือปะจระเข้เพราะไม่ได้ปรับมายด์เซ็ต ดังนั้นแทนที่จะย้ายอาจจะกระจายเมืองทำเป็นแซ็ตเทิลไลน์ ตอนนี้คนอยู่ในเมืองไม่ได้เพราะแพง ตอนนี้บ้านเดียว ทาวน์เฮ้าส์อยู่ด้านนอกหมดแล้ว ใกล้วงแหวนก็ซื้อไม่ได้แล้วต้องไปซื้อเลยวงแหวน
สีแดง (กลางเมือง) คือคอนโดขึ้นตามรถไฟฟ้า และพื้นที่ออฟฟิศก็อยู่แนวรถไฟฟ้า เช้าๆ รถจึงติดและหนักกว่าน้ำท่วม จึงแก้ไม่ง่าย จะปรับผังเมืองใหม่ ให้คนกระจายขึ้นเหรอ ผมว่าจะต้องกระจายเมืองย่อยๆ ออกไปเหมือนในโตเกียว อย่างเช่น ชินชุกุ ชิบุยา เอางานไปใกล้บ้านให้มากขึ้น หรือปารีส 15 นาที ที่สร้างเมืองย่อยในเมืองใหญ่ ชีวิตก็จะง่ายขึ้น กรุงเทพฯ 15 นาทีที่จะทำต้องลองดูว่าจะทำอย่างไรต่อ
สำหรับการแก้ปัญหาน้ำทะเลหนุนสูง จะยกถนนให้ขึ้นสูง แล้วทำแบริเออร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาคล้ายๆ แม่น้ำเทมส์ ซึ่งปิดได้ในกรณีน้ำทะเลหนุนสูง ช่วยแก้น้ำเค็มดันด้วย และอาจย้ายเรือคลองเตยออกไปอยู่แหลมฉบังแทนซึ่งจะได้ที่ประมาณ 2,000 ไร่ มาทำอย่างอื่นหรือสวนสาธารณะ นอกจากนั้นเรื่องการทำงานในอนาคตจะผ่านคลาวด์มากขึ้น สถานที่อาจไม่สำคัญ
เช่น บางบริษัทย้ายไปอยู่เชียงใหม่เพราะงานขายดิจิทัลเซอร์วิสผ่านระบบออนไลน์ที่ส่งผ่านระบบอินเตอร์เน็ตข้ามโลกได้เลย อนาคตเมืองจะย้ายไปอยู่บนคลาวด์ เหมือยจ่ายภาษีออนไลน์ ไม่ต้องเห็นหน้าผมหรอก ถ้าจะย้ายกรุงเทพฯ ย้ายบริการทั้งหมดขึ้นไปยู่บนคลาวด์ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เพราะย้ายแล้วยังทุจริตก็ยิ่งเจ๊ง
ทั้งนี้ เชื่อว่าตลาดจะกำหนดเอง ต่อไปถ้าเขากลัวเรื่องน้ำท่วม รัฐบาลไม่มีแผนอะไร คนก็หนีไปอยู่ที่อื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าเอง ซึ่งรัฐบาลต้องปรับตัว
งานเสวนาดังกล่าวจัดโดยนิตยสารสารคดีร่วมกับสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 6 ณ คณะศิลปศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์