ค้นพบจุลินทรีย์ร่วม 1,000 ชนิดบนธารน้ำแข็งเทือกเขาทิเบต

เมื่อเดือน ก.ค.ปี 2021 มีรายงานว่า ทีมนักวิจัยจาก Ohio State University พบไวรัสอายุ 15,000 ปีที่ไม่ซ้ำกันหลายสิบชนิดจากแผ่นน้ำแข็งกูลียาของที่ราบสูงทิเบต และนักวิจัยพบว่าไวรัสที่พวกเขาระบุตัวตนได้จำนวน 28 จาก 33 ชนิดนั้นไม่เคยพบเห็นมาก่อน

ข่าวนี้สร้างความตื่นตัวให้กับชาวโลกอย่างมาก เพราะหากธารน้ำแข็งทิเบตละลายไป มันอาจจะปลดปล่อยเชื้อโรคที่เราไม่รู้ออกมาอาละวาดอีกไม่รู้เท่าไร

จนกระทั่งอีก 1 ปีถัดมา เดือน ก.ค. ปี 2021 มีรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ที่นำโดยนักวิจัยจาก Lanzhou University ได้ค้นพบ 968 สปีชีส์ของมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิดในธารน้ำแข็งทิเบต

นักวิจัยได้ใช้ความพยายามมหาศาล สุ่มตัวอย่างหิมะ น้ำแข็ง และฝุ่นจากธารน้ำแข็งทิเบต 21 แห่งระหว่างปี 2016 ถึง 2020 สิ่งที่พบคือ 82% ของจีโนมเป็นสายพันธุ์ใหม่มากถึง 11% พบในธารน้ำแข็งแห่งเดียวเท่านั้น ในขณะที่ 10% นั้นพบได้ในธารน้ำแข็งเกือบทั้งหมดที่ทำการศึกษา

การค้นพบครั้งนี้ไม่ได้มาพร้อมกับคำเตือนอะไรเหมือนการค้นพบเมื่อปีที่แล้ว อาจเป็นเพราะมันเป็นการค้นพบจุลินทรีย์ใหม่ๆ เท่านั้น ซึ่งอาจมีทั้งคุณและโทษต่อมนุษย์ ไม่เหมือนกับการค้นพบไวรัสอายุ 15,000 ปี

แต่อย่างน้อยในช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่และบวกกับพลังการทำลายล้างของภาวะโลกร้อนที่ทำลายธารน้ำแข็งอย่างรวดเร็ว ข่าวการค้นพบที่ธารน้ำแข็งทิเบตแบบปีต่อปีแบบนี้ น่าจะทำให้เกิดความตื่นตัว หรืออาจตื่นตระหนกกันพอสมควร

และข่าวนี้ยังมาไล่ๆ กับเมื่อวันที่ 3 ก.ค. เกิดการถล่มของน้ำแข็งบนภูเขามาร์โมลาดาในเทือกเขาโดโลไมต์ที่ชายแดนภูมิภาคระหว่างเตรนติโนและเวเนโต ประเทศอิตาลี มีผู้เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 8 ราย และสูญหายอีก 3 ราย

นี่คือการล่มสลายของน้ำแข็งของธารน้ำแข็งที่ค้างบนไหล่ภุเขา (Serac) ครั้งใหญ่ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในเทือกเขาแอลป์ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยก่อนเกิดการพังทลาย บริเวณดังกล่าวเกิดคลื่นความร้อนที่บันทึกไว้ประมาณ 10 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าผิดปกติ

อ้างอิง
• TESSA KOUMOUNDOUROS. (21 JULY 2021). “Ancient 15,000-Year-Old Viruses Identified in Melting Tibetan Glaciers”. sciencealert.
• JACINTA BOWLER. (3 JULY 2022). “Nearly 1,000 Microbe Species Have Just Been Discovered in ‘Extreme’ Tibetan Glaciers”. sciencealert.
ภาพ Remi Jouan /wikipedia.org

Related posts

‘เฉลิมชัย’ นำทีมไทยถก COP29 นำเสนอ 5 ประเด็นลดก๊าซ 222 ล้านตัน

มหาอำนาจโลกในมือ ‘ทรัมป์’ จุดจบการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ?

ค่าฝุ่นปากีสถานทะลุ 1,900 รั้งอันดับโลก อ้างพัดข้ามพรมแดนจากอินเดีย