อวนอัจฉริยะเลือกจับได้ แยกปลาที่ไม่ต้องการออก แบบอย่างการทำประมงยั่งยืน

สถาบันวิจัยสมุทรศาสตร์ของฝรั่งเศส (Ifremer) ได้ทำการทดสอบอวนลากอันชาญฉลาดเพื่อลดจำนวนสัตว์ทะเลที่จับได้โดยไม่ได้ตั้งใจ หวังว่าอวนลากเหล่านี้จะสามารถคัดแยกปลาในน้ำได้ก่อนที่จะนำอุปกรณ์ตกปลาขึ้นเรือ ซึ่งจะช่วยลดการเสียชีวิตที่ไม่จำเป็น

การลากอวนเป็นวิธีการตกปลาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งเกี่ยวข้องกับการลากอวนขนาดใหญ่ไปด้านหลังเรือประมง แม้ว่าการลากอวนทุกประเภทจะสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม แต่วิธีที่แย่ที่สุดคือการลากอวนด้านล่าง

ในกรณีนี้ ตาข่ายขนาดใหญ่และหนัก – มักมีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล ถูกลากไปตามพื้นทะเลเพื่อจับทุกสิ่งที่ขวางหน้า ด้วยเหตุนี้สัตว์ทะเลจำนวนมากจึงถึงจุดจบ แม้ว่ามันจะไม่ใช่เป้าหมายการล่าจากการประมงนั้นโดยไม่ตั้งใจก็ตาม

อวนแบบเก่า

แต่เรือลากที่ใช้ “อวนอัจฉริยะ” จะเป็นเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับชาวประมง ซึ่งใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีล่าสุดของปัญญาประดิษฐ์และเครือข่ายเซ็นเซอร์ อุปกรณ์นี้มาพร้อมกับกล้อง เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์วิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ชาวประมงทราบได้ถึงชนิดพันธุ์เฉพาะที่ต้องการ รวมถึงขนาด และความอุดมสมบูรณ์ของพวกมันก่อนลากอวนกลับขึ้นเรือแบบเรียลไทม์

ตามข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ในแต่ละปีปลาจำนวนกว่า 20 ล้านตัน หรือประมาณ 1 ใน 4 ของการจับสัตว์ทะเลทั่วโลกถูกโดยนทิ้งลงทะเล หรือนำกลับไปที่ท่าเรือซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเซาท์บริตตานี (ยูบีเอส), คณะกรรมการประมง Morbihan และบริษัท Marport ผู้เชี่ยวชาญด้านเซ็นเซอร์ไฮเทคกับ Ifremer ทำโครงการที่เรียกว่าเกม trawls ชื่อนี้อ้างอิงจากซีรีส์ฮิตทางทีวีเรื่อง ‘Games of Thrones’ และยังเป็นคำย่อของ Giving Artificial, Monitoring Intelligence to Fishing Trawls อีกด้วย

Eric Guygniec หัวหน้าบริษัทประมง Apak และหุ้นส่วนโครงการกล่าวว่า การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในการจับปลาจะทำให้รู้ตลอดเวลาว่ามีอะไรอยู่ในอวน ขนาดของปลาและชนิดพันธุ์ และหากมีสายพันธุ์ที่ไม่สนใจก็สามารถปล่อยมันออกไปได้โดยไม่จำเป็นต้องมาคัดแยกทิ้งขณะที่มันตายแล้ว

นอกเหนือจากอุปกรณ์ตาข่ายที่เป็นนวัตกรรมแล้ว ในการลากอวนระหว่างพื้นผิวน้ำและก้นทะเลจะให้ความสำคัญกับรักษาระบบนิเวศทางทะเลไว้ให้ดีที่สุดอีกด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อก้นทะเล

แน่นอนว่าการเปลี่ยนอุปกรณ์ในการจับปลาในเชิงอนุรักษ์ย่อมมีต้นทุนที่สูงขึ้น โดยคาดว่าอุปกรณ์ใหม่นี้จะออกสู่ตลาดได้ภายในปี 2025

อ้างอิง:

Doloresz Katanich with AFP (Dec 5, 2021) “The ‘Game of Trawls’: smart fishing nets could save millions of sea creatures” . Euronews

Rosa Kleed (Dec 7, 2021) “Smart fishing nets to reduce unnecessary catches” . Turnednews

ภาพ: Julien Simon – AFP

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

‘เลียงผา’ นักสู้แห่งขุนเขา กับ 3 ปัจจัย สูญพันธุ์