พ-Plastic

  • ในบรรดามลพิษจากพลาสติก รู้หรือไม่ว่าก้นบุหรี่เป็นมลภาวะพลาสติกอันดับ 1 โดยในปัจจุบันมีการทิ้งก้นบุหรี่ประมาณ 4.5 ล้านล้านชิ้นเลยทีเดียว มันเป็นสิ่งที่ทิ้งง่าย แต่เก็บยาก แต่ผู้คนก็ไม่หยุดหาวิธีที่จะกำจัดมัน ล่าสุดบริษัท Corvid Cleaning ในสวีเดนสามารถฝึก “อีกา” ให้มาช่วยเก็บก้นบุหรี่กันแล้ว

  • เมื่อปีที่แล้ว Aeon ช้อปปิ้งมอลชื่อดังของญี่ปุ่นได้ร่วมมือกับ Loop ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพบรรจุภัณฑ์แบบหมุนเวียน เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และกำจัดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมหาศาลที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นในแต่ละปี (ซึ่งญี่ปุ่นผลิตขยะพลาสติกมากเป็นอันสองของโลก) แต่ก่อน Aeon ก็เหมือนห้างอื่น ๆ ที่ใช้ภาชนะและบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งกับสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน เช่น อาหาร ผงซักฟอก และแชมพู ซึ่งสร้างขยะมหาศาล แต่ด้วยความร่วมมือกับ Loop พวกเขาจะหันมาใช้ภาชนะหมุนเวียนที่สามารถใช้งานได้หลายครั้ง เช่น สแตนเลสและแก้ว ซึ่งมีความทนทานมากกว่าพลาสติก ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Loop กันก่อน สตาร์ทอัพนี้เปิดตัวปี 2019 บริหาร …

  • การปนเปื้อนของขยะพลาสติกกระจายไปทั่วโลก ล่าสุดตรวจพบมลพิษนาโนพลาสติกบริเวณขั้วโลกเหนือในมหาสมุทรอาร์กติก และขั้วโลกใต้ที่มหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งถือเป็นการพบครั้งแรก นั่นเท่ากับว่าขณะนี้อนุภาคขนาดเล็กของพลาสติกได้แพร่กระจายไปทั่วโลกแล้ว ที่น่าประหลาดใจก็คือไม่ใช่การพบบนพื้นน้ำแข็งธรรมดาอย่างที่เคยพบมาก่อนในอาร์กติก แต่ทีมนักวิจัยได้พัฒนาวิธีการตรวจหาแบบใหม่เพื่อวิเคราะห์อนุภาคนาโนที่มีขนาดเล็กกว่าด้วยการการเจาะแกนน้ำแข็งของกรีนแลนด์ลงไปที่ความลึก 14 เมตร ซึ่งเป็นชั้นหิมะตั้งแต่ปี 1965 หรือเมื่อ 57 ปีที่แล้ว โดยหนึ่งในสี่ของอนุภาคที่พบมาจากยางรถยนต์ ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์พบมลพิษพลาสติกตั้งแต่ยอดเขาเอเวอเรสต์ไปและผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ก็พบว่าอนุภาคเหล่านี้สร้างความเสียหายให้กับเซลล์ของมนุษย์ Dušan Materić แห่งมหาวิทยาลัย Utrecht ในเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยใหม่ กล่าวว่า “เราตรวจพบนาโนพลาสติกในมุมที่ห่างไกลของโลกทั้งบริเวณขั้วโลกใต้และขั้วโลกเหนือ ซึ่งนาโนพลาสติกมีฤทธิ์เป็นพิษอย่างมากเมื่อเทียบกับไมโครพลาสติก นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมสิ่งนี้จึงมีความสำคัญมาก” ผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Research …

  • งานวิจัยที่นำโดย Jan Zrimec แห่งสถาบันชีววิทยาแห่งชาติ ในกรุงลูบลิยานา ประเทศสโลวีเนียพบว่า จุลินทรีย์ในมหาสมุทรและดินทั่วโลกกำลังวิวัฒนาการตัวเองเพื่อกินพลาสติก การวิจัยได้สแกนยีนมากกว่า 200 ล้านยีนที่พบในตัวอย่างดีเอ็นเอที่นำมาจากสิ่งแวดล้อม และพบว่ามีเอ็นไซม์ต่าง ๆ 30,000 ชนิด ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ 10 ชนิด นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เกือบ 60% ของเอ็นไซม์ใหม่ไม่เข้ากับอันดับของเอ็นไซม์ที่รู้จักกันมาก่อน บ่งชี้ว่าโมเลกุลเหล่านี้ทำการย่อยสลายพลาสติกในลักษณะที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน พวกเขาพบเอ็นไซม์ใหม่ประมาณ 12,000 ตัว ในตัวอย่างมหาสมุทร แต่ที่น่าสนใจก็คือ ยิ่งระดับน้ำลึกยิ่งพบเอ็นไซม์ที่ย่อยสลายพลาสติกมากขึ้น ตรงกันข้ามกับน้ำตื้นที่มีพลาสติกมากกว่า แต่พบเอ็นไซม์ย่อยสลายน้อยกว่า …

  • ไทยแลนด์น่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหารหลากหลาย (หรือใช้เปลือง) มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะถุงใส่น้ำจิ้มต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับอาหารหลัก เพราะอาหารไทยมักพ่วงมาด้วยน้ำจิ้ม และน้ำยำ ผลก็คือเรามีขยะจากถุงน้ำจิ้มเต็มไปหมด ในขณะที่เรายังแก้ปัญหาถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ๆ ยังไม่สำเร็จ เราควรแก้ปัญหาถุงพลาสติกขนาดเล็กไปพลางก่อน อย่างเช่นบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำจิ้มหรือถุงเครื่องปรุงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ หนึ่งในผู้ริเริ่มผลิตภัณฑ์ตัวนี้อยู่ที่ลอนดอน คือ บริษัท Notpla เป็นสตาร์ทอัพที่สร้างบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนจากสาหร่ายและพืช ผลิตภัณฑ์เด่นของพวกเขาคือ Ooho เป็นซองบรรจุภัณฑ์แบบยืดหยุ่นที่เหมาะสำหรับเครื่องดื่ม และซอส ซึ่งกินได้ 100% โดยเฉพาะเครื่องปรุงรสที่นำกลับบ้าน ที่น่าสนใจก็คือซองบรรรจุน้ำจิ้ม Ooho จะเหลือขยะเป็นศูนย์เพราะสามารถกินมันเข้าไปเลย เนื่องจากทำจากวัสดุธรรมชาติ …

  • ขึ้นปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ฝรั่งเศสเริ่มสิ่งใหม่ ๆ เพื่อโลกทันที เมื่อกฎหมายฉบับใหม่ห้ามใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในผักและผลไม้หรือการใช้พลาสติกแรปห่อมีผลบังคับใช้แล้ว คำสั่งแบนนี้มีผลครอบคลุมผัก และผลไม้ 30 ชนิดที่ห้ามไม่ให้ห่อด้วยพลาสติก รวมถึงแตงกวา กีวี มะนาว และส้ม ซึ่งมักใช้พลาสติกบางห่อหรือแรปเอาไว้เป็นลูก ๆ เวลานำไปวางจำหน่าย (plastic wrap เป็นฟิล์มพลาสติกบางใสใช้ห่อหุ้มอาหารช่วยคงความสดให้นานขึ้น) ส่วนบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ 1.5 กิโลกรัมขึ้นไป รวมทั้งผลไม้ที่ตัดแต่งพร้อมรับประทาน หรือแปรรูปจะได้รับการยกเว้น แต่มันเป็นการยกเว้นที่มีอายุไม่ยืนยาวนัก เพราะในอนาคตฝรั่งเศสคงไม่ปล่อยไว้แน่ ๆ …

Copyright @2021 – All Right Reserved.